ข้อความโดย: su
« เมื่อ: 04/01/23 »"ผู้ชนะเขามีจังหวะยังไง"
"เร็วช้าหนักเบา อยู่ที่เราจะเลือกยังไง"
…..
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในเรื่องของสามก๊กนั้น ผู้ชนะที่แท้จริง คือ สุมาอี้
เพราะไม่ว่าผู้อื่นๆ อย่างขงเบ้ง,โจโฉ อื่นๆจะเก่งกล้าสามารถแค่ไหน ก็ต้องหายไปตามห้วงของกาลเวลา
…..
เพราะสุมาอี้คือผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่อง จังหวะเวลา
และมักจะใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์กับตนมากที่สุดเสมอ
.....
ดังพิชัยยุทธ์ซุนวูว่าไว้
เวลามักสร้างความเปลี่ยนแปลง
แต่ผู้ที่ชำนาญ เร็วช้าหนักเบา นั้นย่อมคว้าประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงได้ได้ไม่ยาก
.....
เรื่องไหนที่รอคอยได้ก็รอ ถ้าได้มากกว่าเสีย
เรื่องไหนที่เร่งได้ก็เร่ง ถ้าได้มากกว่าเสีย
อุปดั่งภาษิตว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
คือถ้าลงมือ(คิด พูด ทำ)แล้วไม่เป็นผลดี ก็นิ่งไว้
หากแต่ถ้าจะลงมือก็ต้องประเมิน ความเสี่ยง-ผลเสีย-ผลได้ เสมอ ดังคำที่โจโฉเคยว่าไว้
"ผู้มีปัญญาคิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ที่เสียที่ได้ และต้องมิให้ใครรู้ทันความคิดของเรา"
…..
พิชัยสงครามซุนวูว่าไว้เรื่อง"เร็วช้าหนักเบา"
และก่อนที่จะใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์ต่อตนมากที่สุดก็คือต้องรู้ "ตื้นลึกหนาบาง"
…..
"เร็ว"
ขณะที่สุมาอี้ทำศึกกับขงเบ้ง และเขาโดนปลดด้วยความระแวงจากการเมืองภายใน ต่อมาคนที่รับมือกับขงเบ้งก็ล้วนแต่เอาไม่อยู่ ร้อนถึงสุมาอี้ต้องกลับมารับตำแหน่งแม่ทัพรับมือกับขงเบ้งอีกครั้ง
หากแต่เขาได้ข่าวว่า เบ้งตัดขุนนางผู้ใหญ่กำลังติดต่อกับขงเบ้งเพื่อสวามิภักดิ์ต่ออีกฝ่ายและจะยกทัพใหญ่มาเข้าตีเมืองหลวงของเว่ยก๊ก
ขงเบ้งตีทางทิศตะวันตก
เบ้งตัดจะตีทางทิศใต้
หากว่าเป็นเช่นนี้เว่ยก๊กมีโอกาสล่มสลายได้ไม่ยาก
สุมาอี้จึงตัดสินใจนำทัพด้วยตนเอง เร่งเคลื่อนทัพทั้งวันทั้งคืนจนถึงเมืองหลวงอีกฝ่ายและเอาชนะชัยได้อย่างรวดเร็วชนิดที่ว่าอีกฝ่ายนี้ยังไม่ทันได้ตั้งตัว
เพราะสุมาอี้ตัดสินใจลงมืออย่างรวดเร็วโดยที่ยังไม่รายงานหน่วยเหนือก่อนเพราะข้อมูลจะรั่วไหล เมื่อเสร็จงานแล้วเขาจึงค่อยรายงาน
ด้วยเหตุนี้สุมาอี้จึงปราบกบฎเบ้งตัดได้อย่างทันท่วงทีเพราะเขา "เร็ว"
หากแต่ "เร็ว"แล้วสุมาอี้ได้ประโยชน์
…..
