ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

กันการสแปม
คำว่า "เมีย" ในภาษาไทย เรียกให้สุภาพอีกอย่างหนึ่งคือ


shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 26/09/24 »

ระบบแต้มสะสม อีกตัวช่วย "เรื่องทำการบ้านแล้วลูกขมขื่น(จากตอนที่ 473)”

บ้านเรา....เด็กมีการบ้านเยอะจริงๆ หากโรงเรียนสามารถปรับการบ้านให้เหมาะสมจะดีมาก เพราะชีวิตเด็กมีอะไรให้ทำ ให้เรียนรู้อื่นๆอีกมากมาย....
ยิ่งการบ้านเยอะ ยิ่งทำนาน ยิ่งยาก ยิ่งหมดหวัง เด็กไม่มีพลังใจที่จะทำต่อ ความรู้สึกท้อถอยจะพาลให้ต่อต้านในการทำการบ้านได้

หมอเชื่อว่า หากปริมาณการบ้านเหมาะสม ไม่มากจนเด็กห่อเหี่ยว เด็กจะต่อต้านการทำการบ้านน้อยลง
แต่หากการบ้านเหมาะสมแล้ว เด็กก็ยังไม่อยากทำอีก เกิดจากสาเหตอะไร?

เราเคยสังเกตมั๊ยคะ... เวลาที่ลูกทำงานที่ชอบ เขาจะมีสมาธิจดจ่อได้นาน เช่น ต่อตัวต่อ วาดรูป ระบายสี เขาจะทำอย่างตั้งใจและได้งานดีๆด้วย

อะไรทำให้เกิดพฤติกรรมแบบนี้?...
คำตอบคือ “แรงจูงใจ”....

แรงจูงใจที่จะทำให้ดี ทำให้เสร็จ.....เกิดจาก?
1. การรับรู้ในศักยภาพตนเองว่า “ฉันสามารถ”
หากลูกชอบวาดรูป เราก็จะเห็นลูกหยิบดินสอมาขีดเขียนเองโดยไม่ต้องเคี่ยวเข็ญ ทำได้นานสองนาน ทำจนเสร็จ นั่นเป็นเพราะเขารู้ว่าตัวเองทำได้ดี ดังนั้น การบ้านที่มีหลากหลายวิชา วิชาไหนที่ลูกรู้สึกว่าเขาทำได้ดีแน่ๆ เขาจะลงมือทำไม่ยาก แต่วิชาไหนที่ไม่เข้าใจ ไม่ถนัด เขาจะมีข้ออ้างสารพัดที่จะไม่อยากทำ

2. “ความมั่นใจ”ในความพยายามของตนเอง เมื่อเจอความยาก ลูกจะ“รู้สึกท้าทาย ไม่ใช่ท้อถอย”
ความมั่นใจชนิดนี้ ไม่ใช่ได้มาง่ายๆจากคำพูดให้กำลังใจของพ่อแม่แต่เพียงอย่างเดียว ความมั่นใจของคนเราต้องเกิดจากประสบการณ์ตรง และบ่อยๆเป็นสำคัญ.....

บ้านไหนเลี้ยงลูกให้สบาย เด็กไม่ค่อยได้ลงมือทำอะไรเอง ดูเหมือนเด็กมีหน้าที่เรียนกับเล่นสนุกแค่ 2 อย่างเท่านั้น เด็กกลุ่มนี้จะท้อถอยเมื่อเจออุปสรรคได้ง่าย บ่อยครั้งการบ้านก็ไม่ยาก แต่เด็กรักสบายและเข้าใจว่าหมดเวลาเรียนแล้ว แต่เด็กที่ต้องช่วยงานบ้าน ต้องทำสารพัดอย่างในชีวิต จะมองเรื่องยากหรืออุปสรรคเป็นความธรรมดาหรืออาจเป็นความท้าทายด้วยซ้ำ

