ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

กันการสแปม
คำนำหน้านามของผู้หญิงไทยที่แต่งงานแล้วคือ


shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 15/09/23 »



ปัญหานึงที่พบเจอได้บนระบบ Windows 11 ที่ลองอัปเกรดมาใช้งานกันดูก็คือเรื่องของ Disk ที่วิ่งใช้งานแบบ 100% อยู่ตลอดหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานผิดปกติ วันนี้จะพามาดูวิธีการแก้ไขเบื้องต้นกันแบบง่าย ๆ ที่สามารถทำตามกันได้ทุกคน

1. ปิด SysMain (Superfetch) Service

ระบบ SysMain หรือในชื่อเก่าว่า Superfetch เป็นระบบที่ Windows 10/11 ใช้งานเพื่อเตรียมโหลดแอปเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องก่อนที่จะถูกเปิดใช้งานขึ้นมาจริง ๆ Microsoft ทำระบบตัวนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเปิดใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง แต่บางครั้งระบบตัวนี้ก็ทำให้การใช้งาน Disk อยู่ในระดับที่สูงนั่นเอง

และจากข้อมูลที่มีรายงานมาจากผู้ใช้งานหลายคน ระบบตัวนี้ก็ดูจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการใช้งาน Disk 100% ด้วย ขั้นตอนการปิดนั้นสามารถทำได้ตามนี้เลย

  1. เริ่มจากกดปุ่ม Windows + R เพื่อเปิดโปรแกรม Run Prompt ขึ้นมา แล้วพิมพ์ลงไปว่า services.msc แล้วกดปุ่ม Enter

  2. จากนั้นเลื่อนหาชื่อคำว่า SysMain หรือ Superfetch แล้วดับเบิลคลิกที่ชื่อเพื่อเปิดหน้าต่าง Properties

  3. เปลี่ยนประเภท Startup Type เป็น Disabled แล้วคลิก Stop เพื่อปิดระบบทันที จากนั้นคลิกที่ Apply แล้วคลิก OK

  4. จะสังเกตได้ทันทีว่าระดับการใช้งาน Disk นั้นลดลงราว ๆ 10-15% ทันทีใน Windows 11 ให้ลองรีสตาร์ตเครื่องใหม่อีกครั้ง แล้วสังเกตดูว่าการใช้งาน Disk นั้นยังสูงหรือเปล่า

2. ปิด Connected User Experiences และ Telemetry

Connected User Experiences และ Telemetry เป็นอีกระบบที่ Microsoft เปิดทำงานภายใต้โปรแกรม svchost.exe หน้าที่หลักคือการเก็บข้อมูลส่งให้ Microsoft เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลระบบและการใช้งานการทำงานต่าง ๆ ส่วนวิธีการปิดทำตามด้านล่างนี้เลย

  1. เริ่มจากกดปุ่ม Windows + R เพื่อเปิดโปรแกรม Run Prompt ขึ้นมา แล้วพิมพ์ลงไปว่า services.msc แล้วกดปุ่ม Enter

  2. มองหาชื่อ Connected User Experiences and Telemetry แล้วดับเบิลคลิกที่ชื่อเพื่อเปิดหน้าต่างขึ้นมา เปลี่ยนค่า Stratup Type เป็น Disabled แล้วกดปุ่ม Stop > กดปุ่ม Apply > กดปุ่ม OK เพื่อค่าการเปลี่ยนแปลง

  3. เลื่อนหาชื่อ Connected Devices Platform Service แล้วทำการดับเบิลคลิกเปิดหน้าต่างขึ้นมา เปลี่ยนค่า Stratup Type เป็น Disabled แล้วกดปุ่ม Stop > กดปุ่ม Apply > กดปุ่ม OK เพื่อค่าการเปลี่ยนแปลง

