ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 26/02/19 »10 อันดับตำนาน “สไนเปอร์” ระดับสุดยอดตลอดกาล
ในโลกของสงครามนั้นพลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ถือว่าน่ากลัวเป็นที่สุด เพราะสามารถ “ฆ่า” เป้าหมายได้จากระไกล และหากฝ่ายใดมีมือสไนเปอร์ที่มีฝีมือเฉียบขาดก็คือว่าเป็นฝันร้ายของข้าศึกเลยทีเดียว เพราะมือปืนกลุ่มนี้สามารถฆ่าเป้าหมายได้จากระยะถึง 1 กิโลเมตร บทความนี้เรามาดูตำนาน “สไนเปอร์” เท่าที่โลกเคยมีมากันดีกว่า
อันดับ 10
“จ่าเกรซ” (Sgt Grace) ทหารราบพลปืนสังกัดกองพันทหารราบจอร์เจียที่ 4 ของฝ่ายสหพันธรัฐ เป็นผู้สังหารนายพล จอห์น เซ็ดจ์วิค (Gen John Sedgwick) ของกองทัพกับอังกฤษจากระยะ 1,000 หลา จ่าเกรซ ยิงพลาดนัดแรกทำให้ทหารอังกฤษวิ่งหาที่กำบัง แต่นายพลเซ็ดจ์วิค ยังอยู่ที่เดิม และยังดุผู้ใต้บังคับบัญชาว่าตกใจกลัวเกินเหตุ ทั้งๆ ที่สไนเปอร์ยิงจากระยะไกลขนาดนั้น ท่านนายพลดุทหารซ้ำอีกครั้งว่า “ระยะขนาดนั้นยิงช้างยังไม่โดนเลย” แต่กระสุนนัดที่ 2 ของจ่าเกรซเจาะทะลุเข้าที่บริเวณใต้ตาข้างขวาของนายพลเซ็ดจ์วิค ซึ่งกลายเป็นผู้เสียชีวิตระดับสูงที่สุดของฝ่ายอังกฤษในสงครามแย่งดินแดนอาณานิคมในอเมริกาเหนือ และเรื่องที่ขำไม่ออก ก็คือ จ่าเกรซซุ่มยิงด้วยไรเฟิ้ลยี่ห้อวิธเวิร์ธ (Whitworth) ที่ผลิตในอังกฤษ
อันดับ 9
ชาร์ลส์ “ชัค” มอวินนีย์ (Charles ‘Chuck’ Mawhinney) เกิดปี 1949 เกิดในครอบครัวชาวนาแห่งทุ่งแพรรี่ ล่าสัตว์มาตั้งแต่ยังเล็ก สมัครเข้ารับใช้ชาติในปี 1967 และ เพียง 16 เดือนในเวียดนาม พลทหารมอวินนีย์ ซัดข้าศึกด่าวดิ้นต่อหน้า 103 คน อีก 216 คน โดน “ส่อง” และอาจถึงแก่ชีวิต ในช่วงปีดังกล่าวเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะค้นหาศพเพื่อยืนยัน ระยะซุ่มยิงของมอวินนีย์จะอยู่ระหว่าง 300-800 หลา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาสอยข้าศึกร่วงจากระยะกว่า 1,000 หลา ซึ่งทำให้มอวินนีย์เป็นเทพสไนเปอร์อันดับ 3 ในสงครามเวียดนาม และนี่คือมือวางอันดับ 9 ของโลก
อันดับ 8
ร็อบ เฟอร์ลอง (Rob Furlong) เป็นอดีตพลทหารกองทัพแคนาดา ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน เป็นสไนเปอร์ที่ยิงสังหารได้จากระยะไกลที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ คือ 1.51 ไมล์ หรือ 2,430 เมตร ร็อบยิงด้วยปืน TAC 50 ขนาด .50 ของแม็คมิลลันบราเดอร์ส (McMillan Brothers) และ ยิงด้วยกระสุน A-MAX เป้าหมายเป็นผู้นำระดับปฏิบัติการคนสำคัญของกลุ่มอัลกออิดะห์ นัดแรกของเขาพลาดเป้า นัดที่สองโดนเป้สะพายหลัง ตอนกระสุนนัดที่ 2 โดนนั้น ร็อบได้เหนี่ยวไกยิงนัดที่ 3 ออกไปแล้ว แต่ก็เป็นช่วงที่อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวว่าถูกลอบยิง ระยะทางขนาดนั้นกระสุนแต่ละนัดใช้เวลาราว 3 วินาที แหวกอากาศสู่เป้าหมาย ซึ่งนานพอที่อีกฝ่ายหนึ่งจะรู้ตัวว่าโดนซุ่มและหลบหาที่กำบัง แต่นักฆ่าชาวแคนาดามีสติมั่นคง เพียง 3 วินาทีก็มากพอที่จะยิงซ้ำนัดที่ 3 ซึ่งพุ่งเข้าทะลุหน้าอกของเป้าหมายทั้งหมดนี้เกิดขึ้นต่อหน้าเพื่อนร่วมทีมสังหารอีก 3 คน
