ผู้เขียน หัวข้อ: ไทม์ไลน์ แจ๊ค หม่า สร้างอาลีบาบา ก่อนถึงจุดเปลี่ยนถูกปรับเกือบแสนล้าน  (อ่าน 394 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

banrong

  • Administrator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 350
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
ไทม์ไลน์ แจ๊ค หม่า สร้างอาลีบาบา ก่อนถึงจุดเปลี่ยนถูกปรับเกือบแสนล้าน

ช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว ทั่วโลกเริ่มรับมือกับโควิด-19 ระบาดระลอกแรกอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยมีผู้ติดเชื้อช่วงนั้นประมาณ 3 ล้านคน แต่ตัวเลขเพียงเท่านั้น ก็สร้างความสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ช่วงเวลานั้นหากยังจำกันได้ มหาเศรษฐีโลกชาวจีน แจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อาลีบาบา Alibaba.com ได้ออกมาเป็นคนแรกๆ ที่ประกาศให้ความช่วยเหลือเท่าที่คนมีฐานะร่ำรวยพอจะทำได้ เช่น การบริจาคหน้ากากอนามัย และเครื่องมือแพทย์ไปให้หลายประเทศ

ส่วนปีนี้ มียอดผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 135 ล้านคน แต่ความเคลื่อนไหวของแจ๊ค หม่า เงียบสนิท ทั้งในการออกมาทำกิจกรรมทางสังคม และทางธุรกิจ ท่ามกลางวิกฤติที่อาลีบาบากำลังเผชิญกับมาตรการการกดดันต่างๆ จากทางการจีน

ความเงียบงันของ แจ๊ค หม่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเขาหายหน้าไปจากแวด วง ต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาแล้ว หลังจากวิจารณ์ถึงระบบการกำกับดูแลระบบการเงิน และการเปิดกว้างในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ของทางการจีน

ว่ากันว่าการวิจารณ์ครั้งนั้นสร้างความไม่พอใจแก่รัฐบาลจีน แต่ยังไม่มีใครยืนยันว่าจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ธุรกิจของเขาเริ่มสั่นคลอนจากการจัดการของทางการจีน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่าสุด ทางการจีนได้สั่งปรับอาลีบาบา 18,230 ล้านหยวน หรือประมาณ 87,500 ล้านบาท  คิดเป็น 4% ของรายได้ปี 2562 หลังจากถูกไต่สวนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ในข้อหาผูกขาดทางการค้า ที่ให้คู่ค้าเลือกอยู่กับอีคอมเมิร์ซได้แพลตฟอร์มเดียว

เป็นเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับอาลีบาบา นับตั้งแต่ก่อตั้งธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2542 ทั้งที่อาลีบาบา ได้สร้างชื่อเสียงให้วงการเทคโนโลยีสตาร์ทอัพของจีนจน แจ๊ค หม่า กลายเป็นแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่จำนวนมากทั่วโลก

ยิ่งย้อนไปดูไทม์ไลน์ของแจ๊ค หม่า และความสำเร็จของอาลีบาบาแล้ว ยิ่งไม่น่าเชื่อว่า เป็นเพราะแค่การวิจารณ์หรือ เขาจึงโดนขนาดนี้

มาทบทวนความยิ่งใหญ่ของอาลีบาบากันอีกครั้ง ที่ข้อมูลหลายช่วงเวลาได้ถูกระบุในไทม์ไลน์ในเว็บไซต์ alibaba.com โดยเริ่มจาก สิบปีแรกของอาลีบาบานั้น ถือว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากเดือนเมษายน 2542 คุณครู แจ๊ค หม่า ที่ผ่านการหางานมาหลายสิบแห่ง แต่ไม่มีใครรับเข้าทำงานในเวลานั้น นำทีมผู้ร่วมก่อตั้ง 18  คน โดยเลือกสถานที่อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่ง เปิดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อาลีบาบา

จากนั้นปีต่อมาในเดือนมกราคม 2543 แจ๊ค หม่า ก็ดึงทุนญี่ปุ่น ซอฟต์แบงก์ มาร่วมลงทุนได้โดยคิดเป็นเงินไทยมูลค่า 600 ล้านบาท 4 ปี ต่อมาอาลีบาบา ก่อตั้งธุรกิจรับชำระเงินอาลีเพย์ และเดือนสิงหาคม 2548 ยาฮูทุ่ม 30,000 ล้านบาท เพื่อเข้ามาถือหุ้นในอาลีบาบา 40%

ช่วงต่อมาคือการขยายความยิ่งใหญ่ไปสู่ตลาดโลก โดยเดือนกันยายน 2555 อาลีบาบาซื้อหุ้นคืนจากยาฮู มูลค่าสูงถึงกว่า 2.2 แสนล้านบาท และเดือนกันยายน 2557 เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐฯ ระดมเงินได้ถึง 750,000 ล้านบาท เดือนตุลาคม 2557 เข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน ฟินเทค ในชื่อ แอนท์ กรุ๊ป  ในเดือนเมษายน 2559 ซื้อกิจการวิดีโอ ออนไลน์ ยูกู และลาซาด้า อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในตลาดอาเซียน

ในปี 2560 เดือนมิถุนายน ประกาศตั้ง Tmall รองรับตลาดออนไลน์นอกประเทศจีนกว่า 100 ล้านแห่งทั่วโลก

ส่วนความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาเฉพาะตัวของ แจ๊ค หม่า เองนั้น คือวันที่ 10 กันยายน 2561 เขาได้เกษียณตัวเองในวัย 54 ปี จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2563 แจ๊ค หม่า ขายหุ้นที่ถืออยู่ มูลค่า 9,600 ล้านเหรียญสหรัฐ จนเหลือหุ้น 4.8% จากเดิมมี 6.4% โดยไม่ได้ชี้แจงเหตุผล

ในเดือนตุลาคม 2563 แจ๊ค หม่า ได้วิจารณ์ถึงระบบกำกับดูแลของจีน ที่ไม่ได้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จากนั้นในช่วงที่อาลีบาบาควรเติบโตต่อ ก็ต้องสะดุดลง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ แอนท์ กรุ๊ป ถูกระงับการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกับที่ แจ๊ค หม่า เริ่มหายหน้าไป ก่อนที่เดือน มกราคม 2564 ได้มาปรากฏตัวผ่านวิดีโอคอล กับครูชนบท

เหมือนวิบากรรมที่อาจเกิดจากการแสดงความคิดเห็นเพิ่งเริ่มต้น เพราะในวันที่ 10 เมษายน 2564 หลัง อาลีบาบา ถูกตั้งข้อหาและถูกไต่สวนกรณีผูกขาดทางการค้า ที่ให้คู่ค้าเลือกขายสินค้าได้แพลตฟอร์มเดียว ทางการจีนได้สั่งปรับ 18,230 ล้านหยวน หรือประมาณ 87,500 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของรายได้ปี 2562

และในเวลานี้ แจ๊ค หม่า ยังคงเงียบเหมือนหลายเดือนที่ผ่านมา โดยที่ยังไม่รู้ว่ามาตรการของทางจีนต่ออาลีบาบาจะสิ้นสุดเมื่อไร