สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ
1. ด้านอาคารสถานที่ทำการศาล และบ้านพักราชการ
1.1อาคารอยู่ร่วมกับหน่วยงานอื่น มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้ด้วย ทำให้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรนั้นไม่เพียงพอ และสถานที่ทำงานคับแคบ ไม่เพียงพอกับบุคลากรที่ต้องอยู่ร่วมกันในจำนวนมาก ขาดสมาธิในการทำงาน สำหรับหน่วยงานที่ไม่ใช่เจ้าของสถานที่การปฏิบัติงานอาจอึดอัด ไม่เป็นเอกเทศ
1.2 ยานพาหนะ ศาลจังหวัดสงขลาได้รับจัดสรรรถยนต์ตู้ส่วนกลางเพียง 1 คันแต่บุคลากรในหน่วยงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันมีประมาณ 90 คน คนขับรถมีเพียง 1 คนซึ่งการทำงานในปัจจุบันต้องให้คนขับรถปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ด้วย หากออกนอกพื้นที่,ไปราชการจัดงาน,กิจกรรมนอกสถานที่ , ปฏิสัมพันธ์ทางด้านงานคดี การบริการประชาชนบ่อยๆ มีการใช้รถยนต์ตู้ขนสัมภาระและบุคลากร ซึ่งไม่เพียงพอทำให้ต้องยืมรถยนต์จากหน่วยงานอื่น และบางครั้งก็ไม่ได้เพราะหน่วยงานอื่นก็มีความจำเป็นต้องใช้งานเหมือนกัน ก็จะทำให้การเบิกจ่าย ,การปฏิบัติงานการเงิน การคลัง พัสดุ ล่าช้าไปมาก
ข้อเสนอแนะ
1. น่าจะจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 จัดสร้างอาคารเพื่อเชิดหน้าชูตา และเป็นเอกเทศ ให้เหมาะสมมากกว่านี้
2. จัดสรรคนขับรถในลักษณะลูกจ้างชั่วคราว เพิ่มเติมอีก 1 อัตรา
จัดสรรรถยนต์รถยนต์ตู้ หรือรถยนต์กระบะ อีก 1 คัน
2. ด้านบุคลากร
อัตรากำลังข้าราชการศาลยุติธรรมมีไม่เพียงพอ เนื่องจากสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ได้จัดสรรอัตรากำลังสำหรับการปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 ขาดอัตรากำลังผู้พิพากษา จำนวน 1 คณะ
2.2 บุคลากรส่วนคลังตามกรอบอัตรากำลังมีเพียง 4 คน แต่วิธีการขั้นตอนกระบวนการทำงานการเงิน บัญชี และพัสดุ นั้นมีขั้นตอนที่ทำหลายขั้นตอน มีการรายงาน ทางการเงินบัญชีและพัสดุ ต้องปฏิบัติงานด้านงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ มีการจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบ ครุภัณฑ์ จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน อีกทั้งยังต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินในสำนวนคดีด้วย มีการใช้ระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตบ่อยครั้ง เมื่อเทียบกับงานด้านอื่น งานส่วนคลังเป็นงานที่หนักมาก และบุคลากรน้อยกว่าปริมาณงานมาก
ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรทางการเงินขอเปลี่ยนสายงานเพราะสภาพการ
ทำงานหนักเกินไป สภาพจิตใจขาดความเชื่อมั่นกับระบบ มีแต่การกำหนดเรื่องโทษและวินัย ทางการเงินการคลัง ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ทั้งมีปัญหาด้านครอบครัวและสุขภาพ
2.3 นิติกร สำหรับปฏิบัติงานในส่วนของงานบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีนายประกัน และนิติกรสำหรับปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาล นิติกรชำนาญการพิเศษสำหรับหัวหน้าส่วนไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทยังไม่ได้รับจัดสรรอัตรากำลัง
2.4 เจ้าพนักงานคดี สำหรับปฏิบัติงานในส่วนคดีเพื่อรองรับคดีผู้บริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
2.5 เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม สำหรับปฏิบัติงานในส่วนคดี งานอุทธรณ์ ฎีกา และงานเก็บสำนวนคดีแดง
2.6 บรรณรักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดศาล เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำห้องสมุดศาล
2.7. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศของศาล
ข้อเสนอแนะ
1. เห็นควรเพิ่มอัตรากำลังผู้พิพากษา จำนวน 1 คณะ
2.เพิ่มอัตราบุคลากรด้านส่วนคลังโดยเฉพาะในศาลใหญ่
3.คัดเลือกบุคลากรที่จะมาทำงานการเงิน บัญชีและพัสดุ โดยมีมาตรฐานการคัดเลือกให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรนั้นๆทำงานได้ ไม่เป็นภาระของหัวหน้าส่วน หรือบุคลากรในส่วนมากนัก เช่น การรับโอนจากหน่วยงานอื่น ต้องมีการทดสอบความรู้
ความสามารถ
4. เห็นควรจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มเติมให้แก่ศาลจังหวัดสงขลาตามเหตุผลและความจำเป็นที่กล่าวมาข้างต้น
3. ด้านระบบงาน และเทคโนโลยี
1. ด้านระบบงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศาลจังหวัดสงขลาเป็นศาลที่ใช้มาตรฐานการจัดการงานธุรการ (JSO) ในการบริหารงานธุรการของศาล ทำให้เกิดปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการอบรมเป็นผู้ประสานงานตามมาตรฐาน และบุคลากรที่มีความรู้และเข้าใจในระบบดังกล่าวได้โยกย้ายไปดำรงตำแหน่งยังศาลอื่น ๆ และผู้ที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนกันยังไม่ค่อยเข้าใจในระบบ ทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าวพอสมควร
- ศาลจังหวัดสงขลาเพิ่งใช้โปรแกรมบริหารข้อมูลคดีของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศแทนโปรแกรมสำเร็จรูปที่ศาลจังหวัดสงขลาใช้อยู่เดิม ทำให้มีปัญหาในการปรับใช้งานโปรแกรมใหม่ในรายละเอียดบางส่วน