"ช้า"
สุมาอี้ปราบกบฎกองซุนเอี้ยนได้แบบ กำลังน้อยกว่าและใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อฝ่ายตน ยกกำลังเดินทัพทางไกล
ใช้กลยุทธ์ล้อมเว่ยช่วยจ้าว
ตีในจุดที่อีกฝ่ายต้องมาช่วย
สุมาอี้ไม่สนใจค่ายทัพที่อีกฝ่ายตั้งค้ำยันไว้ หากแต่เขาสั่งการเดินทัพเข้าตีเมืองหลวงของอีกฝ่ายที่มีกำลังเบาบาง เพราะกำลังส่วนใหญ่ของอีกฝ่ายอยู่ที่ค่ายทัพส่วนหน้า
ด้วยเหตุนี้ฝ่ายกบฎจึงเป็นห่วงรังใหญ่ รีบนำกำลังมาช่วยจึงถูกฝ่ายสุมาอี้ซุ่มกำลังโจมตีอย่างง่ายดาย
ต่อมาฝนตก น้ำท่วม ทั้งเมืองหลวงฝ่ายกบฎและค่ายทัพสุมาอี้ บรรดาทหารได้รับความเดือนร้อนเป็นอันมาก หากแต่สุมาอี้ก็ยังไม่สั่งถอยทัพกลับต่างรอคอยต่อไป
บรรดาที่ปรึกษาจึงเข้าถามว่า ทำไมเมื่อครั้งปราบเบ้งตัดจึงรีบปราบอย่างเร็ว หากแต่ครั้งนี้ทำไมไม่รีบปราบอีกฝ่ายด้วยเล่า
สุมาอี้ตอบว่า
เมื่อครั้งปราบกบฎเบ้งตัด กำลังฝ่ายเรามีมากแต่เสบียงมีน้อย ส่วนฝ่ายเบ้งตัดนั้นกำลังมีน้อยแต่เสบียงมีมาก ฝ่ายกบฎรอได้ ฝ่ายเรารอไม่ได้
ข้าจึงต้องเร่งเดินทัพทั้งวันทั้งคืนหลายๆวันติดๆกันจนเอาชัยชนะต่ออีกฝ่ายได้
ศึกครั้งนี้ ฝ่ายเรามีกำลังน้อยแต่เสบียงมาก ฝ่ายกบฏนั้นกำลังมีมากแต่เสบียงมีน้อย ยิ่งช้าเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีต่อฝ่ายเรา เพราะฝ่ายกบฎนั้นก็จะเสบียงหมดเกิดความโกลาหลขึ้นมาเอง ยิ่งฝนตกทำให้การศึกยืดเยื้อด้วยแล้ว การเอาชัยต่ออีกฝ่ายย่อมง่ายต่อฝ่ายเรา
และต่อมาฝนหยุดตก น้ำหายท่วม บรรดาทหารฝ่ายกบฎต่างคิดปันใจ ก่อความโกลาหลต่อกองซุนเอี้ยน และในที่สุดสุมาอี้ก็เอาชนะอีกฝ่ายได้ทั้งๆที่มีกำลังน้อยกว่าหลายส่วน เพียงแค่ว่าเขารู้จังหวะ"ช้า" ก็แค่นั้น
เพียงแต่ว่าสุมาอี้"ช้า"แต่เขาได้ประโยชน์
…..
"หนัก"
พิชัยยุทธ์ซุนวู จะเน้นเรื่องการเป็น ผู้กระทำและควบคุมสถานการณ์ มิใช่เป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ
หากแต่ต้องไหลลื่นไปตามสภาการณ์ประดุจน้ำที่มันปรับตัวไหลอ้อม วกอ้อมสิ่งกีดขวาง
และน้ำที่ว่านี้ก็พร้อมแปรสภาพเป็นคลื่นยักษ์สึนามิพัดทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าเมื่อจำเป็นเช่นกัน
ในยามที่สุมาอี้เสร็จศึกจากขงเบ้ง และถูกลอยแพทางการเมืองมาเกือบๆสิบปีนั้น โจซองกุมอำนาจในเว่ยก๊กทุกอย่าง และเฝ้ารอวันกำจัดตระกูลสุมาเพื่อสร้างฐานอำนาจของตนให้แกร่งยิ่งขึ้น แต่ก็ยังหาเหตุผลและข้ออ้างไม่ได้
ถ้าเราไม่ทำเขา เขาต้องก็มาทำเรา
ข้อนี้มีหรือที่ผู้รู้แจ้งแทงตลอดอย่างสุมาอี้จะไม่รู้
ในวันที่โจซองประมาทอีกฝ่าย นำกำลังและแม่ทัพนายกองระดับคุมกำลังรบออกไปไหว้สุสานบรรพบุรุษตลอดจนล่าสัตว์ตามประเพณี
สุมาอี้ที่เฝ้ารอคอยโอกาส จึงเรียกระดมพรรคพวกที่ยังจงรักภักดี ออกคำสั่งยุทธการยึดอำนาจในเมืองหลวงอย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และปิดทางหนีทีไล่ของอีกฝ่ายไว้
จนในที่สุดอำนาจในเว่ยก๊กทั้งหมดก็กลับมาตกอยู่ใต้ของตระกูลสุมา ที่นำโดยสุมาอี้-สุมาสู-สุมาเจียว
เขาเลือกที่จะลงมือหนักแต่เดินเกมเงียบเฉียบ แต่เด็ดขาดยิ่งนัก
…..