อันดับ 7
วาสสิลี เซ้ตซอฟ (Vassili Zaytsev) เกิด 23 มี.ค. 1915 ถึงแก่กรรม 15 ธ.ค. 2001 ดูจะเป็นสไนเปอร์ที่โลกรู้จักมากที่สุด ผ่านภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ ฌ็อง-ฌากส์ อานโนด์ (Jean-Jaques Annaud) สร้างและกำกับ จูด ลอว์ (Jude Law) เขาเกิดในครอบครัวชาวนา เซ้ตซอฟเข้าเป็นทหารกองทัพแดงของอดีตสหภาพโซเวียต เขาสังหารนาซีได้ 242 คน ระหว่างเดือน ต.ค. 1942 ถึง ม.ค. 1943 ที่กองทัพของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยึดครองนครสตาลินกราด (Stalingrad) เรื่องราวอันแท้จริงของเขาไม่มีรายละเอียดมากนัก เพียงแต่ว่าเขาสามารถสังหาร เออร์วิน โคนิก สุดยอด “มือปราบสไนเปอร์” ของนาซีได้ และได้ปืนของคู่ต่อสู้เป็นรางวัลเกียรติยศ เนื่องจากเป็นของคนที่เป็นยอดฝีมือเช่นเดียวกันกับตัวเขา
อันดับ 6
ลูดมิลา ปาฟลิเชนโก (Lyudmila Pavlichenko) เกิด 12 ก.ค. 1916 ถึงแก่กรรม 10 ต.ค. 1974 สมัครเข้าเป็นทหารเดือน มิ.ย. 1941 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะกองทัพนาซีบุกสหภาพโซเวียต เธอเป็นหนึ่งในนักแม่นปืนหญิงราว 2,000 คนของกองทัพแดง ปฏิบัติการในเซวาสโตโปล (Sevastopol) คาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ฉายาของเธอคือ “นักฆ่าหน้าหวาน” มีประวัติสังหารนาซี 309 คน ในนั้น 36 คนเป็นสไนเปอร์เช่นเดียวกับเธอ
อันดับ 5
ฟรานซิส พีกะมากาโบว์ (Francis Pegahmagabow) ฟรานซิส พีกะมากาโบว์ เป็นสไนเปอร์เชื้อสายอินเดียแดงจากแคนาดา ซึ่งเป็น 1 ในสไนเปอร์ที่สังหารข้าศึกมากที่สุดคนหนึ่งด้วยจำนวนมากถึง 378 คน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 จนได้รับเหรียญกล้าหาญถึง 3 ครั้ง และถือเป็น 1 ในมือสังหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่ง
อันดับ 4
เอเดลเบิร์ต เอฟ วัลดรอน (Adelbert F Waldron) เกิดวันที่ 14 มี.ค. 1933 ถึงแก่กรรม 18 ต.ค. 1992 “เก็บ” ฝ่ายเวียดนามเหนือได้ 109 คน และได้รับการยกย่องเป็นนักแม่นปืนที่แม่นยำที่สุดและมือดีที่สุดคนหนึ่งของนาวิกฯ สหรัฐฯ พ.อ.