File Format: PDF/Adobe Acrobat - Quick View
ระบบนอนลิเนียร์ในตัวเอง การท้างานสามารถควบคุมเทปได้อย่างน้อย 3 เครื่อง เพื่อตัดต่อแบบ A/B/C Roll .... (Pro) ไปแล้ว หากนับจากเวอร์ชั่น 6 จนถึงปัจจุบัน Adobe Premiere ...
ในความเปนจริงขั้นตอนในการสรางภาพยนตรมีหลายขั้นตอนมาก ... โดยจะยกตัวอยางความสามารถที่เปนจุดเดนบางตัวของ Premiere เชน ..... Counting Leader หรือตัวนับถอยหลังกอนที่จะมีการแสดงภาพยนตรหรือเลนคลิปทั่วไป โดยจะนับถอย ...
รวมทิปของโปรแกรมตัดต่อสื่อมัลติมีเดีย Premiere 2 Pro
ความรู้ทิปด้าน Premiere 2 Pro นี้เป็น Course ที่อบรมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาอบรม เชิงปฎิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ หลักสูตรคอมพิวเตอร์โปรแกรมผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์สำหรับอปท. (ใช้โปรแกรม Adobe Premiere 2 Pro) เป็นหลักสูตร 30 ชั่วโมง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ 2549
เมื่อเปิดโปรแกรมให้เลือก New Project (กรณีที่ยังไม่มี Project) หากมี Project อยู่แล้วให้เลือก Open Project แล้วเลือกไฟล์ Project นั้น
กรณีของ New Project ให้เลือกชนิดเป็น DV PAL 32khz ในช่อง Location ให้เลือกเป็น Folder ที่เราต้องการ Save งาน และช่อง Name ใส่เป็นชื่ออะไรก็ได้
เมื่อเข้าสู่หน้าจอโปรแกรมแล้วให้เลือก Import ไฟล์ VDO (นามสกุลเป็น WMA, WVI) หรือไฟล์ AUDIO (นามสกุล WAV หรือ MP3)
เมื่อได้รูปมาปรากฎที่หน้าต่าง Project ให้ลากไปยังหน้าต่าง Source เพื่อการตัดต่อ (หน้าต่าง Source สามารถเปิดใหม่ได้ที่เมนู Windows --> Workspace --> Editing) ส่วนล่างของหน้าต่าง Source จะมีปุ่ม Toggle Take Audio and Video ไว้ใช้เลือกว่าต้องการจะนำส่วนไหนลงไปที่หน้าต่าง Timeline อาจจะเป็นทั้งภาพและเสียง หรือภาพอย่างเดียว หรือเสียงอย่างเดียว
เมื่อ Set In - Set Out ภาพที่ต้องการได้แล้ว ให้ลากลงมายังหน้าต่าง Timeline : Sequence01 และภาพจะไปปรากฎที่หน้าต่าง Program
รูปที่ลากลงมาที่ Timeline สามารถคลิกขวาเพื่อเลือก Speed/Duration (หากเลือกค่า Speed มากกว่า 100 การเคลื่อนไหวของภาพจะเร็ว หากน้อยกว่า 100 การเคลื่อนไหวของภาพจะช้า ส่วนค่า Reverse เป็นการทำให้ภาพเดินถอยหลัง)
เมื่อตัดต่อ VDO เสร็จแล้ว ให้ Export เป็น Movie จะเป็นนามสกุล AVI
การแทรก Clip เมื่อเรา Set In - Set Out ที่หน้าต่าง Source แล้วก็ให้คลิกปุ่ม Insert
ในกรณีหากต้องการทับ Clip ให้ Set In - Set Out แล้วกดปุ่ม Overlay
ในกรณีจะแยกภาพและเสียงของ Clip ให้คลิกขวาที่คลิปนั้นแล้วเลือก Unlink ในกรณีจะรวม Clip ทั้งหมดให้กดปุ่ม Shift แล้วคลิกคลิปทั้งหมดแล้วคลิกขวาเลือก Group หากจะยกเลิกก็คลิกขวาเลือก Ungroup
ในกรณี Track ไม่พอ ให้คลิกขวาที่ Track Video อันใดอันหนึ่งแล้วเลือก Add Track (อาจะเลือกชนิดเป็นทั้ง Audio และ Video หรือเลือกอันใดอันหนึ่ง)
เมื่อสร้าง Title เสร็จแล้วหากต้องการนำกลับมาแก้ไข ให้ไปดับเบิ้ลคลิกที่ Clip Title ที่หน้าต่าง Project
เมื่อต้องการสร้างตัวอักษรแบบ Roll (ตัวอักษรจะเลื่อนขึ้นด้านบนอย่างต่อเนื่องเมื่อ Play) ให้คลิกปุ่ม Area Type Tool ให้คลิกคลุมจากบนลงล่าง แล้วคลิกปรับตำแหน่งตัวอักษรให้อยู่ตรงกลาง แล้วเลือกชนิดตัวอักษร เช่น Tahoma ให้เคาะ Enter เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ หากต้องการแทรกรูปให้คลิกขวาแล้วเลือก Logo หรือ Add logo intot Text หากจะให้แถวดำยาวขึ้น ให้เพิ่มค่าที่คำว่า High (อยู่หน้าต่าง Title Properties) เราสามารถใช้กดปุ่ม Selection เพื่อเลื่อนกรอบข้อความขึ้นหรือลง เมื่อปรับแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เคาะ Enter ที่บรรทัดสุดท้ายสัก 4-5 เคาะ จากนั้นเลื่อนกรอบข้อความไปยังด้านบนสุดให้เห็นบรรทัดแรก แล้วไปกดปุ่มคำว่า Roll แล้วเลือกชนิดเป็น Roll แล้วกดปิดหน้าต่าง Title