วิธีการกระตุ้นให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำการบ้าน....
1. หากลูกมีความสามารถในสิ่งนั้นๆอยู่แล้ว พ่อแม่ก็เพียงแต่เตือนเมื่อถึงเวลาทำการบ้าน.....
2. หากลูกไม่เก่ง ไม่ถนัดวิชานั้นๆ พ่อแม่ควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น แต่แรงจูงใจภายในที่ลูกจะบอกตนเองว่า “ฉันสามารถ” นั้น ต้องใช้เวลา เพราะลูกจะเชื่อมั่นในฝีมือตนเองอย่างนั้นจริงๆ ลูกก็ต้องมีผลงานออกมาก่อน

เราจะใช้ระบบสติกเกอร์หรือแต้มคะแนนสะสม (ถือเป็นแรงจูงใจภายนอก) มาดึงดูดให้ลูกอยากทำ โดยกำหนดกติกา เช่น หากลูกทำการบ้านอย่างตั้งใจ จะได้คะแนน (มูลค่าของคะแนน) ...และเมื่อลูกทำได้จริง เราจะชื่นชมลูกเพื่อให้เขามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือของเขาเอง

ตรงรอยต่อนี้แหละที่จะผันแรงจูงใจภายนอกไปสู่แรงจูงใจภายใน (แม้ว่าตอนมาทำ จะอยากได้คะแนน แต่ตอนจะรับคะแนน จะได้ฟังเสียงชื่นชมจากพ่อแม่) ให้เรามองสบตาลูก พูดด้วยเสียงมั่นใจและชื่นใจ “ลูกทำได้แล้ว... ตั้งใจทำจนเสร็จ เยี่ยมเลยครับ”

การชื่นชมด้วยท่าทีมั่นใจและภูมิใจของพ่อแม่นั้น คือแรงเสริมที่จะไปหนุนให้เขามองเห็นศักยภาพตนเองให้หนักแน่นมากขึ้น เมื่อเด็กทำได้บ่อยๆ ก็จะภูมิใจในตนเองมากขึ้นๆ จนเกิดเป็นแรงจูงใจภายในว่า "ฉันสามารถ" หรือ "ฉันพยายามได้ดี"

3. เลี้ยงลูกให้มีวินัยเชิงบวก เด็กที่รู้เวลา รับผิดชอบกับเรื่องต่างๆในชีวิตตนเองได้ เช่น รู้จักกินข้าวเอง อาบน้ำเอง เก็บของเล่น ฯลฯ จะมีปัญหาเรียกให้มาทำการบ้านแล้วไม่มาน้อยกว่ามาก.....

ดังนั้น ผู้ปกครองต้องแก้ไขภาพรวมของการเลี้ยงดูที่บ้านด้วย เพราะหากมุ่งแก้แค่เรื่องการบ้าน จะไม่ค่อยสำเร็จ เพราะเด็กไม่มี mind set เรื่องความรับผิดชอบ....

4. พยายามเลี้ยงลูกให้อดทน ไม่รักสบาย การเสพสื่อ ไม่ว่าจะเป็นดูการ์ตูนหรือเล่นเกม อาจสนับสนุนให้ลูกรักสบายมากขึ้นได้ ควรดึงลูกมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ลงมือ ได้คิด ได้แก้ปัญหา ได้ออกแรง จะเป็นกิจกรรมในร่มหรือนอกอาคารก็ได้....

อย่าปล่อยให้ลูกนั่งแช่เก้าอี้ ก้มหน้าดูการ์ตูนจนติดความสบาย....

ปล. ระบบคะแนนสะสมไม่ใช่การล่อด้วยสิ่งของ มีการวางแผน มีการกำหนดระยะเวลาทำ ดังนั้นระวังการใช้ผิด ไม่มีการพูดเชิงขู่ ในผู้ที่เพิ่งทำระบบนี้ ไม่แนะนำให้หักคะแนน ก่อนใช้ระบบนี้ ควรสำรวจตาชั่งความสัมพันธ์ บ้านที่เลี้ยงลูกตามใจมากๆ ระบบนี้จะไม่ค่อยสำเร็จ ควรแก้เรื่องวินัยร่วมด้วย รบกวนอ่านรายละเอียดเทคนิคระบบคะแนนและอื่นๆ ในหนังสือ “ปราบลูกดื้อ รับมือลูกกินยาก”)