ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 16/11/21 »สัญญาณบ่งบอกว่าเด็กอาจมีปัญหา สมาธิสั้น
การวินิจฉัยอาการสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากอาการของสมาธิสั้นคล้าย ๆ กับอาการของโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค แต่โดยปกติแล้ว เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมาตั้งแต่อายุก่อน 7 ขวบ และ มีอาการซ้ำ ๆ อยู่อย่างน้อย 6 เดือน
เด็กที่มีสมาธิสั้นจะดู "ปกติ" มาก แต่จะทำอะไรไม่ได้นาน ไม่สามารถจดจ่อกับงานหรือของตรงหน้าได้นานเพียงพอ หรือ มีอาการใจลอย ถ้าเป็นเด็กเล็กจะเล่นของเล่นแต่ละชิ้นในช่วงสั้น ๆ แล้วเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นเด็กโต มักจะไม่สามารถตั้งใจทำการบ้านจนเสร็จ มักจะวอกแวก เหลียวซ้ายแลขวา ชอบคุยกับคนอื่น ลุกขึ้นเล่น ทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา หรือใจลอย ช่างฝัน เลขหนึ่งข้อ อาจใช้เวลาถึงชั่วโมงก็เป็นได้ เด็กมักซุกซนไม่นิ่งตลอดเวลา ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือ กฎระเบียบวินัย
อย่างไรก็ตาม มีเด็กสมาธิสั้นบางคน อาจไม่มีปัญหาซุกซนร่วมอยู่ด้วยก็ได้ พึงระลึกว่าเด็กทุกคนอาจแสดงพฤติกรรมเช่นว่านี้ได้เป็นครั้งคราว แต่ เด็กที่มีสมาธิสั้น จะมีพฤติกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา ไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือปิดเทอม
อาการแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
สมาธิสั้น
ซนมากผิดปกติ
วู่วามหุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น หงุดหงิดง่าย
เด็กส่วนใหญ่ มักมีอาการผสมของอาการตาม 1 และ 2 และ 3 เด็กบางคนอาจมีเฉพาะอาการที่ 1 หรือ 1 บวก 2 หรือ เฉพาะ อาการตาม 3
เด็กดูปกติมาก พูดชัดเจน ฉาดฉาน แสดงความฉลาด แต่เด็กมักมีอาการใจลอย ทำการบ้านเองไม่ได้ ต้องนั่งคุมจนกว่าจะเสร็จ ทำงานในชั้นเรียนช้า ทั้งๆที่อ่านคล่อง เขียนได้ ทำเลขได้และเล่าเรื่องชัดเจน แค่ผลการเรียนแย่ ไม่สามารถรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวันที่บ้านและที่โรงเรียนได้ อยู่ไม่สุข ทำอะไรโดยไม่คิดให้ดีเสียก่อน ซุ่มซ่าม ทำข้าวของเสียหาย มีอุบัติเหตุบ่อย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เมื่อโกรธอารมณ์จะพุ่งปรี๊ด ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ จะไม่ยอมใครเมื่อโกรธ อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ เด็กแต่ละรายจะมีอาการมากน้อยต่างกัน บางคนอาจมีอาการน้อย เช่น เพียงเหม่อลอย แต่บางคนอาจมีอาการครบทุกอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วและมักจะเป็นกับเด็กผู้ชาย
พฤติกรรมต่าง ๆ ตามข้างต้น อาจช่วยให้ผู้ปกครองพิจารณาได้คร่าว ๆ ว่าเด็กมีปัญหาหรือไม่ ถ้าเด็กมีอาการเพียงบางข้อหรือหลาย ๆ ข้อ และ เป็นมานานเกิน 6 เดือน แม้เด็กอายุเกิน 7 ขวบแล้ว อาการยังคงเกิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีพฤติกรรมดังกล่าวทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และ ที่อื่น ๆ ผู้ปกครองควร "ปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นและผู้ทีมีประสบการณ์มานาน"
หากเด็กพูดไม่ได้ตามวัย เดินเขย่งเท้า ไม่สบตาหรือหลีกเลี่ยงการมองหน้า รับประทานอาหารซ้ำซาก กลัวเสียงดังและชอบวิ่งมากกว่าเดิน นอกจากนี้ยังเคลื่อนไหวและซนมากแบบกระเจิดกระเจิง ไร้จุดมุ่งหมาย ดูคล้ายสมาธิสั้น ฯลฯ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อประโยชน์ของ การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด การช่วยเหลือจะได้ถูกทาง