ไมเคิล ลี แลนนิง (Michael Lee Lanning) นายทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนาม ได้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ว่า บ่ายวันหนึ่งขณะหมวดลาดตระเวนกำลังแล่นเรือไปตามลำน้ำโขง มีข้าศึกยิงจากฝั่งในระยะไกลโดนเข้าลำเรือ และขณะที่คนอื่นๆ ตื่นตระหนกหาที่หลบซ่อน จ่าวัลดรอนมองเห็น เขายกปืนขึ้นเล็งและสอยเวียดกงนักซุ่มลงจากต้นมะพร้าวที่อยู่ห่างออกไปราว 900 หลา เขาได้รับการยกย่องในความมีสติ กับความแม่นยำยิ่ง ในเหตุการณ์ดังกล่าว เขาประทับไหล่ยิงขณะที่เรือยังคงแล่นไปข้างหน้า ซึ่งยากมากที่จะ “สอย” เป้าหมายที่อยู่ไกลขนาดนั้น “นี่คือ พลแม่นปืนที่ดีที่สุดของเราคนหนึ่ง” พ.อ.แลนนิง เขียนเอาไว้ในหนังสือ “Inside the Crosshairs: Snipers in Vietnam”
อันดับ 3
คาร์ลอส นอร์แมน แฮธค็อกซ์ ที่ 2 (Carlos Norman Hathcock II) แฮธค็อกซ์ เกิดวันที่ 20 พ.ค. 1942 ถึงแก่กรรม 1 เม.ย. 1999 เคยเป็นนักยิงปืนล่ารางวัลและได้รับหลากหลายรางวัลก่อนจะอาสาไปเวียดนาม ซึ่งพลทหารคนนี้สามารถ “ล้ม” ข้าศึกได้ 93 คนเท่าที่ยืนยันได้ และ ยังมีเป้าหมายที่ไม่สามารถยืนยันการเสียชีวิตได้อีกนับร้อย มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า กองทัพเวียดนามเหนือตั้งค่าหัวแฮธค็อกซ์ถึง 30,000 ดอลลาร์ หลังจากสังหารกำลังพลของฝ่ายนั้นไปมากมาย รวมทั้งระดับรองแม่ทัพคนหนึ่ง แฮธค็อกซ์ เป็นสไนเปอร์เพียงคนเดียวในสงครามเวียดนาม ที่ “สอย” นักซุ่มของฝ่ายข้าศึกคนหนึ่งโดยยิงทะลุกล้องติดปืน ซึ่งมีเพียงโอกาสเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ทั้งสองฝ่ายเล็งปืนเข้าหากันในเวลาเดียวกัน แฮธค็อกซ์ ลั่นไกก่อนและมันพุ่งทะลุเข้าลูกตาอย่างแม่นยำ ครั้งหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ “เก็บ” นายพลเวียดนามเหนือคนสำคัญ แฮธค็อกซ์ปฏิบัติการเวลากลางคืน พรางตัวและคลานเป็นระยะทาง 1,500 หลาเข้าพื้นที่เป้าหมาย ช่วงหนึ่งเขาเกือบถูกงูเห่าฉก และอีกครั้งหนึ่งเกือบจะถูกทหารเดินยามเวียดนามเหนือคนหนึ่งเหยียบ แฮธค็อกซ์ คลานถึงจุดซุ่ม เมื่อเป้าหมายมาถึงเขาก็พร้อมอยู่แล้วและเหนี่ยวไกทันที ท่านนายพลโดนเข้ากลางอกล้มลง ทหารฝ่ายนั้นออกค้นหาสไนเปอร์จ้าละหวั่น พลทหารนักแม่นปืนต้องคลานกลับอีก 1,500 หลา ให้พ้นพื้นที่ข้าศึก และนี่คือ สุดยอดสไนเปอร์ในช่วงสงครามเวียดนาม
อันดับที่ 2
คริส ไคล์ (Chris Kyle) เกิดเมื่อ 8 เม.ย. 1974 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2013 รวมอายุ 38 ปี เรารู้จักกันดีจากหนังดังเรื่อง American Sniper กำกับโดยปู่ Client Eastwood โดยมี Bradley Cooper รับบทเป็น Chris Kyle ทหาร Navy SEAL ที่ได้รับการยกย่องว่าเหนี่ยวไกสังหารศัตรูได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติทหารสหรัฐอเมริกาที่ 160 kills. (แต่จากการนับของคริสและเพื่อนๆ เขาเข้าใจว่าตัวเลขน่าจะอยู่ระดับ 250) และระยะยิงข้าศึกไกลที่สุดอยู่ระดับเกือบๆ 2 กิโลเมตร Chris Kyle ไปออกรบที่อิรัก 4 ครั้งในช่วง 2003 ถึง 2009 โดยมีภรรยา Taya และที่เลี้ยงลูกสองคนเฝ้ารออยู่ที่บ้าน ภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือบันทึกความทรงจำและประสบการณ์ของ Chris Kyle เองในชื่อ American Sniper เดียวกันกับภาพยนตร์