ระบบ Windows Search นับว่าเป็นระบอีกตัวที่อาจเป็นสาเหตุในการเรียกใช้งาน Disk สูงอยู่เบื้องหลังในระบบ Windows แต่แนะนำเล็กน้อยว่าการปิดระบบตัวนี่อาจส่งผลต่อการค้นไฟล์ต่าง ๆ ภายในเครื่องของคุณ ถ้าหากว่าไม่มั่นขอแนะนำให้ข้ามการปิดระบบตัวนี้ไปจะดีกว่า ส่วนขั้นตอนการปิดนั้นทำดังนี้

  1. กดปุ่ม Windows + R แล้วพิมพ์ services.msc แล้วกด Enter

  2. จากนั้นให้หาชื่อ Windows Search แล้วดับเบิลคลิกที่ชื่อเปิดหน้าต่างขึ้นมา เปลี่ยนค่า Startup Type เป็น Disabled แล้วกดปุ่ม Stop > กดปุ่ม Apply > กดปุ่ม OK จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้หลังจากรีสตาร์ตเครื่องใหม่

4. ปิด Scheduled Defragmentation

ระบบ Windows 11 จะมีการตั้งเวลาเพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เป็นระยะ ๆ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเครื่องทำได้ดีขึ้น ลดความหน่วงช้าเมื่อใช้งานเครื่องไปสักระยะ การปิดระบบตัวนี้ก็จะช่วยลดการใช้งาน Disk โดยที่เราไม่ตั้งใจได้ด้วยเช่นเดียวกัน

  1. กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า Defragment จากนั้นคลิกที่ชื่อโปรแกรม Defragment and Optimize Drives เปิดขึ้นมา

  2. คลิกที่ปุ่ม Change Settings

  3. ติ๊กช่องหน้าคำว่า Run on a schedule (recommended) ออก ไม่ให้มีเครื่องถูกโชว์ ให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเปล่า ๆ อย่างเดียวเท่านั้นแล้วคลิป OK

5. ปิด Startup Apps

เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มักจะทำงานแบบอัตโนมัติอยู่เบื้องหลังของระบบ Windows เมื่อทำการเปิดเข้ามาใช้งาน เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาระบบ Windows จะทำการไล่เปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ในรายการขึ้นมา ซึ่งเป็นการใช้งาน Disk ที่เยอะ สังเกตได้จากการเปิดเครื่องใหม่ทุกครั้งที่ต้องรอสักครู่ถึงจะพร้อมใช้งานได้

  1. กดปุ่ม Ctrl + Shift + Esc เป็นการเปิดหน้าต่าง Task Manager

  2. คลิก ที่แท็บ Startup ไล่ดูรายชื่อโปรแกรมต่าง ๆ ว่าตัวไหนที่เราไม่ได้ใช้งานบ้าง แล้วดูข้อความด้านหลังว่าเป็น Enabled หรือเปล่า ถ้าใช่ให้คลิกเปลี่ยนเป็น Disabled แต่ถ้าหากชื่อโปรแกรมตัวไหนไม่แน่ใจก็ไม่ต้องกดเปลี่ยนค่าอะไร

6. ปิดโหมด MSI

เป็นอีกหนึ่งตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียกใช้งาน Disk ของเครื่อง PC ของเรา ถ้าหาว่าเครื่องของคุณใช้ไดรเวอร์ StorAHCI.sys อยู่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับผลกระทบจากโหมด Message Signaled Interrupt (MSI)

  1. กดปุ่ม Windows + X เพื่อเจ้าเมนู Quick Links ขึ้นมา แล้วคลิกที่ Device Manager

  2. จากนั้นขยายเมนู IDE ATA/ATAPI Controllers ออกมา แล้วคลิกขวาที่รายชื่ออุปกรณ์ที่อยู่ด้านใต้หัวข้อเมนู แล้วเลือกที่ Properties

  3. จากหน้าต่าง Properties คลิกไปที่แท็บ Driver แล้วคลิกที่ปุ่ม Driver Details

  4. ถ้าหากว่าเจอชื่อ StorAHCI.sys ให้ทำขั้นตอนถัดไปต่อได้เลย แต่ถ้าไม่พบชื่อนี้แต่เป็นชื่ออื่น ๆ ก็ไม่ต้องทำตามขั้นตอนต่อไป ให้ข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย

  5. กดที่แท็บ Details แล้วเปลี่ยน Property เป็น Device instance path จามเมนูดร็อปดาวน์ จากนั้นคลิกขวาที่ชื่อในกรอบ Value ด้านล่าง แล้วเลือก Copy

  6. Paste ค่าที่ Copy มาลงบนหน้าโปรแกรม Notepad

  7. ปิด Device Manager กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์ว่า registry กด Enter เปิด Registry Editor ขึ้นมา

  8. เข้าไปที่ Computer\HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Enum\PCI\

  9. หาชื่อที่ตรงกันกับชื่อที่เรา Paste เอาไว้ใน Notepad แล้วกดขยายที่ชื่อนั้นออกมา

  10. จากนั้นไปที่ Device Parameters > Interrupt Management > MessageSignaledInterruptProperties

  11. มองหาคำว่า MSISupported ที่หน้าต่างด้านขวามือ ดับเบิลคลิกเปิดหน้าต่างขึ้นมาแล้วเปลี่ยนค่าเป็น 0

  12. ปิด Registry Editor แล้วรีสตาร์ตเครื่องใหม่ เท่านี้ก็จะช่วยลดการใช้งาน Disk ได้ในระดับนึงแล้ว

7. รีเซ็ต Virtual Memory

เมื่อเครื่อง PC ของคุณเหลือ RAM น้อย ระบบ Windows จะไปดึงเอา Disk มาใช้เป็น RAM จำลองชั่วคราวแทน ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อการเรียกใช้งาน Disk ที่สูงขึ้น

  1. กดปุ่ม Windows + R เปิดหน้าต่าง Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl แล้วกดปุ่ม Enter จะเป็นการเปิดหน้าต่าง System Properties ขึ้นมาโดยตรง

  2. ไปที่แท็บ Advanced แล้วคลิก Settings ใต้คำว่า Performance

  3. ใต้หน้าต่าง Performance Options คลิกไปที่แท็บ Advanced แล้วคลิก Change

  4. ติ๊กที่ช่องหน้าคำว่า Automatically manage paging file size for all drives ออก แล้วเลือก Custom size

  5. จากนั้นใส่ค่าให้กับ Recommended จากช่อง Initial size และช่อง Maximum size โดยให้ใส่เป็นหน่วย MB คือ 1024 แล้วคิดจากขนาดของ RAM มาคูณ 1.5 เข้าไป ตัวอย่างเช่นเรามี RAM 8GB ก็เอา 1024 x 8 x 1.5 ได้ 12288 ก็เอามาใส่เข้าไปแล้วคลิก Set > คลิก OK

8. สแกนระบบเครื่อง System Scan

การสแกนดูว่ามีโปรแกรม Malware หรือ Rootkits อะไรแอบซ่อนทำงานไว้ในระบบอยู่หรือไม่ก็นับเป็นอีกวิธีที่ช่วยได้เช่นเดียวกัน เพราะโปรแกรมพวกนี้จะค่อยใช้งานดิสก์ของเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อเก็บข้อมูลที่ตัวมันต้องการ ไม่ได้ช่วยประโยชน์ใด ๆ กับตัวเราเลย

แนะนำให้ลองโหลดโปรแกรมชื่อว่า Malwarebyte มาตรวจสอบเครื่องดู ถ้าหากตัวโปรแกรมสแกนเจอก็จะแจ้งเตือนขึ้นมาให้เรารู้เพื่อทำการลบออกไปจากเครื่อง หรือไปหาโปรแกรม Antivirus ดี ๆ มาติดเครื่องเอาไว้สักตัวก็อีกทางที่ช่วยได้ด้วยเช่นเดียวกัน

9. ปิดโปรแกรมใน Background

โปรแกรมหลายตัวที่เราลงไว้อาจมีการทำงานอยู่เบื้องหลังที่ไม่ได้โชว์หน้าต่างขึ้นมาให้เราเห็นอยู่ตลอดเวลาได้ การปิดแอปบางตัวที่เราไม่ได้ใช้งานประจำก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยลดภาระการใช้ดิสก์นั่นเอง