"เบา"
ในยามที่ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรนำทัพขึ้นเหนือเข้าตีเว่ยก๊ก ณ ดินแดนจงหยวนเพื่อหวังรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวนั้น
พอสุมาอี้จับจุดตรงนี้ได้ว่า
ทหารของขงเบ้งยกทัพมาไกล และมักมีปัญหาเรื่องเสบียงเสมอๆ
เขาก็นิ่ง ไม่เล่นด้วย ไม่ว่าอีกฝ่ายจะมาท้าทายอะไรยังไง เขาก็นิ่งๆ หายใจเบาๆเข้าไว้ ไม่ออกไปปะทะด้วย
เพราะทุกครั้งที่สุมาอี้ รบกับขงเบ้ง
สุมาอี้สู้ขงเบ้งไม่ได้
ในเมื่อสู้ไม่ได้ แล้วจะไปสู้ทำไมละ
สู้ได้สู้
สู้ไม่ได้ก็ตั้งรับ
ตั้งรับไม่ได้ก็ถอย
ถอยไม่ได้ก็อ่อนน้อม
อ่อนน้อมไม่ได้ก็หนี
มิใช่จะเอาแต่บวก โดยไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี
ด้วยเหตุนี้ที่ขงเบ้ง จึงเอาชนะสุมาอี้ไม่ได้เพราะสุมาอี้เขาเลือกตั้งรับ ทำตัวนิ่งๆ หายใจเบาๆ
สุดท้ายขงเบ้งก็ทำงานหนัก ไม่หลับไม่นอน ไม่ทานข้าวตรงเวลา และขงเบ้งก็ป่วยตายคาหน้างาน
เกมนี้สุมาอี้เลือก เบา ไม่เดินเกมหนัก
เพราะ ถ้าเบาแล้วเขาได้ประโยชน์ก็ต้อง
"เบาได้เบา"
…..
บทสรุป
1.ผู้ชนะเขามีจังหวะยังไง
ย่อมมีทั้ง เร็วช้าหนักเบา
ผู้ชนะเร็ว เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะช้า เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะหนัก เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะเบาได้เบา เมื่อเขาได้ประโยชน์
มิใช่จังหวะช้ากลับเร็ว
มิใช่จังหวะเร็วกลับช้าๆ ชิวๆ
จริงอยู่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม แต่นั่นก็ต้องวางแผน และต้องรู้สถานการณ์เพื่อให้ได้พร้าเล่มงามมิใช่หรือ ดังเช่นที่สุมาอี้ดึงเกมช้า ดึงเกมเบา ในการปะทะกับขงเบ้งและกองซุนเอี้ยน
2.เร็วช้าหนักเบา ประดุจการขับรถเกียร์ธรรมดาที่ต้องอาศัยจังหวะ เกียร์1-2-3-4-5 ไล่ไป
เพียงแต่ว่าถ้าไปผิดทางก็ต้องเกียร์ R
จังหวะได้นิ่งๆก็เกียร์ N
เพราะถ้าจะใช้เกียร์ออโต้ย่อมมีราคาที่ต้องจ่ายแพงกว่าเสมอ ดุจดั่งความผิดพลาดที่มีราคาต้องจ่าย
และใครที่บรรลุเร็วช้าหนักเบาดุจเกียร์ออโต้ได้ ก็ต้องมีประสบการณ์ ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ ที่ต้องรู้ "เร็วช้าหนักเบา" และ "ตื้นลึกหนาบาง"
3.เร็วช้าหนักเบา
สิ่งไหนทำก่อน สิ่งไหนทำทีหลัง สิ่งไหนจริงจัง สิ่งไหนเอาที่พอควร ย่อมต้องพิเคราะห์ให้จงดี
เพราะถ้าจริงจังในขณะที่ส่วนใหญ่ไม่จริงจัง ก็สิ้นเปลืองทรัพยากร ทั้งแรงและเวลา ดุจดั่งโจโฉที่จริงจังผู้เดียวเมื่อครั้งทัพพันธมิตร18หัวเมือง
"เร็วช้าหนักเบา อยู่ที่เราจะเลือกยังไง"
…..
