ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

กันการสแปม
คำว่า "การท่องเที่ยว" มีตัว "ท" อยู่ทั้งหมดกี่ตัว (ตอบเป็นตัวเลข)


shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: admin
« เมื่อ: 23/09/24 »

สวัสดีครับ ในบทความนี้ผมจะมาแชร์เรื่องที่สำคัญ ที่จะทำให้ Trader สามารถอยู่รอดในตลาดได้นานขึ้น ซึ่งการจะประสบความสำเร็จในการเป็น Trader มืออาชีพต้องมีหลายๆ ส่วนประกอบกัน และบทความนี้เป็นเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งผมได้ทดลองจากประสบการณ์การเทรดของตัวเอง นั่นก็คือ การออก Lot Size เพราะนี้คือปัจจัยแรกสุดที่จะเป็นตัวกำหนดว่า พอตของคุณจะแตกในกี่นาที หรือ กี่วัน การกำหนดขนาด Lot Size ในการเทรด Forex เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมันส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงและกำไร การคำนวณ Lot Size ที่เหมาะสมช่วยให้สามารถควบคุมการขาดทุนและรักษาทุนไว้ได้
***หากคุณเป็น Trader ที่ชอบวัดดวง ชอบลุ้นเหมือนการถูกหวย หรือ ชอบพนัน และความตื่นเต้นเร้าใจ บทความนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้มีความเป็นมืออาชีพในการเทรดมากยิ่งขึ้นก็ลองศึกษาจากบทความนี้ในเบื้องต้นก่อนครับ***
-------------------------------------------------------------------------
ทุกท่านมีวิธีการออก Lot Size กันอย่างไรบ้างครับ? หากคุณเป็น Trader มือใหม่ที่พึ่งเข้ามาในตลาดก็อาจจะยังไม่เข้าใจ ว่าการออก Lot Size สำคัญอย่างไร เพราะมันไม่มีกฏตายตัวว่าออกเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเหมาะสม
ผมเลยขอมาแชร์ 5 วิธีการออก Lot Size ให้มีประสิทธิภาพ เรียงลำดับตามความซับซ้อนของการคำนวณจากง่ายไปยาก ซึ่งทุกท่านสามารถเลือกใช้แต่ละวิธีตามสไลต์ที่ตัวเองชอบหรือวิธีที่เข้ากับแผนการเทรดของตัวเองได้เลยครับ
-------------------------------------------------------------------------
1. Fixed Lot Size by balance (การใช้ขนาด Lot คงที่ ตาม Balance ที่เติบโตขึ้นหรือลดลง)
แนวคิด: กำหนดขนาด Lot Size แบบคงที่ตาม Balance คือการที่เราจะสามารถเติบโตและคุ้นชินกับการวิ่งของเงินในพอตเมื่อเงินเยอะขึ้นหรือลดลง ขนาด Lot ที่ออกก็ค่อยๆ ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตาม Balance
วิธีการใช้: นำเงินทุน หรือ Balance / 10,000 โดยประมาณ เช่น Balance < 200 จะออก Lot Size เพียง 0.01 order เดียวเท่านั้น
Balance 100 ออก lot Size = 0.01
Balance 200 ออก lot Size = 0.02
Balance 900 ออก lot Size = 0.09
Balance 1000 ออก lot Size = 0.1
Balance 1100 ออก lot Size = 0.11
Balance 10,000 ออก lot Size = 1
Balance 10,100 ออก lot Size = 1.01
ข้อดี: ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ต้องคิดซับซ้อน ทำให้เราคุ้นชินกับขนาด lot ได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็น Trader ที่ค่อยๆ ปั้นพอตจากเล็กๆ ไปใหญ่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเติบโตได้อย่างมั่นคงมากๆ เพราะนอกจาก Balance ที่สูงขึ้น กับ ขนาด lot ที่สูงขึ้น จิตใจของคุณก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นตามไปด้วย อาการทนแดง ไม่ทนฟ้า จะหมดไป เพราะคุณจะชินความไวของเงินในพอตได้เป็นอย่างดี ไม่ปิดก่อน ไม่ทนลาก เล่นตามแผนได้อย่างมั่นคง
ข้อเสีย: ไม่ได้คำนึงถึงการจัดการความเสี่ยงตามทุนหรือความผันผวน การขาดทุนแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะการวาง SL ซึ่งบางครั้งระยะ SL ไกลก็จะทำให้ขาดทุนเยอะกว่าปกติ