อันดับ 1
สิโม ฮาห์ยา (Hayha) ในช่วงสงครามกับรัสเซีย ปี 1939-1940 ในเวลาเพียง 100 วัน พลทหารกองทัพเล็กๆ ของฟินแลนด์คนนี้สังหารทหารรัสเซีย 505 คนด้วยปืนสไนเปอร์ไม่ติดกล้อง และอีกราว 200 คนด้วยปืนกล รวมผลงาน 705 ศพ ฮาห์ยา บอกกับคนใกล้ชิดในเวลาต่อมาว่า กล้องติดปืนเป็นอันตรายอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะ มันอาจสะท้อนแสงวาววับเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกมองเห็นจุดซุ่มยิง เทคนิคการเอาชีวิตรอดอีกอย่างหนึ่งคือ ภายใต้อุณหภูมิติด -40 องศาเซลเซียส ก่อนจะลั่นไกเขาจะอมหิมะเอาไว้ ป้องกันมิให้ลมหายใจที่พวยพุ่งออกมากลายเป็นไอให้เห็น ซึ่งจะเป็นที่สังเกตของฝ่ายตรงข้าม จุดซุ่มของเขาจะมีหิมะปกคลุมช่วงปลายกระบอกปืนเอาไว้เสมอ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ ไม่ให้ไอร้อนจากการยิงพวยพุ่งขึ้น เมื่อเขายิงสังหารฝ่ายรัสเซียเป็นจำนวนมากขึ้นทุกทีๆ ฝ่ายนั้นส่งทหารทั้งกองร้อย ออกค้นหาทั่วทั้งป่าและทุ่งหิมะ แต่ก็ไม่เคยพบ “ความตายสีขาว” (White Death) อันเป็นฉายาที่ข้าศึกมอบให้ด้วยความเคารพเลื่อมใส
ในโลกของสงครามนั้นพลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ถือว่าน่ากลัวเป็นที่สุด เพราะสามารถ “ฆ่า” เป้าหมายได้จากระไกล และหากฝ่ายใดมีมือสไนเปอร์ที่มีฝีมือเฉียบขาดก็คือว่าเป็นฝันร้ายของข้าศึกเลยทีเดียว เพราะมือปืนกลุ่มนี้สามารถฆ่าเป้าหมายได้จากระยะถึง 1 กิโลเมตร บทความนี้เรามาดูตำนาน “สไนเปอร์” เท่าที่โลกเคยมีมากันดีกว่า
อันดับ 10
“จ่าเกรซ” (Sgt Grace) ทหารราบพลปืนสังกัดกองพันทหารราบจอร์เจียที่ 4 ของฝ่ายสหพันธรัฐ เป็นผู้สังหารนายพล จอห์น เซ็ดจ์วิค (Gen John Sedgwick) ของกองทัพกับอังกฤษจากระยะ 1,000 หลา จ่าเกรซ ยิงพลาดนัดแรกทำให้ทหารอังกฤษวิ่งหาที่กำบัง แต่นายพลเซ็ดจ์วิค ยังอยู่ที่เดิม และยังดุผู้ใต้บังคับบัญชาว่าตกใจกลัวเกินเหตุ ทั้งๆ ที่สไนเปอร์ยิงจากระยะไกลขนาดนั้น ท่านนายพลดุทหารซ้ำอีกครั้งว่า “ระยะขนาดนั้นยิงช้างยังไม่โดนเลย” แต่กระสุนนัดที่ 2 ของจ่าเกรซเจาะทะลุเข้าที่บริเวณใต้ตาข้างขวาของนายพลเซ็ดจ์วิค ซึ่งกลายเป็นผู้เสียชีวิตระดับสูงที่สุดของฝ่ายอังกฤษในสงครามแย่งดินแดนอาณานิคมในอเมริกาเหนือ และเรื่องที่ขำไม่ออก ก็คือ จ่าเกรซซุ่มยิงด้วยไรเฟิ้ลยี่ห้อวิธเวิร์ธ (Whitworth) ที่ผลิตในอังกฤษ
อันดับ 9