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในเรื่องของสามก๊กนั้น ผู้ชนะที่แท้จริง คือ สุมาอี้
เพราะไม่ว่าผู้อื่นๆ อย่างขงเบ้ง,โจโฉ อื่นๆจะเก่งกล้าสามารถแค่ไหน ก็ต้องหายไปตามห้วงของกาลเวลา
…..
เพราะสุมาอี้คือผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่อง จังหวะเวลา
และมักจะใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์กับตนมากที่สุดเสมอ
.....
ดังพิชัยยุทธ์ซุนวูว่าไว้
เวลามักสร้างความเปลี่ยนแปลง
แต่ผู้ที่ชำนาญ เร็วช้าหนักเบา นั้นย่อมคว้าประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงได้ได้ไม่ยาก
.....
เรื่องไหนที่รอคอยได้ก็รอ ถ้าได้มากกว่าเสีย
เรื่องไหนที่เร่งได้ก็เร่ง ถ้าได้มากกว่าเสีย
อุปดั่งภาษิตว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
คือถ้าลงมือ(คิด พูด ทำ)แล้วไม่เป็นผลดี ก็นิ่งไว้
หากแต่ถ้าจะลงมือก็ต้องประเมิน ความเสี่ยง-ผลเสีย-ผลได้ เสมอ ดังคำที่โจโฉเคยว่าไว้
"ผู้มีปัญญาคิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ที่เสียที่ได้ และต้องมิให้ใครรู้ทันความคิดของเรา"
…..
พิชัยสงครามซุนวูว่าไว้เรื่อง"เร็วช้าหนักเบา"
และก่อนที่จะใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์ต่อตนมากที่สุดก็คือต้องรู้ "ตื้นลึกหนาบาง"
…..
"เร็ว"
ขณะที่สุมาอี้ทำศึกกับขงเบ้ง และเขาโดนปลดด้วยความระแวงจากการเมืองภายใน ต่อมาคนที่รับมือกับขงเบ้งก็ล้วนแต่เอาไม่อยู่ ร้อนถึงสุมาอี้ต้องกลับมารับตำแหน่งแม่ทัพรับมือกับขงเบ้งอีกครั้ง
หากแต่เขาได้ข่าวว่า เบ้งตัดขุนนางผู้ใหญ่กำลังติดต่อกับขงเบ้งเพื่อสวามิภักดิ์ต่ออีกฝ่ายและจะยกทัพใหญ่มาเข้าตีเมืองหลวงของเว่ยก๊ก
ขงเบ้งตีทางทิศตะวันตก
เบ้งตัดจะตีทางทิศใต้
หากว่าเป็นเช่นนี้เว่ยก๊กมีโอกาสล่มสลายได้ไม่ยาก
สุมาอี้จึงตัดสินใจนำทัพด้วยตนเอง เร่งเคลื่อนทัพทั้งวันทั้งคืนจนถึงเมืองหลวงอีกฝ่ายและเอาชนะชัยได้อย่างรวดเร็วชนิดที่ว่าอีกฝ่ายนี้ยังไม่ทันได้ตั้งตัว
เพราะสุมาอี้ตัดสินใจลงมืออย่างรวดเร็วโดยที่ยังไม่รายงานหน่วยเหนือก่อนเพราะข้อมูลจะรั่วไหล เมื่อเสร็จงานแล้วเขาจึงค่อยรายงาน
ด้วยเหตุนี้สุมาอี้จึงปราบกบฎเบ้งตัดได้อย่างทันท่วงทีเพราะเขา "เร็ว"
หากแต่ "เร็ว"แล้วสุมาอี้ได้ประโยชน์
…..