การแทรก Tone and Bar ให้ไปคลิกที่ New Item --> Tone and Bar
การแทรก Universal Counting Leading (จะแสดงเป็นตัวนับถอยหลัง) ให้ไปคลิกที่ New Item --> Universal Counting Leading
การแทรก Color Matte (สี Background) ให้ไปคลิกที่ New Item -->Color Matte เมื่อมี Color Matt ปรากฎที่หน้าต่าง Project ให้ลากไปที่หน้าต่าง Timeline และให้อยู่ซ้อนคนละ Video Track กับ Clip ของภาพ Video
การปรับ Motion (การขยายภาพ) ให้คลิกที่ Clip นั้นก่อน แล้วไปที่หน้าต่าง Source --> Effect เลือก Motion เลื่อนเส้น Timeline ไปยังตำแหน่งแรกที่ต้องการ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ Clip นั้น ให้เลือกค่าเป็น 0 กด Enter แล้วเลื่อนเส้น Timeline ไปยังตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการ เลือกค่าเป็น 100 แล้วกด Enter (การทำ Motion ไม่จำเป็นให้ตำแหน่งแรกเป็น 0 อาจจะเป็น 100 ก่อนก็ได้ และตำแหน่งสุดท้ายก็ให้กลับกันกับค่าแรก และหลักการทำ Motion ต้องคลิกปุ่มคล้ายนาฬิกาให้บุ่มลงไป)
การปรับ Opacity (ความสว่างของภาพ) ก็เหมือนกับการทำ Motion
การ Clear Set In -Set Out ที่หน้าต่าง Source ให้คลิกขวาแล้วเลือก Clear Clip Marker แล้วเลือกที่คำว่า In and Out
ที่หน้าต่าง Program จะมีปุ่ม Left และ Extrack ปุ่ม Left จะทำหน้าที่ตัด Clip ออก (ตามช่วง Set In- Set Out ที่เราทำหนดไว้) ส่วนปุ่ม Extrack จะเป็นการตัด Clip ตามช่วง Set In - Set Out และขยับ Clip ให้ติดกัน
เราสามารถสร้าง Effect ใส่ลงใน Clip โดยไปที่เมนู Windows --> Effect (หน้าต่าง Effect จะอยู่ใต้หน้าต่าง Project) ให้คลิกเลือกส่วนที่เป็น Video Transition แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการแล้วลาก ไปวางที่ Clip ที่ Video Track ที่ต้องการ
การลบ Clip ของ Video Transtion ให้คลิกที่ Clip นั้นแล้วกดปุ่ม Delete
การลบ Clip ของ Video Effect (เช่น Blur) ให้คลิกที่ Clip นั้นแล้วไปที่หน้าต่าง Source --> Effect คลิกขวาเลือก Clear
การเพิ่ม Sequence ให้ไปคลิกที่ New Item --> Sequence
เมื่อต้องการจะ Export เป็นไฟล์ WMV (เพื่อให้สามารถแสดงทางอินเตอร์เนท) ให้คลิกที่เมนู File --> Export --> Adobe Media Encoder
เลือก Format : WINDOWS MEDIA
เลือก Range : Entire Range
เลือก Preset : WM9 PAL 64K DOWNLOAD
การปรับแต่งเสียง เพื่อให้สะดวกในการปรับแต่งให้คลิกปุ่ม Set Display Style --> Show Name Only แล้วเลื่อนเส้น Timeline ไปยังจุดแรก แล้วไปที่หน้าต่าง Source --> Effect คลิกปุ่ม Add/ Remove Keyframe ปรับความดังเป็น 0 db จากนั้นเลื่อนเส้น Timeline ไปยังจุดสอง คลิกปุ่ม Add/ Remove Keyframe แล้วปรับ db ให้มากขึ้น หากจะเอาเส้นที่แสดงความสูงต่ำของ db ออกให้คลิกขวาเลือก Remove
หากต้องการ Export ไฟล์ให้เป็นภาพเพียงอย่างเดียวให้ไปที่ File --> Export --> Frame เลือก File Type เป็น GIF
การอัดเสียงลงในโปรแกรม Premiere ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รูปลำโพงที่ Systray แล้วคลิกเลือก File --> Properties --> ให้ติกถูกที่ช่อง Microphone แล้วเพิ่ม Volumn ให้มากขึ้น หากมีติกถูกที่คำว่า Mute ให้เอาออก จากนั้นให้คลิก File --> Advance Properties แล้วติกถูกที่คำว่า Boots..
วิธีการอัดเสียงให้เลื่อนเส้น Timeline ไปยังจุดเริ่มต้น คลิกแถวสว่างที่ Audio1 แล้วคลิกที่หน้าต่าง Mixer ให้เป็น Write คลิกปุ่มเหมือนไมโครโฟนที่ชื่อว่า Enable Tracks for recoring แล้วไปกดปุ่มวงกลมสีแดงที่เป็น Recoder แล้วกดปุ่ม Play ที่หน้าต่าง Program เมื่ออัดเสียงเสร็จเรียบร้อย เราจะได้ Audio เป็นนามสกุล WAV