ตามที่ประธานศาลฎีกามีนโยบาย “ที่พึ่ง เที่ยงธรรม เท่าเทียม ทันโลก” มุ่งเน้นให้ศาลยุติธรรมพร้อมเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งศาลจังหวัดสงขลาได้มีการแปลงนโยบายไปสู่แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1. ที่พึ่ง
ศาลจังหวัดสงขลาได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ด้านการบริการและข้อกฎหมายที่ควรรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยศาลจังหวัดสงขลาจัดโครงการและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์ภายในศาล การจัดทำสแตนดี้และไวนิลหน้าศาลประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
2. การประชาสัมพันธ์ภายนอกศาล
• โครงการเผยแพร่ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายและการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นศาลผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงจากทหารเรือ 6 สงขลา FM. 94.5 เม็กกะเฮิร์ต
• กิจกรรมร่วมเป็นวิทยากรในรายการ “ยินดีมีเรื่อง” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา เดือนละ 2 ครั้ง วันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน ประชาสัมพันธ์ “การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ที่พึงแรกของประชาชน ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา
• กิจกรรมเข้าร่วมการประชุมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องในการจัดการประชุมกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนของอำเภอรัตภูมิ
• กิจกรรม “นั่งรถไม้โบราณชมเมืองสงขลาประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง” แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
• การประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องถึงผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา
1.2 การจัดระบบและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องเป็นทางเลือก - เชิญชวนสถาบันการเงินใช้การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องโดยมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ให้ลูกหนี้ มีการเชิญชวนสถาบันเงินไป 2 แห่ง คือ สถาบันการเงิน (ผู้อำนวยการเขตควบคุมและบริหารหนี้ภาค 18 ธนาคารออมสิน) และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสงขลา จำกัด (ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสงขลา จำกัด)
- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ บริการเขียนคำร้อง
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยคอยให้คำแนะนำและบริการเขียนคำร้อง จำนวน 5 เรื่อง
- จัดระบบผู้ประนีประนอมที่มีความเชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
จัดทำทะเบียนคุมบัญชีผู้ประนีประนอม
1.3 พัฒนาช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยคำนึงถึงแนวคิด Justice by Design ยึดประสบการณ์ของผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง
- การลงพื้นที่ให้ความรู้กฎหมาย
ดำเนินการประชาสัมพันธ์ความรู้ทางด้านกฎหมายโดยการลงพื้นที่ ณ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา
- รายการวิทยุให้ความรู้กฎหมาย ผ่านทางสื่อวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุกระจายเสียงจากทหารเรือ 6 สงขลา คลื่นความถี่ 94.5 เม็กกะเฮิร์ต
- รายการโทรทัศน์ให้ความรู้กฎหมาย ผ่านรายการโทรทัศน์ รายการ “ยินดีมีเรื่อง” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(ช่อง 11 NBT SOUTH)
1.4 ลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคดีต่าง ๆ
- การจัดให้บริการที่ครบวงจรในจุดเดียว จัดตั้งศูนย์บริการศาลจังหวัดสงขลา (Songkhla Provincial Court Care Center)
1.5 มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในภาคส่วนอื่น
- มีการประสานความร่วมมือกับ พนักงานคุมประพฤติ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567
- มีการประสานความร่วมมือกับพนักงานราชทัณฑ์ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสงขลา สำนักงานบังคับคดี สำนักงานยุติธรรมประจำจังหวัด
- ประสานความร่วมมือกับพนักงานตำรวจในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา โดยทำหนังสือประสานขอความร่วมมือผ่านทางกลุ่มไลน์ฝากขัง ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566
- มีการประสานความร่วมมือกับสำนักงานอัยการจังหวัดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศสำนวนคดีศาลชั้นต้น(CIMS3) โดยอัตโนมัติตามแนวทางที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
1.6 ให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบและความปลอดภัยของศาล ได้แก่
การรายงานเหตุการณ์ไม่ปกติ ผ่าน Line Official Account “COJ Alerts”
- รายงานการจัดทำแผนและทบทวนแผนการรักษาความสงบและความปลอดภัยตามที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยกำหนด
จัดให้มีการจัดทำแผนและทบทวนแผนการรักษาความสงบและความปลอดภัย เป็นปัจจุบัน
- มีการซักซ้อมแผนความสงบและความปลอดภัยตามที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยกำหนด
การดำเนินงานร่วมกันในการรักษาความสงบร่วมกับตำรวจประจำศาลในการควบคุมจำเลยคดีร้ายแรงที่มีการนำตัวมาพิจารณาคดีในชั้นศาล จัดทำ โครงการ “ฝึกทบทวนบุคคลท่ามือเปล่าให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำศาลจังหวัดสงขลา”
1.7 ปฏิบัติงานตามมาตรฐานขั้นตอนและกรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานธุรการศาลชั้นต้นที่สำนักงานศาลยุติธรรมจัดทำไว้
1.8 จัดให้มีบริเวณและเครื่องอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับให้บริการผู้มาติดต่อราชการ
- ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- มีบริการรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
- จุดบริการน้ำดื่มฟรี
- ร้านอาหารสวัสดิการ
- ทางลาดชัน
- ลิฟต์โดยสารสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
- ห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
- ห้องละหมาด
- ห้องพักสำหรับอัยการ
- ห้องพักทนายความ
- จัดให้มีบริการเครื่องคอมพิวเตอร์
2. เที่ยงธรรม
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาให้ประชาชนได้รับทราบ ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของ Coj talk, Facebook ประชาสัมพันธ์ศาลจังหวัดสงขลา, line กลุ่มศูนย์บริการศาลจังหวัดสงขลาและกลุ่มศาลจังหวัดสงขลาประสานความร่วมมือทนายความ, ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณใน/นอกอาคารศาล, เสียงตามสายภายในศาล, รายการวิทยุ, รายการโทรทัศน์, ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดสงขลา และสแตนดี้
2.2 ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ
ประชาสัมพันธ์การอบรม Online แก่บุคลากรศาลจังหวัดสงขลา
- วิทยากรตัวคูณ โดยจัดให้มีการ KM ทุกเดือน ครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม 2566 หัวข้อ “การรับเงินค่าปรับอย่างไรให้ถูกต้อง”
2.3 ส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักถึงการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดำรงตนตามประมวลจริยธรรม
- จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม “โครงการธรรมะ ช่วยพัฒนางาน และพัฒนาคน”
2.4 ส่งเสริมให้ผู้เสียหายในคดีอาญาและผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ร่วมกันหาวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
- จัดให้มีการไกล่เกลี่ยในส่วนของค่าสินไหมทดแทน
2.5 พัฒนาการดำเนินการของศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญาให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจและความเสียหาย
- จัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาประจำศาลจังหวัดสงขลา
- จัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
3. เท่าเทียม
3.1 ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมด้วยมาตรฐานเดียวกัน
จัดทำทะเบียนคุมบัญชีล่าม
จัดขึ้นทะเบียนทนายความขอแรงประจำปี
- จัดให้มีจุดหรือห้องที่ทนายความอาสาเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
- จัดให้มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
3.2 พัฒนามาตรฐานการปล่อยชั่วคราวเพื่อประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
จัดทำบัญชีรายชื่อผู้กำกับดูแลในแต่ละอำเภอในจังหวัดสงขลา
4. ทันโลก
4.1 มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีบริหารจัดการคดี
- ยื่นฟ้องทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing)
- ใช้ระบบสารสนเทศสำนวนคดีศาลชั้นต้น ระยะที่ 3 (CIMS-3)
- บริหารจัดการคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางคำแนะนำของประธานศาลฎีกา
- ศูนย์ประสานงานคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ประจำศาลจังหวัดสงขลา
4.2 ส่งเสริมให้ผู้พิพากษา บุคลากร และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความรู้ความเข้าใจแนวทางดำเนินการของสำนักงานศาลยุติธรรม
จัดอบรมแก่บุคลากรศาล โดยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ได้แก่ หลักสูตร “การใช้งานระบบสารสนเทศสำนวนคดีศาลชั้นต้น ระยะที่ 3 หลักสูตร “การใช้ Google meet เพื่อการประสานงานคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์” และหลักสูตร “ถก ไม่ เถียง การปฏิบัติงานทางธุรการเกี่ยวกับคดีที่พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลจังหวัดสงขลา”
“ระบบบริการจัดการเอกสารราชการ Government Document Management System (GDMS)
สนับสนุนให้บุคลากรใช้โปรแกรม DPIS
5. ส่งเสริมสนับสนุนวิธีการทำงานอย่างมีความสุข
มีการประชุมหัวหน้าส่วนและบุคลากรภายในศาล
มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายงาน
จัดให้มีโครงการสวัสดิการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร
จัดให้มีโครงการ “เสวนาพัฒนางาน “สภากาแฟ”
ระบบบริการจัดการเอกสารราชการ Government Document Management System (GDMS)
ตรวจเช็คสุขภาพของบุคลากรของศาลจังหวัดสงขลา จัดโครงการตรวจสุขภาพประจำปี 2567
ส่งเสริมกิจกรรมลดความเครียด โดยการยืดเส้น ยืดสาย ขยับกาย สลายความเครียด ทุกเช้า (เวลา 08.30 น.) วันอังคาร และวันพฤหัสบดี
- มีพื้นที่สันทนาการหรือพักผ่อนหย่อนใจสำหรับบุคลากร บริเวณสนามเปตอง และจัดโต๊ะปิงปอง
การเพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการจัดสวนหย่อมเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
การจัดการคัดแยกขยะ โดยจัดทำถังขยะจากวัสดุเหลือใช้ซึ่งประกอบขึ้นเอง