ชาร์ลส์ “ชัค” มอวินนีย์ (Charles ‘Chuck’ Mawhinney) เกิดปี 1949 เกิดในครอบครัวชาวนาแห่งทุ่งแพรรี่ ล่าสัตว์มาตั้งแต่ยังเล็ก สมัครเข้ารับใช้ชาติในปี 1967 และ เพียง 16 เดือนในเวียดนาม พลทหารมอวินนีย์ ซัดข้าศึกด่าวดิ้นต่อหน้า 103 คน อีก 216 คน โดน “ส่อง” และอาจถึงแก่ชีวิต ในช่วงปีดังกล่าวเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะค้นหาศพเพื่อยืนยัน ระยะซุ่มยิงของมอวินนีย์จะอยู่ระหว่าง 300-800 หลา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาสอยข้าศึกร่วงจากระยะกว่า 1,000 หลา ซึ่งทำให้มอวินนีย์เป็นเทพสไนเปอร์อันดับ 3 ในสงครามเวียดนาม และนี่คือมือวางอันดับ 9 ของโลก
อันดับ 8
ร็อบ เฟอร์ลอง (Rob Furlong) เป็นอดีตพลทหารกองทัพแคนาดา ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน เป็นสไนเปอร์ที่ยิงสังหารได้จากระยะไกลที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ คือ 1.51 ไมล์ หรือ 2,430 เมตร ร็อบยิงด้วยปืน TAC 50 ขนาด .50 ของแม็คมิลลันบราเดอร์ส (McMillan Brothers) และ ยิงด้วยกระสุน A-MAX เป้าหมายเป็นผู้นำระดับปฏิบัติการคนสำคัญของกลุ่มอัลกออิดะห์ นัดแรกของเขาพลาดเป้า นัดที่สองโดนเป้สะพายหลัง ตอนกระสุนนัดที่ 2 โดนนั้น ร็อบได้เหนี่ยวไกยิงนัดที่ 3 ออกไปแล้ว แต่ก็เป็นช่วงที่อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวว่าถูกลอบยิง ระยะทางขนาดนั้นกระสุนแต่ละนัดใช้เวลาราว 3 วินาที แหวกอากาศสู่เป้าหมาย ซึ่งนานพอที่อีกฝ่ายหนึ่งจะรู้ตัวว่าโดนซุ่มและหลบหาที่กำบัง แต่นักฆ่าชาวแคนาดามีสติมั่นคง เพียง 3 วินาทีก็มากพอที่จะยิงซ้ำนัดที่ 3 ซึ่งพุ่งเข้าทะลุหน้าอกของเป้าหมายทั้งหมดนี้เกิดขึ้นต่อหน้าเพื่อนร่วมทีมสังหารอีก 3 คน
อันดับ 7
วาสสิลี เซ้ตซอฟ (Vassili Zaytsev) เกิด 23 มี.ค. 1915 ถึงแก่กรรม 15 ธ.ค. 2001 ดูจะเป็นสไนเปอร์ที่โลกรู้จักมากที่สุด ผ่านภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ ฌ็อง-ฌากส์ อานโนด์ (Jean-Jaques Annaud) สร้างและกำกับ จูด ลอว์ (Jude Law) เขาเกิดในครอบครัวชาวนา เซ้ตซอฟเข้าเป็นทหารกองทัพแดงของอดีตสหภาพโซเวียต เขาสังหารนาซีได้ 242 คน ระหว่างเดือน ต.ค. 1942 ถึง ม.ค. 1943 ที่กองทัพของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยึดครองนครสตาลินกราด (Stalingrad) เรื่องราวอันแท้จริงของเขาไม่มีรายละเอียดมากนัก เพียงแต่ว่าเขาสามารถสังหาร เออร์วิน โคนิก สุดยอด “มือปราบสไนเปอร์” ของนาซีได้ และได้ปืนของคู่ต่อสู้เป็นรางวัลเกียรติยศ เนื่องจากเป็นของคนที่เป็นยอดฝีมือเช่นเดียวกันกับตัวเขา
อันดับ 6