-------------------------------------------------------------------------
2. Leverage-Based Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามเลเวอเรจ)
แนวคิด: ใช้เลเวอเรจที่มีให้ กำหนดขนาด Lot โดยคำนึงถึงกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากเลเวอเรจ เช่น ใช้เลเวอเรจ 1:100 จะทำให้สามารถเทรดในขนาดที่ใหญ่กว่าเงินทุนที่มี
วิธีการใช้: คำนวณกำลังซื้อโดยใช้เลเวอเรจที่มี ใช้ขนาด Lot ที่เหมาะสมตามกำลังซื้อนั้น
ข้อดี: เพิ่มขนาดการเทรดได้แม้มีทุนจำกัด
ข้อเสีย: มีความเสี่ยงสูงหากตลาดเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้าม
ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $1,000
เลเวอเรจ 1:100
หมายถึงสามารถเทรดได้ถึง $100,000 1 Lot ในคู่เงิน EUR/USD มี
มูลค่า $100,000 ดังนั้นสามารถเปิดตำแหน่งที่ 1 Lot ได้
ข้อแนะนำ: สำหรับวิธีนี้เน้นไปที่การออก Lot สูงสุดเท่าที่จะออกได้ คือการเล่นแบบไม่ต้องคำนวณ lot แบบ วิธีที่ 1 เพราะฉะนั้นความเสี่ยงจะสูงมาก สำหรับคนที่ไม่ชอบคำนวณออก lot ตามใจ ต้องเน้นไปที่การกำหนด ขนาดของ Leverage ระดับบัญชีแทน ซึ่ง สูงสุดไม่ควรเกิน 1:50 จะปลอดภัยในระดับนึง แก้อาการชอบ Overtrade ได้
-------------------------------------------------------------------------
3. Percentage Risk Per Trade (การกำหนดความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุน)
แนวคิด: กำหนด Lot Size โดยใช้เปอร์เซ็นต์ของทุนที่ต้องการเสี่ยงในแต่ละการเทรด เช่น 1% หรือ 2% ของทุนทั้งหมด
วิธีการใช้: กำหนดเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง (เช่น 1%) คำนวณจำนวนเงินที่พร้อมจะขาดทุนจาก Balance ใช้ระดับ Stop-Loss และความเสี่ยงต่อ pip เพื่อคำนวณขนาด Lot
ข้อดี: ควบคุมความเสี่ยงตามขนาดของทุนได้ดี
ข้อเสีย: ต้องมีการคำนวณที่ซับซ้อนเมื่อเปลี่ยนขนาด Stop-Loss ต้องคำนวณทุกครั้งที่ออก order จะพิจารณาทั้งระยะการวาง Stop-loss และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น 1% หรือ 2% เป็นต้น
ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
ความเสี่ยงที่ยอมรับ 1% ของทุน = $100
Stop-Loss = 50 pips , 1 pip = $1 , สำหรับ 0.1 Lot
ขนาด Lot = ความเสี่ยงที่ยอมรับของทุน /ระยะการวาง Stop-Loss /
10 สำหรับบัญชีมาตรฐานปกติ ($100 / 50 Pips / 10 = 0.2 lot)
-------------------------------------------------------------------------
4. Risk-to-Reward Ratio Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง)
แนวคิด: กำหนดขนาด Lot ตามอัตราส่วน Risk-to-Reward (เช่น 1:2 หรือ 1:3) โดยพิจารณาจากขนาด Stop-Loss และ Take-Profit ที่ต้องการ
วิธีการใช้: กำหนดอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง คำนวณ Stop-Loss และ Take-Profit คำนวณขนาด Lot ให้สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ข้อดี: ช่วยให้การเทรดมีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
ข้อเสีย: ต้องมีการวางแผนและคำนวณหลายส่วน
ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
อัตราส่วน Risk-to-Reward = 1:3
ความเสี่ยงที่ยอมรับ = $100
Take-Profit = 150 pips, Stop-Loss = 50 pips
ขนาด Lot = $100 / 50 pips / 10 = 0.2 Lot
-------------------------------------------------------------------------
5. Volatility-Based Lot Sizing (การกำหนด Lot ตามความผันผวนของตลาด)
