ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 16/09/24 »ดิฉันอาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์ มีลูกชายอายุ 16 ปี ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็ก จนก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ดิฉันพบว่า สภาพสังคมที่ลูกเติบโตมา ต่างกับเด็กไทยอย่างสุดขั้ว
-เมื่อลูกเรียนชั้นประถม ต้องนำอาหารกลางวันไปทานเอง แต่โรงเรียนจะสั่งห้าม ไม่ให้เด็ก นำขนม ลูกอม ไปกิน แม้แต่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ก็ห้าม ของว่าง อนุญาตให้แต่ผลไม้ กับแครกเกอร์ เท่านั้น
ส่วนเรื่องการเรียน ในปีแรกของการเรียน (5 ขวบ) ลูกกลับบ้านมา พร้อมงานศิลปะ แทบทุกวัน อยู่โรงเรียน เน้น เล่น ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และวาดรูป …เด็กนักเรียนที่นี่ื เกือบ 100% ไปโรงเรียน ด้วยการขี่จักยาน ข้อดีของการขี่จักรยานคือ ฝึกความอดทน ประหยัด สุขภาพดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- พอลูกเข้าวัยมัธยม ก็ยังคงนำอาหาร มื้อกลางวันไปเอง เพราะ ประหยัด และเด็กทุกคนทำกันเป็นเรื่องปกติ…เมื่อ เดือน พค ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งประกาศห้าม นักเรียนนำโทรศัพท์มือถือไปโรงเรียน ข้อห้ามนี้ มีผลบังคับสำหรับ นักเรียนระดับ ประถม และมัธยม เด็กนักเรียนต้องปฏิบัติตามกฏนี้ ไม่มีดราม่าใดๆ เกิดขึ้นในสังคมที่คนส่วนใหญ่เคารพกฏหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อน่าสังเกตุคือ เด็กๆ ที่นี่ส่วนใหญ่ มีกิจกรรม การเล่นกีฬาที่ตัวเองชอบ อย่างน้อยคนละ 1 อย่าง ในทุกวันเสาร์ ทั้งวัน เราจะพบ เด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่ อยู่ตามชมรมกีฬาที่ตนเองสังกัด …ดังนั้น ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมประเทศเล็กๆ มีประชากรแค่ 17 ล้านคน แต่สามารถ ติดอันดับต้นๆ ในวงการกีฬาระดับโลกได้
ความน่าสนใจอีกอย่างคือ เด็กๆ ที่นี่ถูกสอนให้ตั้งคำถาม (Why) ให้หาคำตอบ ไม่ใช่ เชื่ออะไรโดยไม่คิด …จนบางครั่ง ดิฉันเองยังหงุดหงิดกับลูก และสามี ว่า “จะถามอะไรหนักหนา ทำๆ ตามไปเถอะ“ จุดนี้ ดิฉันทัศนคติไม่ดีเอง ยอมรับค่ะ
เรื่องความประหยัด จนชนชาติดัชท์ ถูกมองว่า ”ขี้เหนียว“ ที่สุดในโลก…เด็กที่นี่ พออายุ 16 ปี กฏหมายอนุญาตให้เริ่มทำงานพิเศษได้ พวกเขาก็จะเริ่มหางานพาร์ทไทม์ ต่อให้ครอบครัวมีฐานะแค่ไหน แต่พ่อแม่ ส่วนใหญ่ก็จะมี ”งบ“ ให้ลูก เช่น ถ้าอยากได้ของที่มีราคาสูง พ่อแม่ ออกให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ก็ต้องไปหาเงินมาเอง
สังคมที่นี่ ยิ่งรวย ยิ่งเก็บตัว ไม่โชว์รวย เพราะ กลัวการตรวจสอบเรื่อง ภาษี…ดังนั้น เวลาคนดัชท์ ส่วนใหญ่คุยกัน จะบ่นเรื่อง “ของแพง” เช่น สินค้าแบรนด์นี้ แพงไป ไม่คุ้มกับคุณภาพ..,แม้แต่งานวันเกิดดัชท์ ก็สังสรรค์กันแบบง่ายๆ เค็ก กาแฟ ของว่างเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีอาหาร…ถ้าจะไปงานวันเกิด เราต้องอิ่มไปจากบ้านของเราเองค่ะ
ร้านสะดวกซื้อ แบบ 24 ชั่วโมง ไม่มีในประเทศนี้ สมัยก่อน เคยมีค่ะ แต่เจ๊งไปแล้ว เพราะไม่มีลูกค้า เนื่องจาก คนที่นี่ ส่วนใหญ่ กิน นอน เป็นเวลา ไม่กินพร่ำเพรื่อ…เลยไม่ค่อยมีที่ให้ใช้เงิน แบบ non-stop ไปในตัว
เพราะความต่างกันสุดขั้วแบบนี้ ทำให้ดิฉันสงสัยว่า ทำไมฝรั่งหัวทอง ไม่แนะให้คนทั่วโลกใช้ชีวิตแบบพวกเขา เรื่องง่ายๆ แค่นี้เอง แต่กลับไปให้ราคากับ เรื่องที่ ”ธุระไม่ใช่“ เช่น สิทธิมนุษยชน หรือ ความไม่เป็นประชาธิปไตย ตามแบบที่ฝรั่งออกแบบไว้
