ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

กันการสแปม
คำนำหน้านามของผู้ชายไทยคือ


Verification:
Type the letters shown in the picture
Listen to the letters / Request another image

Type the letters shown in the picture:
ลูกของadminชื่ออะไร:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 26/02/25 »

พอร์ต PoE หรือ Power over Ethernet คืออะไร ?
ต่างจากพอร์ต LAN ธรรมดาอย่างไร ?
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยผ่านตา "พอร์ต PoE" หรือที่มีชื่อเรียกแบบเต็มยศว่า "Power over Ethernet" กันมาบ้าง คำนี้ปรากฏให้เห็นอยู่ในอุปกรณ์หลายอย่าง โดยระบุว่ามันรองรับ PoE ด้วย หรือไม่ก็อาจจะเห็นมันในเราเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายบางรุ่น

บทความเกี่ยวกับ Connector อื่นๆ
พอร์ต Thunderbolt คืออะไร ? และรู้จัก Thunderbolt 5 ที่มีแบนด์วิดท์สูงถึง 120 Gbps
Circular Connectors คืออะไร ? รู้จักขั้วต่อไฟฟ้าทรงกลม นิยมในอุตสาหกรรม
DisplayLink คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? และข้อดี และข้อเสียมีอะไรบ้าง ?
ต่อลำโพงคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตไหนดีที่สุด ? ระหว่าง AUX, RCA, S/PDIF, USB, TOSLINK และ HDMI
พอร์ต USB ในเราเตอร์ สามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
หน้าตาของเจ้าพอร์ต PoE นี้ เหมือนกับพอร์ต LAN ทุกประการ (มักจะอยู่ติดกันด้วย) คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัย คือ แล้วมันคือพอร์ตอะไร ? ต่างจากพอร์ต LAN ตรงไหน ? บทความนี้มีคำตอบให้ครับ :)

เนื้อหาภายในบทความ
Power over Ethernet (PoE) คือ อะไร ?
มาตรฐานของเทคโนโลยี Power over Ethernet (PoE)
อุปกรณ์สำหรับ Power over Ethernet (PoE) มีอะไรบ้าง ?
Power over Ethernet (PoE) แตกต่างกับ Powerline Ethernet อย่างไร ?



พอร์ต PoE หรือ Power over Ethernet คืออะไร ? ต่างจากพอร์ต LAN ธรรมดาอย่างไร ?
ภาพจาก : https://www.amazon.com/WS-GPOE-1-WM-Gigabit-Passive-Ethernet-Injector/dp/B00ENNUWO4

Power over Ethernet (PoE) คือ อะไร ?
Power over Ethernet หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า PoE เป็นรูปแบบหนึ่งของการจ่ายกระแสไฟฟ้า และเชื่อมต่อเครือข่าย ผ่านระบบสายในเครือข่าย มันมีมาตรฐานของมันไม่ต่างไปจากมาตรฐานของระบบ Wi-Fi โดยมีให้เลือกใช้งานอยู่หลายมาตรฐาน แน่นอนว่ามาตรฐานที่ใหม่กว่าย่อมรองรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงขึ้นกว่ามาตรฐานเก่านั่นเอง

PoE มีประโยชน์ในด้านการช่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการทำงานสูงมาก อย่างเช่นพวกกล้องวงจรปิด (CCTV), อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi (Wireless Access Points), โทรศัพท์, ระบบอินเทอร์คอม เป็นต้น

และด้วยเทคโนโลยี PoE ทำให้สายเพียงเส้นเดียวสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานได้ และยังช่วยเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบเครือข่ายได้อีกด้วย ตัวอย่างง่าย ๆ สมมติว่าคุณต้องการจะติดกล้องวงจรปิด พอติดตั้งกล้องเสร็จ หากคุณไม่มี PoE ล่ะก็ ... คุณจะต้องเดินสายไฟ ติดปลั๊กเพิ่ม หรือไม่ก็เลือกติดกล้องได้เฉพาะในจุดที่มีปลั๊กไฟเท่านั้น แต่พอมี PoE แค่สายเครือข่ายเส้นเดียวก็จบเลย

มาตรฐานของเทคโนโลยี Power over Ethernet (PoE)
Power over Ethernet (PoE) ในขณะนี้มีอยู่ 4 ประเภท สามารถดูรายละเอียดชื่อประเภท และคุณสมบัติการทำงานของมันได้จากตารางด้านล่างนี้เลยครับ