"ช้า"
สุมาอี้ปราบกบฎกองซุนเอี้ยนได้แบบ กำลังน้อยกว่าและใช้จังหวะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อฝ่ายตน ยกกำลังเดินทัพทางไกล
ใช้กลยุทธ์ล้อมเว่ยช่วยจ้าว
ตีในจุดที่อีกฝ่ายต้องมาช่วย
สุมาอี้ไม่สนใจค่ายทัพที่อีกฝ่ายตั้งค้ำยันไว้ หากแต่เขาสั่งการเดินทัพเข้าตีเมืองหลวงของอีกฝ่ายที่มีกำลังเบาบาง เพราะกำลังส่วนใหญ่ของอีกฝ่ายอยู่ที่ค่ายทัพส่วนหน้า
ด้วยเหตุนี้ฝ่ายกบฎจึงเป็นห่วงรังใหญ่ รีบนำกำลังมาช่วยจึงถูกฝ่ายสุมาอี้ซุ่มกำลังโจมตีอย่างง่ายดาย
ต่อมาฝนตก น้ำท่วม ทั้งเมืองหลวงฝ่ายกบฎและค่ายทัพสุมาอี้ บรรดาทหารได้รับความเดือนร้อนเป็นอันมาก หากแต่สุมาอี้ก็ยังไม่สั่งถอยทัพกลับต่างรอคอยต่อไป
บรรดาที่ปรึกษาจึงเข้าถามว่า ทำไมเมื่อครั้งปราบเบ้งตัดจึงรีบปราบอย่างเร็ว หากแต่ครั้งนี้ทำไมไม่รีบปราบอีกฝ่ายด้วยเล่า
สุมาอี้ตอบว่า
เมื่อครั้งปราบกบฎเบ้งตัด กำลังฝ่ายเรามีมากแต่เสบียงมีน้อย ส่วนฝ่ายเบ้งตัดนั้นกำลังมีน้อยแต่เสบียงมีมาก ฝ่ายกบฎรอได้ ฝ่ายเรารอไม่ได้
ข้าจึงต้องเร่งเดินทัพทั้งวันทั้งคืนหลายๆวันติดๆกันจนเอาชัยชนะต่ออีกฝ่ายได้
ศึกครั้งนี้ ฝ่ายเรามีกำลังน้อยแต่เสบียงมาก ฝ่ายกบฏนั้นกำลังมีมากแต่เสบียงมีน้อย ยิ่งช้าเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีต่อฝ่ายเรา เพราะฝ่ายกบฎนั้นก็จะเสบียงหมดเกิดความโกลาหลขึ้นมาเอง ยิ่งฝนตกทำให้การศึกยืดเยื้อด้วยแล้ว การเอาชัยต่ออีกฝ่ายย่อมง่ายต่อฝ่ายเรา
และต่อมาฝนหยุดตก น้ำหายท่วม บรรดาทหารฝ่ายกบฎต่างคิดปันใจ ก่อความโกลาหลต่อกองซุนเอี้ยน และในที่สุดสุมาอี้ก็เอาชนะอีกฝ่ายได้ทั้งๆที่มีกำลังน้อยกว่าหลายส่วน เพียงแค่ว่าเขารู้จังหวะ"ช้า" ก็แค่นั้น
เพียงแต่ว่าสุมาอี้"ช้า"แต่เขาได้ประโยชน์
…..
"หนัก"
พิชัยยุทธ์ซุนวู จะเน้นเรื่องการเป็น ผู้กระทำและควบคุมสถานการณ์ มิใช่เป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ
หากแต่ต้องไหลลื่นไปตามสภาการณ์ประดุจน้ำที่มันปรับตัวไหลอ้อม วกอ้อมสิ่งกีดขวาง
และน้ำที่ว่านี้ก็พร้อมแปรสภาพเป็นคลื่นยักษ์สึนามิพัดทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าเมื่อจำเป็นเช่นกัน
ในยามที่สุมาอี้เสร็จศึกจากขงเบ้ง และถูกลอยแพทางการเมืองมาเกือบๆสิบปีนั้น โจซองกุมอำนาจในเว่ยก๊กทุกอย่าง และเฝ้ารอวันกำจัดตระกูลสุมาเพื่อสร้างฐานอำนาจของตนให้แกร่งยิ่งขึ้น แต่ก็ยังหาเหตุผลและข้ออ้างไม่ได้
ถ้าเราไม่ทำเขา เขาต้องก็มาทำเรา
ข้อนี้มีหรือที่ผู้รู้แจ้งแทงตลอดอย่างสุมาอี้จะไม่รู้
ในวันที่โจซองประมาทอีกฝ่าย นำกำลังและแม่ทัพนายกองระดับคุมกำลังรบออกไปไหว้สุสานบรรพบุรุษตลอดจนล่าสัตว์ตามประเพณี
สุมาอี้ที่เฝ้ารอคอยโอกาส จึงเรียกระดมพรรคพวกที่ยังจงรักภักดี ออกคำสั่งยุทธการยึดอำนาจในเมืองหลวงอย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และปิดทางหนีทีไล่ของอีกฝ่ายไว้
จนในที่สุดอำนาจในเว่ยก๊กทั้งหมดก็กลับมาตกอยู่ใต้ของตระกูลสุมา ที่นำโดยสุมาอี้-สุมาสู-สุมาเจียว
เขาเลือกที่จะลงมือหนักแต่เดินเกมเงียบเฉียบ แต่เด็ดขาดยิ่งนัก
…..
