ผู้เขียน หัวข้อ: ประกาศด่วน ..กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการอบรมภาษามาลายู ( ยาวี ) 6-8/1/58  (อ่าน 978 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2590
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
ประกาศ ด่วน ..ศาลจังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ " โครงการอบรมภาษามาลายู  ( ยาวี )

วันที่  13 - 15  มกราคม  ๒๕๕๘    ณ  ห้องประชุมศาลจังหวัดสงขลา
-----------------------------
วันที่ 13  มกราคม  ๒๕๕๗
๑๖.๓๐ น.- ๑๖.๔๕ น.         –  พิธีเปิด
๑๖.๔๕ น.- ๒๐.๓๐ น.         –  อบรม

-----------------------------
วันที่ 14  มกราคม  ๒๕๕๗
๑๖.๓๐ น.- ๑๙.๓๐ น.        –  อบรม

-----------------------------
วันที่ 15  มกราคม  ๒๕๕๗
๑๖.๓๐ น.- ๑๙.๓๐ น.         –  อบรม





๖. วิทยากร
   นายซัมซูดิน  วาจิ และนางสาวคอลิเย๊าะ  ธรรมตันหยง
-----------------------------------------------------

โครงการอบรมภาษามาลายู (ยาวี)

วันที่  13-15  มกราคม  ๒๕๕๘
ณ  ห้องประชุมศาลจังหวัดสงขลา
...........................................
๑. หลักการและเหตุผล
   ในสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน การใช้ภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานและในชีวิตประจำวัน ซึ่งศาลจังหวัดสงขลาเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศ ด้วยจังหวัดสงขลาเป็นประตูสู่อาเซียน อยู่ติดและใกล้ชิดกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์  อินโดนีเซีย ด้านการค้าจังหวัดสงขลาเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างไทยกับมาเลเซีย  เชื่อมต่อถึงประเทศสิงคโปร์  มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกที่สูงที่สุดในประเทศนับเป็นเงินหลายหมื่นบาทต่อปี  โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  จะยิ่งเอื้ออำนวยให้มีการไหลเวียนของประชากรในรูปการท่องเที่ยว  การใช้แรงงานและบริการในจังหวัดสงขลาเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะเมืองหาดใหญ่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างหลากหลายอยู่เดิมจะเพิ่มทวีมากขึ้น  ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งระหว่างประชากรของอาเซียนและอาจมีการทำผิดกฎหมายมากขึ้น  ส่งผลให้มีคดีความขึ้นสู่ศาลจังหวัดสงขลามากขึ้น
   ดังนั้น  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว  บุคลากรศาลจังหวัดสงขลาจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  โดยเฉพาะภาษามาลายูถิ่น  ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย  สิงคโปร์  และอินโดนีเซีย และประชากรในประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มจะมีคดีความขึ้นสู่ศาลจังหวัดสงขลามากขึ้น
   ภาษามาลายู เป็นที่ใช้กันแพร่หลายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  เพราะภาษามาลายูเป็นภาษาถิ่นจึงใช้สำเนียงถิ่นและใช้พูดอย่างเดียวโดยไม่นิยมเขียนกัน ภาษามาลายูหรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี  ที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมาลายูในจังหวัดปัตตานี   จังหวัดนราธิวาส   จังหวัดยะลา และในบางอำเภอของจังหวัดสงขลา  ในประเทศไทยมีคนที่พูดภาษานี้มากกว่า ๑ ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษาถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย  ดังนั้น  ในการติดต่อสื่อสารหรือการติดต่อราชการกับหน่วยงานรัฐ ของประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าว  ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยของผู้มาติดต่อราชการที่ใช้ภาษามาลายู (ยาวี) ในการสื่อสารระหว่างกัน
   ศาลจังหวัดสงขลา  จึงเห็นสมควรจัดโครงการอบรมภาษามาลายู  (ยาวี)  ให้แก่  ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง  ของศาลจังหวัดสงขลา  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผู้มารับบริการให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว และมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในการสื่อสารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตรงตามความต้องการของประชาชนผู้มาติดต่อ  ตลอดถึงการเพิ่ม
ศักยภาพการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรของศาลจังหวัดสงขลาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้

๒. วัตถุประสงค์
   ๒.๑ เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรศาลจังหวัดสงขลา ให้สามารถสื่อสารด้วยภาษามาลายูได้
   ๒.๒ เพื่อเตรียมความพร้อมขององค์กร ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
   ๒.๓ เพื่อให้ผู้มาติดต่อราชการได้รับความสะดวก  รวดเร็ว  มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันตรงตามความต้องการของประชาชน
   ๒.๔ เพื่อให้ผู้มาติดต่อราชการเกิดความพึงพอใจในการให้บริการ

๓. คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
   ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง  ของศาลจังหวัดสงขลา 

๔. ระยะเวลาการอบรม
   วันที่  ๖ – ๘  มกราคม  ๒๕๕๘  ณ  ห้องประชุมศาลจังหวัดสงขลา  จำนวน  ๑๐  ชั่วโมง

๕. วิธีดำเนินการ
   การบรรยาย  และอบรมสัมมนา  ถาม - ตอบ

๖. วิทยากร
   นายซัมซูดิน  วาจิ และนางสาวคอลิเย๊าะ  ธรรมตันหยง

๗. งบประมาณ
           -

๘. การประเมินผล
   โดยการสังเกตในการให้บริการ และใช้แบบประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการอบรม

๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง  ของศาลจังหวัดสงขลา มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการให้บริการประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้มาติดต่อราชการได้อย่างแท้จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06/01/15 โดย admin »