แต่ดิฉันก็แอบดีใจนะคะ เมื่อได้ยินลูกชายพูดว่า ”มัม ระบบประชาธิปไตย จะได้ผลดี ก็ต่อเมื่อ ประชากรมีความคิดเป็นของตัวเอง ดังนั้น ในแต่ละประเทศ ควรออกแบบ ระบบการปกครองให้เหมาะสมกับคนในประเทศของตัวเอง“
รักคอมเม้นนี้ครับ
-เมื่อลูกเรียนชั้นประถม ต้องนำอาหารกลางวันไปทานเอง แต่โรงเรียนจะสั่งห้าม ไม่ให้เด็ก นำขนม ลูกอม ไปกิน แม้แต่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ก็ห้าม ของว่าง อนุญาตให้แต่ผลไม้ กับแครกเกอร์ เท่านั้น
ส่วนเรื่องการเรียน ในปีแรกของการเรียน (5 ขวบ) ลูกกลับบ้านมา พร้อมงานศิลปะ แทบทุกวัน อยู่โรงเรียน เน้น เล่น ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และวาดรูป …เด็กนักเรียนที่นี่ื เกือบ 100% ไปโรงเรียน ด้วยการขี่จักยาน ข้อดีของการขี่จักรยานคือ ฝึกความอดทน ประหยัด สุขภาพดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- พอลูกเข้าวัยมัธยม ก็ยังคงนำอาหาร มื้อกลางวันไปเอง เพราะ ประหยัด และเด็กทุกคนทำกันเป็นเรื่องปกติ…เมื่อ เดือน พค ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งประกาศห้าม นักเรียนนำโทรศัพท์มือถือไปโรงเรียน ข้อห้ามนี้ มีผลบังคับสำหรับ นักเรียนระดับ ประถม และมัธยม เด็กนักเรียนต้องปฏิบัติตามกฏนี้ ไม่มีดราม่าใดๆ เกิดขึ้นในสังคมที่คนส่วนใหญ่เคารพกฏหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อน่าสังเกตุคือ เด็กๆ ที่นี่ส่วนใหญ่ มีกิจกรรม การเล่นกีฬาที่ตัวเองชอบ อย่างน้อยคนละ 1 อย่าง ในทุกวันเสาร์ ทั้งวัน เราจะพบ เด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่ อยู่ตามชมรมกีฬาที่ตนเองสังกัด …ดังนั้น ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมประเทศเล็กๆ มีประชากรแค่ 17 ล้านคน แต่สามารถ ติดอันดับต้นๆ ในวงการกีฬาระดับโลกได้
ความน่าสนใจอีกอย่างคือ เด็กๆ ที่นี่ถูกสอนให้ตั้งคำถาม (Why) ให้หาคำตอบ ไม่ใช่ เชื่ออะไรโดยไม่คิด …จนบางครั่ง ดิฉันเองยังหงุดหงิดกับลูก และสามี ว่า “จะถามอะไรหนักหนา ทำๆ ตามไปเถอะ“ จุดนี้ ดิฉันทัศนคติไม่ดีเอง ยอมรับค่ะ
เรื่องความประหยัด จนชนชาติดัชท์ ถูกมองว่า ”ขี้เหนียว“ ที่สุดในโลก…เด็กที่นี่ พออายุ 16 ปี กฏหมายอนุญาตให้เริ่มทำงานพิเศษได้ พวกเขาก็จะเริ่มหางานพาร์ทไทม์ ต่อให้ครอบครัวมีฐานะแค่ไหน แต่พ่อแม่ ส่วนใหญ่ก็จะมี ”งบ“ ให้ลูก เช่น ถ้าอยากได้ของที่มีราคาสูง พ่อแม่ ออกให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ก็ต้องไปหาเงินมาเอง
สังคมที่นี่ ยิ่งรวย ยิ่งเก็บตัว ไม่โชว์รวย เพราะ กลัวการตรวจสอบเรื่อง ภาษี…ดังนั้น เวลาคนดัชท์ ส่วนใหญ่คุยกัน จะบ่นเรื่อง “ของแพง” เช่น สินค้าแบรนด์นี้ แพงไป ไม่คุ้มกับคุณภาพ..,แม้แต่งานวันเกิดดัชท์ ก็สังสรรค์กันแบบง่ายๆ เค็ก กาแฟ ของว่างเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีอาหาร…ถ้าจะไปงานวันเกิด เราต้องอิ่มไปจากบ้านของเราเองค่ะ
ร้านสะดวกซื้อ แบบ 24 ชั่วโมง ไม่มีในประเทศนี้ สมัยก่อน เคยมีค่ะ แต่เจ๊งไปแล้ว เพราะไม่มีลูกค้า เนื่องจาก คนที่นี่ ส่วนใหญ่ กิน นอน เป็นเวลา ไม่กินพร่ำเพรื่อ…เลยไม่ค่อยมีที่ให้ใช้เงิน แบบ non-stop ไปในตัว
เพราะความต่างกันสุดขั้วแบบนี้ ทำให้ดิฉันสงสัยว่า ทำไมฝรั่งหัวทอง ไม่แนะให้คนทั่วโลกใช้ชีวิตแบบพวกเขา เรื่องง่ายๆ แค่นี้เอง แต่กลับไปให้ราคากับ เรื่องที่ ”ธุระไม่ใช่“ เช่น สิทธิมนุษยชน หรือ ความไม่เป็นประชาธิปไตย ตามแบบที่ฝรั่งออกแบบไว้
แต่ดิฉันก็แอบดีใจนะคะ เมื่อได้ยินลูกชายพูดว่า ”มัม ระบบประชาธิปไตย จะได้ผลดี ก็ต่อเมื่อ ประชากรมีความคิดเป็นของตัวเอง ดังนั้น ในแต่ละประเทศ ควรออกแบบ ระบบการปกครองให้เหมาะสมกับคนในประเทศของตัวเอง“
รักคอมเม้นนี้ครับ