"เบา"
ในยามที่ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรนำทัพขึ้นเหนือเข้าตีเว่ยก๊ก ณ ดินแดนจงหยวนเพื่อหวังรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวนั้น
พอสุมาอี้จับจุดตรงนี้ได้ว่า
ทหารของขงเบ้งยกทัพมาไกล และมักมีปัญหาเรื่องเสบียงเสมอๆ
เขาก็นิ่ง ไม่เล่นด้วย ไม่ว่าอีกฝ่ายจะมาท้าทายอะไรยังไง เขาก็นิ่งๆ หายใจเบาๆเข้าไว้ ไม่ออกไปปะทะด้วย
เพราะทุกครั้งที่สุมาอี้ รบกับขงเบ้ง
สุมาอี้สู้ขงเบ้งไม่ได้
ในเมื่อสู้ไม่ได้ แล้วจะไปสู้ทำไมละ
สู้ได้สู้
สู้ไม่ได้ก็ตั้งรับ
ตั้งรับไม่ได้ก็ถอย
ถอยไม่ได้ก็อ่อนน้อม
อ่อนน้อมไม่ได้ก็หนี
มิใช่จะเอาแต่บวก โดยไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี
ด้วยเหตุนี้ที่ขงเบ้ง จึงเอาชนะสุมาอี้ไม่ได้เพราะสุมาอี้เขาเลือกตั้งรับ ทำตัวนิ่งๆ หายใจเบาๆ
สุดท้ายขงเบ้งก็ทำงานหนัก ไม่หลับไม่นอน ไม่ทานข้าวตรงเวลา และขงเบ้งก็ป่วยตายคาหน้างาน
เกมนี้สุมาอี้เลือก เบา ไม่เดินเกมหนัก
เพราะ ถ้าเบาแล้วเขาได้ประโยชน์ก็ต้อง
"เบาได้เบา"
…..
บทสรุป
1.ผู้ชนะเขามีจังหวะยังไง
ย่อมมีทั้ง เร็วช้าหนักเบา
ผู้ชนะเร็ว เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะช้า เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะหนัก เมื่อเขาได้ประโยชน์
ผู้ชนะเบาได้เบา เมื่อเขาได้ประโยชน์
มิใช่จังหวะช้ากลับเร็ว
มิใช่จังหวะเร็วกลับช้าๆ ชิวๆ
จริงอยู่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม แต่นั่นก็ต้องวางแผน และต้องรู้สถานการณ์เพื่อให้ได้พร้าเล่มงามมิใช่หรือ ดังเช่นที่สุมาอี้ดึงเกมช้า ดึงเกมเบา ในการปะทะกับขงเบ้งและกองซุนเอี้ยน
2.เร็วช้าหนักเบา ประดุจการขับรถเกียร์ธรรมดาที่ต้องอาศัยจังหวะ เกียร์1-2-3-4-5 ไล่ไป
เพียงแต่ว่าถ้าไปผิดทางก็ต้องเกียร์ R
จังหวะได้นิ่งๆก็เกียร์ N
เพราะถ้าจะใช้เกียร์ออโต้ย่อมมีราคาที่ต้องจ่ายแพงกว่าเสมอ ดุจดั่งความผิดพลาดที่มีราคาต้องจ่าย
และใครที่บรรลุเร็วช้าหนักเบาดุจเกียร์ออโต้ได้ ก็ต้องมีประสบการณ์ ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ ที่ต้องรู้ "เร็วช้าหนักเบา" และ "ตื้นลึกหนาบาง"
3.เร็วช้าหนักเบา
สิ่งไหนทำก่อน สิ่งไหนทำทีหลัง สิ่งไหนจริงจัง สิ่งไหนเอาที่พอควร ย่อมต้องพิเคราะห์ให้จงดี
เพราะถ้าจริงจังในขณะที่ส่วนใหญ่ไม่จริงจัง ก็สิ้นเปลืองทรัพยากร ทั้งแรงและเวลา ดุจดั่งโจโฉที่จริงจังผู้เดียวเมื่อครั้งทัพพันธมิตร18หัวเมือง