ข้อเสนอแนะ
1. เห็นควรให้มีการจัดอบรมทบทวนเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการงานธุรการ (JSO) แก่บุคลากรของหน่วยงาน
2. เห็นควรให้มีการสำรวจความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อการใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานต่าง ๆ
3. เห็นควรให้มีการอบรมเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลคดีของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่เจ้าหน้าที่โดยให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์จากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นวิทยากรเพื่อแก้ไขปัญหาบ่อย ๆ
4. จัดโครงการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานยุติธรรมในเขตจังหวัดสงขลา
4 ด้านการเงิน และงบประมาณและพัสดุ
ผลดำเนินงานโครงการก่อสร้าง กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาล สถานที่และบ้านพัก
1. โครงการก่อสร้างบ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ศาลจังหวัดสงขลา วงเงิน 2,250,000 บาท (เงินค่าธรรมเนียมศาลฯ) อยู่ระหว่างประกาศประกวดราคา ครั้งที่ 2 เนื่องจากประกาศประกวดราคาครั้งแรกไม่มีผู้เข้ายื่นซองเอกสารประกวดราคา
2. โครงการก่อสร้างบ้านพักผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา จำนวน 1 หน่วย และก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ จำนวน 16 หน่วย พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงิน ทั้งสิ้น 45,750,000 บาท (เงินค่าธรรมเนียมศาลฯ) ได้รับจัดสรรแล้วปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 36,600,000 บาท และอยู่ระหว่างรวบรวมเม็ดเงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 9,150,000 บาท โดยกองบริหารทรัพย์สินเป็นหน่วยจัดซื้อจัดจ้างและศาลจังหวัดสงขลาเป็นหน่วยเบิกจ่าย
3. งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลจังหวัดสงขลา(เบื้องต้น) วงเงิน 130,400 บาท และงาน ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักข้าราชการตุลาการ จำนวน 9 หลัง วงเงิน 175,300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 305,700 บาท (จากวงเงินที่กำหนดไว้ที่ภาค 9 ) โดยได้ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมแล้วเสร็จ
4. งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลจังหวัดสงขลา (กรณีได้รับความเสียหายจากวาตภัยและ- อุทกภัย) วงเงิน 18,229,000 บาท (งบประมาณจากเงินทุนสำรองจ่าย) ได้ดำเนินการจัดจ้างแล้วเสร็จ โดยสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 เป็นหน่วยจัดจ้างและศาลจังหวัดสงขลาเป็นหน่วยเบิกจ่าย
5. งานปรับปรุงซ่อมแซมห้องควบคุมผู้ต้องหา/จำเลย วงเงิน 277,720 บาท งานปรับปรุงรั้ว ตาข่ายที่กั้นบริเวณทางเดินผู้ต้องหา/จำเลย วงเงิน 339,000 บาท และงานปรับปรุงซ่อมแซมบริเวณหน้าห้องควบคุมผู้ต้องหา/จำเลย วงเงิน 282,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 898,720 บาท (เงินงบประมาณ) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีสอบราคา
ผลดำเนินงานกิจกรรมจัดซื้อครุภัณฑ์
1. จัดซื้อเครื่องปรับอากาศ วงเงิน 3,886,600 บาท (เงินงบประมาณ) เนื่องจากได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีรายการเครื่องปรับอากาศอยู่ในรายการของงานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลจังหวัดสงขลา (กรณีได้รับความเสียหายจากวาตภัยและอุทกภัย) ตามที่ได้รับจัดสรรวงเงิน 18,229,000 บาท (งบประมาณจากเงินทุนสำรองจ่าย) ศาลจังหวัดสงขลาจึงได้มีหนังสือแจ้งไม่ประสงค์ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 3,886,600 บาท ไปยังสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 แล้ว
2. จัดซื้อเครื่องถ่ายเอกสารความเร็ว 30 แผ่น/นาที วงเงิน 120,000 บาท (เงินค่าธรรมเนียม-ศาลฯ) ได้ดำเนินการจัดซื้อแล้วเสร็จ
3. จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องเรือนประจำบ้านพักข้าราชการตุลาการ ตามรายการดังนี้
- เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติขนาดไม่ต่ำกว่า 150 วัตต์ พร้อมค่าติดตั้ง จำนวน 16 ชุด ราคาชุดละ
7,000 บาท เป็นเงิน 112,000 บาท
- เครื่องทำน้ำอุ่น พร้อมค่าติดตั้ง จำนวน 16 ชุด ราคาชุดละ 6,000 บาท เป็นเงิน 96,000
บาท
- โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ จำนวน 16 เครื่อง ราคาเครื่องละ 900 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
- ผ้าม่านบ้านพักผู้พิพากษา จำนวน 1 หน่วย เป็นเงิน 30,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 252,400 บาท (เงินงบประมาณ) ได้ดำเนินการจัดซื้อแล้วเสร็จ
4. ตู้คอนเทนเนอร์แบบสโตร์ ขนาด 2.40x12.00 เมตร พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 4 ตู้ ราคาตู้ละ 310,000 บาท เป็นเงิน 1,240,000 บาท (เงินงบประมาณ) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ
5. เครื่องสูบน้ำชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า สูบน้ำได้ 1,500 ลิตร/นาที จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 20,000 บาท (เงินงบประมาณ) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ
6. เครื่องสูบน้ำชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า สูบน้ำได้ 450 ลิตร/นาที จำนวน 3 เครื่องราคาเครื่องละ 11,000 บาท เป็นเงิน 33,000 บาท (เงินงบประมาณ) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ
7. ตู้เหล็กบานเลื่อน 2 ตอน จำนวน 20 ชุด ราคาชุดละ 9,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท (เงินงบประมาณ) ) เนื่องจากได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีรายการตู้เหล็กบานเลื่อน 2 ตอน อยู่ในรายการของงานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลจังหวัดสงขลา (กรณีได้รับความเสียหาย- จากวาตภัยและอุทกภัย) ตามที่ได้รับจัดสรรวงเงิน 18,229,000 บาท (งบประมาณจากเงิน-ทุนสำรองจ่าย) ศาลจังหวัดสงขลาจึงไม่ประสงค์ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 180,000 บาท ซึ่งจะได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 ต่อไป
รายการครุภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับจัดสรร
1. ครุภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัย
- ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จำนวน 32 กล้อง
- ระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออก ด้วยการสแกนลายนิ้วมือ จำนวน 13 ชุด
สำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกประกาศประกวดราคาแล้วตามประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่องประกวดราคาจัดซื้อครุภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยของศาลจังหวัดสงขลา จำนวน 1 ระบบ ฉบับลงวันที่ 16 กันยายน 2553 และได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อซื้อครุภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยของศาลจังหวัดสงขลา จำนวน 1 ระบบ ตามคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ 879/2553 ลงวันที่ 16 กันยายน 2553
ต่อมาสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกประกาศยกเลิกการประกวดราคา เนื่องจากรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน ไม่สมบูรณ์ ตามประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม ฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2553
5. ด้านอื่นๆ
1. ด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการรักษาความปลอดภัย
- อาคารที่ทำการศาลไม่มีทางเดินสำหรับผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องหาแยกต่างหากจากบุคคลทั่วไป ทำให้ยากแก่การดูแลรักษาความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ศาลและประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการ
- อัตรากำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ปฏิบัติงานประจำศาลมีเพียง 10 นาย ไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาความปลอดภัยใน บริเวณศาล
ข้อเสนอแนะ
1. เห็นควรจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารที่ทำการศาลให้มีทางเดินสำหรับผู้ต้องขังหรือผู้ต้องหาแยกต่างหากจากบุคคลทั่วไปและเจ้าหน้าที่ศาล
2. เห็นควรจัดจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลจังหวัดสงขลาเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 นาย
2.เนื่องจากศาลจังหวัดสงขลาตั้งอยู่ในพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) เมื่อถึงฤดูมรสุม ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม ของทุกปี ลมมรสุมจะพัดละอองน้ำทะเลเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดสะเก็ดเกลือ เกาะอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจอาวุธ ตลอดจนอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในอาคารศาลชำรุดบ่อย ทำให้ศาลจังหวัดสงขลาต้องซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้บ่อย จึงจำเป็นต้องทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณด้านซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนสูง
3. ศาลจังหวัดสงขลามีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย และประชากรที่มาติดต่อราชการศาล ส่วนหนึ่งเป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งใช้ภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกันกับพื้นที่จังหวัดอื่น รวมถึงศาลจังหวัดสงขลาได้พิจารณาคดีความมั่นคงหลายคดี แต่บุคลากรส่วนใหญ่ในศาลไม่เข้าใจภาษาตลอดจนขนบธรรมเนียบประเพณีของชาวมุสลิม จึงทำให้สื่อสารเข้าใจกันยาก และปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานเป็นล่ามแปลภาษามาลายูเพียงคนเดียว ทำให้ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่ เห็นควรให้จัดสรรล่ามเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง และจัดอบรมให้ความรู้ด้านภาษามาลายูกับเจ้าหน้าที่ศาลเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการศาล
:'( :'(