ชื่อ   มาตรฐาน
IEEE   จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้อุปกรณ์ได้   พลังงานไฟฟ้าสูงสุดต่อพอร์ต   Energized Pairs   อุปกรณ์ที่รองรับ
PoE   IEEE 802.3af
(Type 1)   12.95 วัตต์   15.4 วัตต์   2 คู่   กล้องวงจรปิด, โทรศัพท์แบบ VoIP, Wireless Access Points
PoE+   IEEE 802.3at
(Type 2)   25.5 วัตต์   30 วัตต์   2 คู่   กล้องสปีดโดม (PTZ), โทรศัพท์แบบ Video IP phones, สัญญาณเตือนภัย
PoE++   IEEE 802.3bt (Type 3)   51 วัตต์   60 วัตต์   4 คู่   อุปกรณ์ Video conferencing, Multi-radio Wireless Access Points
PoE++   IEEE 802.3bt (Type 4)   71.3 วัตต์   100 วัตต์   4 คู่   โน้ตบุ๊ก, หน้าจอแสดงผล
เทคโนโลยี PoE แบบเก่าจะเรียกว่า PoE Type 1 (IEEE 802.3af) และ PoE Type 2 (IEEE 802.3at) หรือที่เรียกว่า PoE+ ทั้งคู่จะมี Energized Pairs อยู่ 2 คู่ สำหรับใช้ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า โดย Type 1 จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด 15.4W ต่อพอร์ต ส่วน Type 2 จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด 30W ต่อพอร์ต

ในส่วนของเทคโนโลยี PoE แบบใหม่ IEEE 802.3bt ก็จะมีอยู่ 2 Type เช่นกัน คือ Type 3 และ Type 4

Type 3 นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อมาก ทั้ง 4-Pair PoE, 4PPoE, PoE++ หรือ UPoE โดยมันสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 60W เลยทีเดียว

สุดท้าย Type 4 ที่ออกแบบมาให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดมากถึง 100W

อุปกรณ์สำหรับ Power over Ethernet (PoE) มีอะไรบ้าง ?
อุปกรณ์ Power over Ethernet (PoE) ก็มีให้เลือกใช้งานอยู่หลายประเภทนะครับ สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้

PoE Ethernet Switches
PoE Ethernet Switches สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ที่รองรับ PoE ผ่านสาย Ethernet cable (หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าสาย LAN นั่นแหละ) โดยมันเองจะทำหน้าที่เหมือน PoE Injectors ด้วยในตัว

สวิตซ์ PoE หรือ PoE Ethernet Switches
ภาพจาก : https://th.aliexpress.com/item/32876992628.html

PoE Injectors
PoE Injectors มีความสามารถในการเพิ่มคุณสมบัติ PoE ให้กับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับ PoE ได้ และในทางกลับกัน มันก็อนุญาตให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่รองรับ PoE เข้ากับอุปกรณ์ที่ไม่มี PoE ได้ด้วย

PoE Injectors
ภาพจาก : https://www.shopat24.com/p/TP-Link-TL-PoE150S-PoE-Injector/358612/?

PoE Splitters
PoE Splitters ทำหน้าที่แยกสัญญาณ PoE ที่ได้รับมา เพื่อแบ่งสัญญาณของข้อมูล และพลังงานไฟฟ้า ออกจากกัน โดยแยกออกเป็นสองสาย เพื่อให้รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับเทคโนโลยี PoE

PoE Splitters
ภาพจาก : https://th.aliexpress.com/item/4000994057903.html

PoE Repeaters / PoE Extenders
ตามปกติแล้ว PoE จะสามารถส่งสัญญาณได้ไกลสุด 100 เมตร แต่ถ้าเราต้องการขยายระยะทางให้ไกลมากขึ้น ก็ต้องใช้ PoE Repeaters หรือ PoE Extenders มาช่วยทำงานด้วย

อุปกรณ์ขยายสัญญาณ PoE หรือ PoE Repeaters / PoE Extenders
ภาพจาก : https://www.amazon.com/Extender-Repeater-Supported-100Mbps-Ethernet/dp/B07RLFPVZM

PoE Media Converters
PoE Media Converters เป็นตัวแปลงสัญญาณจากสายไฟใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือสายทองแดง ไปเป็นสาย Ethernet โดยที่รองรับการใช้งานเทคโนโลยี PoE ด้วย

PoE Media Converters


Power over Ethernet (PoE) แตกต่างกับ Powerline Ethernet อย่างไร ?
Power over Ethernet (PoE) กับ Powerline Ethernet ชื่อมันมีความคล้ายคลึงกันมาก จนหลายคนอาจจะสับสนได้ แต่ความจริงมันเป็นเทคโนโลยีคนละชนิด และมีคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า PoE เป็นการเพิ่มระบบไฟฟ้าเข้าไปในระบบเครือข่ายผ่านสาย Ethernet แต่สำหรับ Powerline Ethernet มันตรงข้ามกันเลย โดยมันเป็นการเพิ่มระบบเครือข่ายเข้าไปในระบบสายไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม

Powerline Ethernet จะช่วยให้คุณวางระบบเครือข่ายแบบสาย โดยที่ไม่ต้องเดินสาย Ethernet เพิ่ม ในขณะที่ PoE เพิ่มระบบไฟฟ้าเข้าไปในเครือข่ายสาย Ethernet โดยที่ไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าเพิ่ม

พอร์ต PoE หรือ Power over Ethernet คืออะไร ? ต่างจากพอร์ต LAN ธรรมดาอย่างไร ?



ที่มา : www.howtogeek.com , en.wikipedia.org , www.black-box.de