  1. กดปุ่ม Windows + I แล้วคลิกเข้าไปที่เมนู Account ด้านซ้าย แล้วคลิกที่ Sign-in options ทางด้านขวา

  2. จากนั้นให้คลิกปิดที่ปุ่มวงกลมด้านหลังเมน Automatically save my restartable apps and restart them when I sign back in

  3. จากนั้นคลิกที่เมนู Apps ด้านซ้าย แล้วคลิกที่ Apps and Features ด้านขวา

  4. จะมีรายชื่อโปรแกรมโผล่ขึ้นมาหลายตัว ให้เลื่อนหาโปรแกรมที่เราต้องการปิด แล้วคลิกที่ปุ่มจุด 3 จุดที่ด้านหลังชื่อโปรแกรม

  5. จากนั้นคลิกเลือก Advanced options แล้วเลื่อนไปที่ Background apps permissions ให้คลิกเปลี่ยนกล่องข้อความข้างใต้เป็น Never

10. เช็ก Disk

  1. กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์ว่า cmd แล้วคลิกที่ปุ่ม Run as administrator ทางด้านขวา

  2. ในหน้าต่าง CMD พิมพ์ chkdsk /r c: จากนั้นระบบจะถามว่า perform a disk check the next time your PC restarts ให้พิมพ์ y แล้วกด Enter แล้วก็ทำการรีสตาร์ตเครื่อง ระบบ Windows ก็จะทำการเช็กดิสก์ตรวจหาความผิดปกติ

11. อัปเดตไดรเวอร์ Storage

  1. กดปุ่ม Windows + X แล้วคลิกที่เมนู Device Manager

  2. ขยายเมนู Disk drives เพื่อดูดิสก์ที่เรามีทั้งหมด แล้วคลิกขวาที่ชื่อดิสก์ แล้วเลือก Update Driver

  3. จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาอีก 1 หน้าต่าง ให้คลิกที่ปุ่ม Search automatically for drivers แล้วรอสักครู่ ถ้าหากมีเวอร์ชันใหม่ตัวระบบจะทำการติดตั้งให้และขึ้นถามเราว่าต้องการรีสตาร์ตเครื่องใหม่หรือเปล่า ให้ปฏิเสธไป

  4. ไปที่เมนู IDE ATA/ATAPI controllers และ Storage controllers แล้วทำแบบข้างต้นให้เหมือนกันทั้ง 2 เมนู

  5. อีกวิธีที่ช่วยอัปเดตไดรเวอร์แบบง่ายกว่า คือใช้ โปรแกรม IObit Driver Booster มาช่วยจะสะดวกมากยิ่งขึ้น

12. อัปเดต Windows 11 หรือติดตั้งแบบสะอาด

  1. กดปุ่ม Windows + I แล้วคิลกที่ Windows Update ที่เมนูด้านซ้าย
  2. จากนั้นคลิกที่เมนูปุ่ม Check for Updates ทางด้านขวา รอให้ระบบทำการเช็กหาอัปเดตใหม่สักครู่ ถ้ามีที่เรายังไม่ได้ติดตั้งก็จะทำการติดตั้งให้ทันที แต่ถ้าไม่มีก็จะไม่ขึ้นอะไร บอกว่าเครื่องเราอัปเดตล่าสุดแล้วเท่านั้น

อีกวิธีถ้าหากทำตามด้านบนมาหมดแล้วยังเป็นปัญหาอยู่ ก็แนะนำว่าการติดตั้งลง Windows ใหม่ก็เป็นวิธีที่การันตีได้เลยว่าหายแน่ ๆ ให้ใช้ระบบ Windows 11 ที่ได้มาจากช่องทางของ Microsoft จะดีที่สุด แล้วล้างข้อมูลในดิสก์เดิมให้หมด แล้วทำการติดตั้งลงไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบเราสะอาด 100% นั่นเอง

ที่มา ibit.ly/dWAN