ลูดมิลา ปาฟลิเชนโก (Lyudmila Pavlichenko) เกิด 12 ก.ค. 1916 ถึงแก่กรรม 10 ต.ค. 1974 สมัครเข้าเป็นทหารเดือน มิ.ย. 1941 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะกองทัพนาซีบุกสหภาพโซเวียต เธอเป็นหนึ่งในนักแม่นปืนหญิงราว 2,000 คนของกองทัพแดง ปฏิบัติการในเซวาสโตโปล (Sevastopol) คาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ฉายาของเธอคือ “นักฆ่าหน้าหวาน” มีประวัติสังหารนาซี 309 คน ในนั้น 36 คนเป็นสไนเปอร์เช่นเดียวกับเธอ
อันดับ 5
ฟรานซิส พีกะมากาโบว์ (Francis Pegahmagabow) ฟรานซิส พีกะมากาโบว์ เป็นสไนเปอร์เชื้อสายอินเดียแดงจากแคนาดา ซึ่งเป็น 1 ในสไนเปอร์ที่สังหารข้าศึกมากที่สุดคนหนึ่งด้วยจำนวนมากถึง 378 คน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 จนได้รับเหรียญกล้าหาญถึง 3 ครั้ง และถือเป็น 1 ในมือสังหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่ง
อันดับ 4
เอเดลเบิร์ต เอฟ วัลดรอน (Adelbert F Waldron) เกิดวันที่ 14 มี.ค. 1933 ถึงแก่กรรม 18 ต.ค. 1992 “เก็บ” ฝ่ายเวียดนามเหนือได้ 109 คน และได้รับการยกย่องเป็นนักแม่นปืนที่แม่นยำที่สุดและมือดีที่สุดคนหนึ่งของนาวิกฯ สหรัฐฯ พ.อ.ไมเคิล ลี แลนนิง (Michael Lee Lanning) นายทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนาม ได้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ว่า บ่ายวันหนึ่งขณะหมวดลาดตระเวนกำลังแล่นเรือไปตามลำน้ำโขง มีข้าศึกยิงจากฝั่งในระยะไกลโดนเข้าลำเรือ และขณะที่คนอื่นๆ ตื่นตระหนกหาที่หลบซ่อน จ่าวัลดรอนมองเห็น เขายกปืนขึ้นเล็งและสอยเวียดกงนักซุ่มลงจากต้นมะพร้าวที่อยู่ห่างออกไปราว 900 หลา เขาได้รับการยกย่องในความมีสติ กับความแม่นยำยิ่ง ในเหตุการณ์ดังกล่าว เขาประทับไหล่ยิงขณะที่เรือยังคงแล่นไปข้างหน้า ซึ่งยากมากที่จะ “สอย” เป้าหมายที่อยู่ไกลขนาดนั้น “นี่คือ พลแม่นปืนที่ดีที่สุดของเราคนหนึ่ง” พ.อ.แลนนิง เขียนเอาไว้ในหนังสือ “Inside the Crosshairs: Snipers in Vietnam”
อันดับ 3
คาร์ลอส นอร์แมน แฮธค็อกซ์ ที่ 2 (Carlos Norman Hathcock II) แฮธค็อกซ์ เกิดวันที่ 20 พ.ค. 1942 ถึงแก่กรรม 1 เม.ย. 1999 เคยเป็นนักยิงปืนล่ารางวัลและได้รับหลากหลายรางวัลก่อนจะอาสาไปเวียดนาม ซึ่งพลทหารคนนี้สามารถ “ล้ม” ข้าศึกได้ 93 คนเท่าที่ยืนยันได้ และ ยังมีเป้าหมายที่ไม่สามารถยืนยันการเสียชีวิตได้อีกนับร้อย มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า กองทัพเวียดนามเหนือตั้งค่าหัวแฮธค็อกซ์ถึง 30,000 ดอลลาร์ หลังจากสังหารกำลังพลของฝ่ายนั้นไปมากมาย รวมทั้งระดับรองแม่ทัพคนหนึ่ง แฮธค็อกซ์ เป็นสไนเปอร์เพียงคนเดียวในสงครามเวียดนาม ที่ “สอย” นักซุ่มของฝ่ายข้าศึกคนหนึ่งโดยยิงทะลุกล้องติดปืน ซึ่งมีเพียงโอกาสเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ทั้งสองฝ่ายเล็งปืนเข้าหากันในเวลาเดียวกัน