การได้รับความช่วยเหลือแต่เนิ่น ๆ เมื่อเด็กอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ถึง ชั้นประถมต้น จะเป็นการช่วยเหลือที่ดีที่สุด ช่วยให้พ่อแม่และครูเข้าใจว่าเด็กนั้นมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้น้อย ไม่ใช่เป็นเพราะเด็กนิสัยไม่ดีหรือพ่อแม่ปล่อยปละละเลย พ่อแม่ต้องปรึกษาหารือกัน เพื่อช่วยเหลือลูกในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ควรหา คำวินิจฉัยจาก "จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น" ว่าลูกเป็นอะไร
พ่อแม่จะต้องตั้งใจและอดทนที่จะปรับพฤติกรรมของตนเอง โดยยึดหลัก ทาน ศีล ภาวนา หากนับถือพุทธ เพื่อไม่ให้หงุดหงิด เครียดและโกรธลูก ต้องช่วยเหลือลูกในทางบวก ฝึกวินัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยไม่โกรธหรือตำหนิติเตียนลูกอย่างรุนแรง ถ้าทำในทางลบ เท่ากับเป็นการกดดันเด็กเพราะจะทำให้ปัญหาขยายตัว และ พัฒนาให้เกิดอาการแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ครูควรจะได้รู้ถึงวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่เด็ก การช่วยเหลือด้วยยาเป็นความจำเป็นสำหรับบางราย เพราะช่วยเพิ่มความอดกลั้นและความอดทนให้เด็ก เป็นการช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้ศักยภาพที่ตนมีอยู่อย่างเต็มที่ ไม่ถูกบั่นทอน
ลองตรวจสอบพฤติกรรมลูกด้วยตัวเองว่า ลูกสมาธิสั้นหรือไม่ หากพบว่า มีอาการอยู่หลายข้อและเป็นอาการที่ทำให้เกิดปัญหาต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน ควรที่จะนำเด็กไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ตามโรงพยาบาลต่างๆ ถ้ายังไม่มั่นใจหรือกลัวคำว่า จิตแพทย์ หรืออยากรู้ว่าควรจะทำอย่างไร สามารถติดต่อนัดหมาย
"ขอคำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเราที่ โทร. 02-932-8439" ในเวลาราชการ หากอยู่ต่างจังหวัด แต่ถ้าอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ควรนัดหมายมาพบเพื่อปรึกษาหารือหรือรับรู้วิธีการช่วยเหลือลูกให้ถูกทางซึ่งต้องใช้เวลาพูดคุยกันนานตามสมควร จะทำให้เห็นปัญหาว่า เด็กมีสมาธิสั้นหรือมีอาการออทิสติกหรืออาการแอลดีกันแน่ ความช่วยเหลือจะได้ถูกต้อง ไม่หลงทิศทางคิดว่า ลูกสมาธิสั้น"
***************
การวินิจฉัยอาการสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากอาการของสมาธิสั้นคล้าย ๆ กับอาการของโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค แต่โดยปกติแล้ว เด็กจะแสดงพฤติกรรมออกมาตั้งแต่อายุก่อน 7 ขวบ และ มีอาการซ้ำ ๆ อยู่อย่างน้อย 6 เดือน
เด็กที่มีสมาธิสั้นจะดู "ปกติ" มาก แต่จะทำอะไรไม่ได้นาน ไม่สามารถจดจ่อกับงานหรือของตรงหน้าได้นานเพียงพอ หรือ มีอาการใจลอย ถ้าเป็นเด็กเล็กจะเล่นของเล่นแต่ละชิ้นในช่วงสั้น ๆ แล้วเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นเด็กโต มักจะไม่สามารถตั้งใจทำการบ้านจนเสร็จ มักจะวอกแวก เหลียวซ้ายแลขวา ชอบคุยกับคนอื่น ลุกขึ้นเล่น ทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา หรือใจลอย ช่างฝัน เลขหนึ่งข้อ อาจใช้เวลาถึงชั่วโมงก็เป็นได้ เด็กมักซุกซนไม่นิ่งตลอดเวลา ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือ กฎระเบียบวินัย
อย่างไรก็ตาม มีเด็กสมาธิสั้นบางคน อาจไม่มีปัญหาซุกซนร่วมอยู่ด้วยก็ได้ พึงระลึกว่าเด็กทุกคนอาจแสดงพฤติกรรมเช่นว่านี้ได้เป็นครั้งคราว แต่ เด็กที่มีสมาธิสั้น จะมีพฤติกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา ไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือปิดเทอม
อาการแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
สมาธิสั้น
ซนมากผิดปกติ
วู่วามหุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น หงุดหงิดง่าย
เด็กส่วนใหญ่ มักมีอาการผสมของอาการตาม 1 และ 2 และ 3 เด็กบางคนอาจมีเฉพาะอาการที่ 1 หรือ 1 บวก 2 หรือ เฉพาะ อาการตาม 3