แนวคิด: ปรับขนาด Lot ตามความผันผวนของคู่เงินในช่วงเวลานั้นๆ หากตลาดมีความผันผวนสูงจะใช้ขนาด Lot ที่เล็กลง และหากตลาดมีความผันผวนน้อยจะใช้ขนาด Lot ที่ใหญ่ขึ้น
วิธีการใช้: วัดความผันผวนของตลาด เช่น ใช้ ATR (Average True Range) เป็นตัวชี้วัด คำนวณความเสี่ยงต่อ pip และกำหนดขนาด Lot ตามความผันผวนที่วัดได้
ข้อดี: ปรับขนาดการเทรดตามความเสี่ยงของตลาดในขณะนั้น
ข้อเสีย: ต้องการการวิเคราะห์ความผันผวนและคำนวณ Lot ใหม่ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลาที่เทรด
ตัวอย่างการคำนวณ:
ทุน = $10,000
ATR แสดงความผันผวนเฉลี่ยต่อวัน = 100 pips
ความเสี่ยงที่ยอมรับ = $100
ขนาด Lot = $100 / 100 pips / 10 = 0.1 Lot
-------------------------------------------------------------------------
สรุป
การเลือกใช้วิธีการกำหนด Lot Size ควรสอดคล้องกับสไตล์การเทรดและการบริหารความเสี่ยงของคุณ โดยการใช้ Percentage Risk Per Trade และ Volatility-Based Lot Sizing มักจะเป็นวิธีที่นักเทรดมืออาชีพนิยมใช้เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
1. Fixed Lot Size by balance (การใช้ขนาด Lot คงที่ตาม Balance ที่เติบโตขึ้นหรือลดลง)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงหรือระยะการวาง SL วิธีนี้เพียงแค่กำหนด Lot Size คงที่ตาม Balance ทุกครั้งที่เทรด
ใช้งานง่าย: ไม่ต้องคำนวณซับซ้อน เพียงเลือกขนาด Lot ที่ต้องการตาม Balance ที่เปลี่ยนแปลง
2. Leverage-Based Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามเลเวอเรจ)
กำหนดขนาด Lot ตามเลเวอเรจที่มี วิธีนี้เข้าใจง่ายแต่ต้องระวังการใช้เลเวอเรจที่สูงเกินไป ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ใช้งานง่าย: ขึ้นอยู่กับการใช้เลเวอเรจที่มี แต่ไม่ต้องคำนวณซับซ้อน
3. Percentage Risk Per Trade (การกำหนดความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุน)
ต้องคำนวณความเสี่ยงที่ยอมรับได้จากทุนที่มีและความเสี่ยงต่อ pip ของคู่เงินที่เทรด แต่ยังคงเป็นระบบที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง
การใช้งานซับซ้อนปานกลาง: ต้องคำนวณขนาด Lot ตามเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงและจำนวน pip ระยะการวาง SL
4. Risk-to-Reward Ratio Lot Sizing (การใช้ขนาด Lot ตามอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง)
ต้องวางแผนการเข้าออกเทรดอย่างชัดเจน และคำนวณอัตราส่วน Risk-to-Reward ทำให้ซับซ้อนมากขึ้น แต่มีประโยชน์ในการรักษาความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
การใข้งานซับซ้อนปานกลาง: ต้องคำนวณทั้ง Stop-Loss, Take-Profit และ Lot Size ตาม Risk-to-Reward Ratio
5. Volatility-Based Lot Sizing (การกำหนด Lot ตามความผันผวนของตลาด)
วิธีนี้ซับซ้อนที่สุด เพราะต้องคำนวณความผันผวนของตลาด เช่น ใช้เครื่องมือ ATR และคำนวณ Lot Size ตามความผันผวนนั้น ทำให้วิธีนี้มีการวิเคราะห์ที่ละเอียดมากขึ้น
การใช้งานซับซ้อนสูง: ต้องใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่าง ATR และคำนวณขนาด Lot ให้เหมาะสมตามความผันผวน
-------------------------------------------------------------------------
การควบคุมความเสี่ยงจากการออก Lot Size เป็นเพียงปัจจัยนึงที่จะทำให้การเทรดของคุณมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ แก่ Trader ทุกท่านนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถทักมาพูดคุยหรือ Comment ได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ
No Risk , No Reward