แฮธค็อกซ์ ลั่นไกก่อนและมันพุ่งทะลุเข้าลูกตาอย่างแม่นยำ ครั้งหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ “เก็บ” นายพลเวียดนามเหนือคนสำคัญ แฮธค็อกซ์ปฏิบัติการเวลากลางคืน พรางตัวและคลานเป็นระยะทาง 1,500 หลาเข้าพื้นที่เป้าหมาย ช่วงหนึ่งเขาเกือบถูกงูเห่าฉก และอีกครั้งหนึ่งเกือบจะถูกทหารเดินยามเวียดนามเหนือคนหนึ่งเหยียบ แฮธค็อกซ์ คลานถึงจุดซุ่ม เมื่อเป้าหมายมาถึงเขาก็พร้อมอยู่แล้วและเหนี่ยวไกทันที ท่านนายพลโดนเข้ากลางอกล้มลง ทหารฝ่ายนั้นออกค้นหาสไนเปอร์จ้าละหวั่น พลทหารนักแม่นปืนต้องคลานกลับอีก 1,500 หลา ให้พ้นพื้นที่ข้าศึก และนี่คือ สุดยอดสไนเปอร์ในช่วงสงครามเวียดนาม
อันดับที่ 2
คริส ไคล์ (Chris Kyle) เกิดเมื่อ 8 เม.ย. 1974 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2013 รวมอายุ 38 ปี เรารู้จักกันดีจากหนังดังเรื่อง American Sniper กำกับโดยปู่ Client Eastwood โดยมี Bradley Cooper รับบทเป็น Chris Kyle ทหาร Navy SEAL ที่ได้รับการยกย่องว่าเหนี่ยวไกสังหารศัตรูได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติทหารสหรัฐอเมริกาที่ 160 kills. (แต่จากการนับของคริสและเพื่อนๆ เขาเข้าใจว่าตัวเลขน่าจะอยู่ระดับ 250) และระยะยิงข้าศึกไกลที่สุดอยู่ระดับเกือบๆ 2 กิโลเมตร Chris Kyle ไปออกรบที่อิรัก 4 ครั้งในช่วง 2003 ถึง 2009 โดยมีภรรยา Taya และที่เลี้ยงลูกสองคนเฝ้ารออยู่ที่บ้าน ภาพยนตร์ดัดแปลงจากหนังสือบันทึกความทรงจำและประสบการณ์ของ Chris Kyle เองในชื่อ American Sniper เดียวกันกับภาพยนตร์
อันดับ 1
สิโม ฮาห์ยา (Hayha) ในช่วงสงครามกับรัสเซีย ปี 1939-1940 ในเวลาเพียง 100 วัน พลทหารกองทัพเล็กๆ ของฟินแลนด์คนนี้สังหารทหารรัสเซีย 505 คนด้วยปืนสไนเปอร์ไม่ติดกล้อง และอีกราว 200 คนด้วยปืนกล รวมผลงาน 705 ศพ ฮาห์ยา บอกกับคนใกล้ชิดในเวลาต่อมาว่า กล้องติดปืนเป็นอันตรายอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะ มันอาจสะท้อนแสงวาววับเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกมองเห็นจุดซุ่มยิง เทคนิคการเอาชีวิตรอดอีกอย่างหนึ่งคือ ภายใต้อุณหภูมิติด -40 องศาเซลเซียส ก่อนจะลั่นไกเขาจะอมหิมะเอาไว้ ป้องกันมิให้ลมหายใจที่พวยพุ่งออกมากลายเป็นไอให้เห็น ซึ่งจะเป็นที่สังเกตของฝ่ายตรงข้าม จุดซุ่มของเขาจะมีหิมะปกคลุมช่วงปลายกระบอกปืนเอาไว้เสมอ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ ไม่ให้ไอร้อนจากการยิงพวยพุ่งขึ้น เมื่อเขายิงสังหารฝ่ายรัสเซียเป็นจำนวนมากขึ้นทุกทีๆ ฝ่ายนั้นส่งทหารทั้งกองร้อย ออกค้นหาทั่วทั้งป่าและทุ่งหิมะ แต่ก็ไม่เคยพบ “ความตายสีขาว” (White Death) อันเป็นฉายาที่ข้าศึกมอบให้ด้วยความเคารพเลื่อมใส