ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี  (อ่าน 665 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี

หมอแนะ 9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ผลวิจัยชี้! ลูกเล่นมาก ยิ่งพัฒนาเซลล์ประสาทในสมอง

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เนื่องจากเด็กไทยมีอัตราเกิดลดลง การเลี้ยงดูต้องเน้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้เด็กที่เกิดในวันนี้มีศักยภาพ มีคุณค่าและมีความสุข คุณสมบัติสำคัญที่เด็กรุ่นใหม่ควรจะมีคือความคิด 3 ด้านบวก 1 ทำ คือคิดเป็น คิดดี คิดต่อยอด เพื่อรังสรรค์สิ่งใหม่และต้องทำเป็นด้วย

อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่น เล่น
การเลี้ยงลูกในวัยอายุต่ำกว่า 6 ขวบให้ได้ตามคุณสมบัติที่ว่า พ่อแม่ควรหันมาใส่ใจเรื่องการเล่นของเด็ก ไม่ว่าจะเล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อน เด็กจะทุ่มเทใจและจริงจัง เพราะการเล่นคือการทำงานของเด็ก เด็กจะคิด พลิกแพลงการเล่นตลอด ยิ่งเล่นมาก จะเกิดความชำนาญจากการค้นหา เปลี่ยน ปรับ แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ สะสมเป็นความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น

การวิ่ง
กระโดด
คืบคลาน
เล่นดิน
เล่นทราย
หยิบจับสิ่งของ
เล่นของเล่น
เล่นตุ๊กตา
เล่นตั้งเต
เล่นบล็อก
เล่นตัวต่อ
ยิ่งเด็กมีโอกาสเล่นมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับการพัฒนาเซลล์ประสาทในสมองที่มีนับแสนล้านเซลล์เชื่อมต่อกันเป็นร่างแห เด็กจะมีความสามารถในการคิด เรียนรู้ โดยเฉพาะการเล่นที่มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกันจะทำให้การเชื่อมโยงเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20-25

การเล่นของเด็กจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา อารมณ์และสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย พ่อแม่บางคนมีความคิดว่าการเล่นเป็นเรื่องไร้สาระ สิ้นเปลืองเวลา ความเชื่อเช่นนี้มีผลเสียต่ออนาคตลูกมาก นอกจากทำให้เด็กเครียด เบื่อหน่ายการเรียนแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่เกิดไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ กลายเป็นเด็กที่คิดไม่เป็น เมื่อโตขึ้นจะขาดโอกาสในการเป็นผู้นำด้วย

 

อ่าน วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี หน้าถัดไป
9 วิธี ช่วยพัฒนาความรู้ ความฉลาด ตั้งแต่เล็ก
พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ฐานความคิดของเด็กอายุ 3-5 ขวบมาจากจินตนาการ ซึ่งมีในเด็กทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่ต้องส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการเล่น

จัดมุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านหรือห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้วาดรูป ยิ่งมากยิ่งหลากหลาย เด็กจะสร้างสรรค์ได้มากเท่าที่จินตนาการจะพาไป การเล่นสวมบทบาทเป็นคนอื่นหรือตัวละครจากนิทาน การวาดรูป ระบายสี ปั้นแป้ง จะช่วยให้เด็กแสดงออกถึงความคิด
เล่นกับลูกเมื่อลูกชวนเล่นตามเรื่องที่เด็กสร้างขึ้น โดยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น เพื่อให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเป็นอิสระ หากพ่อแม่เป็นผู้นำการเล่นเอง จะขัดขวางจินตนาการของเด็ก
เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเล่นสร้างบ้าน เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เด็กรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นและปลอดภัย เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างบ้านแบบต่าง ๆ ที่เด็กฝันอยากจะมี
ส่งเสริมให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอิสระ เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ดินน้ำมัน หรือเล่นทราย ที่สามารถต่อหรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการอย่างไม่มีข้อจำกัด
เล่นเล่าเรื่องคนละประโยคหรือเล่นต่อเพลง เด็กจะได้รับการกระตุ้นให้คิด
พาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทะเล น้ำตก ป่า ความหลากหลายในธรรมชาติ มีทั้งพืช สัตว์ ก้อนหิน ดินทราย ถือเป็นครูทางจินตนาการของเด็ก ฝึกให้เด็กช่างสังเกต กระตุ้นความอยากในการเรียนรู้
ใช้หัวใจมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวลูก รักเขาตามที่เขาเป็น อย่าใช้ความคาดหวังของพ่อแม่ตัดสินลูกหรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กมีความพิเศษต่างกัน ที่สำคัญเด็กที่ฉลาด มักคิดต่างจากใคร ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่
สร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะได้ทั้งอาหารใจและยาบำรุงสมองชั้นดีด้วย
ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ
 

7 ข้อ ห้ามทำอย่างนี้กับลูกเด็ดขาด
ส่วนวิธีการเลี้ยงดูลูกที่พ่อแม่ไม่ควรนำมาใช้ เนื่องจากเป็นตัวการทำลายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในตัวลูก พญ.กุสุมาวดี แนะนำว่า

รักและปกป้องลูกมากเกินไป เช่น เลี้ยงแบบคุณหนู ไม่กล้าให้ลูกทำอะไร หรือตีกรอบให้ลูกทำตาม
บังคับขู่เข็ญ ดุดัน เจ้าระเบียบมากเกินไป
มองการกระทำหรือการเล่นของลูกเป็นเรื่องไร้สาระและน่ารำคาญ
เคี่ยวเข็ญเรื่องเรียน เร่งให้ลูกปฐมวัยอ่านออกเขียนได้เร็ว ๆ
เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเป็นเรื่องของเด็กดื้อ ต่อต้าน ไม่ฟังคำสั่ง
ไม่สนใจต่อความรู้สึกและความต้องการของลูก
ให้อิสระหรือตามใจลูกมากเกินไปจนขาดการสร้างวินัยและความรับผิดชอบ