ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

กันการสแปม
คำว่า "เมีย" ในภาษาไทย เรียกให้สุภาพอีกอย่างหนึ่งคือ


shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 02/04/20 »

เมื่อเด็กทำความผิด พวกเขาจะรู้สึกกลัวอยู่แล้ว กลัวว่าพ่อแม่จะด่า กลัวจะถูกลงโทษ แล้วยิ่งพ่อแม่ดุด่าและตี เขาก็จะยิ่งต่อต้าน

พ่อแม่สมัยใหม่ควรถามคำถามเหล่านี้กับพวกเขาก่อน อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการด่วนตัดสินใจลงโทษลูก ลองให้พวกเขามีส่วนร่วมในการคิดกฏการลงโทษแบบนี้

1. เกิดอะไรขึ้นหรือลูก ?

ให้ลูกมีโอกาสพูดบ้าง อย่าเคยชินกับการด่วนตัดสิน และสิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรด่าว่าเด็ก ควรจะฟังเด็กๆ อธิบายอย่างสงบ ทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจากมุมของลูก

ที่สำคัญ คือ การให้โอกาสลูกพูด แม้ว่าเขาจะทำผิดจริง เขาก็ยินดีที่จะยอมรับความผิดของเขามากกว่า เพราะเขามีโอกาสแก้ตัวให้ตัวเองแล้ว

2. หนูรู้สึกยังไงบ้าง ? หนูคิดอะไรอยู่ ?

ให้ลูกมีทางออกของอารมณ์ หลังเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว ก่อนอื่นเลยอย่าเพิ่งสั่งสอนลูก หัวใจของเด็กได้รับการกระทบกระเทือน ไม่มีถูกผิด

หลายๆ ครั้ง พวกเขาก็แค่ต้องการพูดความรู้สึกของตัวเองออกมาเท่านั้น เมื่อคนเรามีภาวะอารมณ์รุนแรง สิ่งเร้าภายนอกก็จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสมองง่ายๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าคนเรายังมีอารมณ์ติดค้างอยู่ คนอื่นพูดอะไรก็ฟังไม่เข้าหัวต้องรอให้อารมณ์เขาสงบลง ถึงสามารถคิดอย่างใจเย็นได้


 
เพราะงั้นถ้าเราต้องการให้ลูกฟังที่พวกเราพูด พวกเราต้องเข้าใจความรู้สึกของลูกก่อน ปล่อยให้อารมณ์ของเขามีทางออก พอลูกสงบลงแล้วก็สามารถถามคำถามที่ 3

3. หนูต้องการแบบไหนจ๊ะ ?

ตอนนี้ไม่ว่าสิ่งที่ลูกพูดออกมาจะน่าอัศจรรย์แค่ไหน ก็อย่าตกใจ อย่ากลัว ให้สงบใจไว้และถามคำถามข้อที่ 4

4. หนูคิดว่าพ่อแม่ต้องทำยังไงกับความผิดของหนู ?

ถึงตอนนี้พวกเราต้องเคารพคำพูดของเด็ก และแสดงความเห็นแบบให้เกียรติ พวกเราสามารถคิดไปพร้อมกันกับลูก ช่วยเสนอแนะและแก้ปัญหาร่วมกันเขา

แบบนี้ต่อไปในอนาคตเมื่อลูกเจอปัญหาก็จะคิดถึงการมาขอความช่วยเหลือจากคุณ รอจนคิดไม่ออกแล้วก็ถามคำถามที่ 5

5. ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้แล้วหนูจะเป็นอย่างไร ?

ให้ลูกได้คิดได้เข้าใจว่า วิธีการแก้ปัญหาทุกอันจะมีผลที่ลูกต้องรับผิดชอบ ลูกจะรับผลเหล่านี้ได้หรือไม่ ? ถ้าตอนนี้ลูกคิดไม่ออกผู้ปกครองต้องเข้าช่วยแนะนำและบอกว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการเทศนา ให้พูดแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น

6. หนูตัดสินใจได้ไหมว่าเราควรทำอย่างไรดี ?

เมื่อวิเคราะห์เรื่องราวและผลที่ตามมาครบหมดแล้ว เด็กก็สามารถชั่งข้อดีข้อเสียได้และเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและฉลาดที่สุด แม้ว่าสิ่งที่ลูกเลือกจะไม่ตรงตามที่คุณคาดไว้ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของเด็ก

ถ้าคุณกลับไปกลับมา อีกหน่อยลูกก็จะไม่เชื่อถือคุณอีก ถึงตรงนี้แม้ว่าลูกจะเลือกผิด เขาก็ยังสามารถเรียนรู้บทเรียนอันมีค่าและน่าจดจำจากความผิดพลาดนี้

7. หนูอยากให้พ่อแม่ทำอะไรดี ?

เมื่อลูกบอกว่าพ่อแม่สามารถช่วยเขาได้ยังไง ผู้ปกครองจะต้องสนับสนุนอย่างแข็งขัน การสนับสนุนจากพ่อแม่คือเบื้องหลังความเข้มแข็งของลูก ทำให้ลูกยิ่งมั่นใจมากขึ้น รอจนเรื่องราวผ่านไปก็ถามคำถามสุดท้ายกับลูก

8. ถ้าหนูทำผิดแบบนี้อีกคราวหน้าพ่อแม่ต้องทำยังไง ?

รอจนเรื่องราวผ่านไปแล้ว ให้โอกาสลูกได้ทบทวนตัวเอง ทบทวนว่าการตัดสินใจและวิธีการแก้ปัญหาของเขาว่ามีประสิทธิภาพไหม เป็นการเพิ่มความสามารถในการตัดสินสิ่งต่างๆ

ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยคิดว่าลูกตัวเองอายุยังน้อย ไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรอก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าเด็กจะอายุน้อยมากก็จะใช้กลยุทธ์และวิธีการบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาได้

ที่มา อ้อนแฟน