เด็กดูปกติมาก พูดชัดเจน ฉาดฉาน แสดงความฉลาด แต่เด็กมักมีอาการใจลอย ทำการบ้านเองไม่ได้ ต้องนั่งคุมจนกว่าจะเสร็จ ทำงานในชั้นเรียนช้า ทั้งๆที่อ่านคล่อง เขียนได้ ทำเลขได้และเล่าเรื่องชัดเจน แค่ผลการเรียนแย่ ไม่สามารถรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวันที่บ้านและที่โรงเรียนได้ อยู่ไม่สุข ทำอะไรโดยไม่คิดให้ดีเสียก่อน ซุ่มซ่าม ทำข้าวของเสียหาย มีอุบัติเหตุบ่อย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เมื่อโกรธอารมณ์จะพุ่งปรี๊ด ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ จะไม่ยอมใครเมื่อโกรธ อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ เด็กแต่ละรายจะมีอาการมากน้อยต่างกัน บางคนอาจมีอาการน้อย เช่น เพียงเหม่อลอย แต่บางคนอาจมีอาการครบทุกอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วและมักจะเป็นกับเด็กผู้ชาย
พฤติกรรมต่าง ๆ ตามข้างต้น อาจช่วยให้ผู้ปกครองพิจารณาได้คร่าว ๆ ว่าเด็กมีปัญหาหรือไม่ ถ้าเด็กมีอาการเพียงบางข้อหรือหลาย ๆ ข้อ และ เป็นมานานเกิน 6 เดือน แม้เด็กอายุเกิน 7 ขวบแล้ว อาการยังคงเกิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีพฤติกรรมดังกล่าวทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และ ที่อื่น ๆ ผู้ปกครองควร "ปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นและผู้ทีมีประสบการณ์มานาน"
หากเด็กพูดไม่ได้ตามวัย เดินเขย่งเท้า ไม่สบตาหรือหลีกเลี่ยงการมองหน้า รับประทานอาหารซ้ำซาก กลัวเสียงดังและชอบวิ่งมากกว่าเดิน นอกจากนี้ยังเคลื่อนไหวและซนมากแบบกระเจิดกระเจิง ไร้จุดมุ่งหมาย ดูคล้ายสมาธิสั้น ฯลฯ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อประโยชน์ของ การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด การช่วยเหลือจะได้ถูกทาง
การได้รับความช่วยเหลือแต่เนิ่น ๆ เมื่อเด็กอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ถึง ชั้นประถมต้น จะเป็นการช่วยเหลือที่ดีที่สุด ช่วยให้พ่อแม่และครูเข้าใจว่าเด็กนั้นมีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้น้อย ไม่ใช่เป็นเพราะเด็กนิสัยไม่ดีหรือพ่อแม่ปล่อยปละละเลย พ่อแม่ต้องปรึกษาหารือกัน เพื่อช่วยเหลือลูกในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ควรหา คำวินิจฉัยจาก "จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น" ว่าลูกเป็นอะไร
พ่อแม่จะต้องตั้งใจและอดทนที่จะปรับพฤติกรรมของตนเอง โดยยึดหลัก ทาน ศีล ภาวนา หากนับถือพุทธ เพื่อไม่ให้หงุดหงิด เครียดและโกรธลูก ต้องช่วยเหลือลูกในทางบวก ฝึกวินัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยไม่โกรธหรือตำหนิติเตียนลูกอย่างรุนแรง ถ้าทำในทางลบ เท่ากับเป็นการกดดันเด็กเพราะจะทำให้ปัญหาขยายตัว และ พัฒนาให้เกิดอาการแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ครูควรจะได้รู้ถึงวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่เด็ก การช่วยเหลือด้วยยาเป็นความจำเป็นสำหรับบางราย เพราะช่วยเพิ่มความอดกลั้นและความอดทนให้เด็ก เป็นการช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้ศักยภาพที่ตนมีอยู่อย่างเต็มที่ ไม่ถูกบั่นทอน
ลองตรวจสอบพฤติกรรมลูกด้วยตัวเองว่า ลูกสมาธิสั้นหรือไม่ หากพบว่า มีอาการอยู่หลายข้อและเป็นอาการที่ทำให้เกิดปัญหาต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน ควรที่จะนำเด็กไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ตามโรงพยาบาลต่างๆ ถ้ายังไม่มั่นใจหรือกลัวคำว่า จิตแพทย์ หรืออยากรู้ว่าควรจะทำอย่างไร สามารถติดต่อนัดหมาย
"ขอคำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเราที่ โทร. 02-932-8439" ในเวลาราชการ หากอยู่ต่างจังหวัด แต่ถ้าอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ควรนัดหมายมาพบเพื่อปรึกษาหารือหรือรับรู้วิธีการช่วยเหลือลูกให้ถูกทางซึ่งต้องใช้เวลาพูดคุยกันนานตามสมควร จะทำให้เห็นปัญหาว่า เด็กมีสมาธิสั้นหรือมีอาการออทิสติกหรืออาการแอลดีกันแน่ ความช่วยเหลือจะได้ถูกต้อง ไม่หลงทิศทางคิดว่า ลูกสมาธิสั้น"
***************