ผู้เขียน หัวข้อ: #วิธีสอนเด็กที่เขียนหนังสือไม่เก่ง_ตอนที่1  (อ่าน 742 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

su

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • กระทู้: 138
  • msn =>su-81@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
#วิธีสอนเด็กที่เขียนหนังสือไม่เก่ง_ตอนที่1

ลูกสาวของผมเป็นเด็กที่ไม่ชอบเขียนหนังสือเอาเสียเลยครับ

แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือ หรือ ให้บวกลบเลขนี่สู้ตาย

เลยทำให้เขายังเขียนตัวอักษรบางตัวไม่ถูก ถึงแม้ว่าใกล้จะขึ้นอนุบาล 3 แล้ว

ผมเลยได้รับมอบหมายจากหมอก้อย ให้ช่วยฝึกลูกเขียนหนังสือหน่อย (ส่วนหมอก้อยมีหน้าที่ฝึกเปียโนครับ)

ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของเด็กครับ ที่เมื่อถูกบอกให้ทำอะไรที่ไม่ชอบก็มักจะอิดออดงอแง

และมักจะบ่นว่า "เหนื่อยแล้ว" "ปวดมือ" "เขียนไม่ได้ จับมือหนูเขียนหน่อย" หรือไม่ก็ร้องไห้วิ่งหนีไปเลย

แต่ด้วยความที่เคยได้ดูแลเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกันกับลูกผมนี้มาก็มาก

ผมเลยพอที่จะมีเทคนิคในการช่วยให้ลูกนั้น "ร่วมมือ" ในการฝึกเขียนหนังสืออยู่พอสมควร

เดือนกว่าๆที่ผ่านมานี้เลยเป็นครั้งแรกครับที่ได้เอามาใช้กับลูกของตัวเอง

โดยหลักการสำคัญที่ผมนำมาใช้มีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้ครับ

1.อย่ายากเกินไป

เพราะหัวใจสำคัญอันหนึ่งในการปรับพฤติพฤติกรรมมนุษย์นั่นคือ "ต้องเริ่มจากง่ายไปยาก"

ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นฝึกเขียน คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะทราบเสียก่อนว่า

ความสามารถในการเขียนของเขา ณ ตอนนี้ อยู่ที่จุดใด

เช่น หากลูกของคุณเรียนอยู่ ป.3 แต่เขาเขียนหนังสือได้เท่าเด็ก ป.1

การฝึกก็ควรจะเริ่มต้นที่ ป.1

และจะดีมากหากคุณจะเริ่มต้นโดยให้ลูกเขียนสิ่งที่เขาพอจะเขียนได้สักเล็กน้อยก่อน

เพื่อที่เขาจะได้มีกำลังใจ และ เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นมาบ้างจากการเขียนหนังสือครับ

2.อย่าเยอะเกินไป

นี่เป็นข้อที่สำคัญที่สุด ที่จะชี้เป็นชี้ตายเลยครับว่า ลูกนั้นจะยอมมาฝึกเขียนหนังสือกับคุณต่อไปได้อีกนานแค่ไหน

เพราะโดยทั่วไปแล้ว เมื่อทราบว่าลูกนั้นเขียนหนังสือช้ากว่าเพื่อน

คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะเกิดความกังวล และพยายามที่จะ "อัด" การฝึกอย่างเต็มสปีดมิดคันเร่ง เพื่อให้ลูกนั้นกลับมาเขียนหนังสือให้ได้เท่าเพื่อน และ ทันกับที่ครูสอนให้เร็วที่สุด

แต่การฝึกอันแสนหนักประมาณว่า คัดตัวหนังสือวันละ 50 ตัว หรือ เขียนคำศัพท์วันละ 3 หน้าอะไรทำนองนี้นี่ล่ะครับ

ที่จะทำให้เด็กๆนั้นยิ่งรู้สึก เข็ดขยาด และ เกลียด การเขียนหนังสือหนักเข้าไปอีก

จนถึงขั้นที่แค่มองเห็นโต๊ะที่ใช้เขียนหนังสือ หรือ เมื่อใกล้ถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะเรียกเขามาฝึก เด็กๆหลายคนก็จะเริ่มรู้สึกกระวนกระวาย พะอืดพะอม หรือ ถึงขั้นร้องห่มร้องไห้กันเลยก็มี

ดังนั้นเพื่อให้ลูกรู้สึกมีความสุขมากขึ้นในการเขียนหนังสือ ขอแนะนำเลยครับว่า

เวลาที่ใช้ในการฝึกเขียนหนังสือกับลูกนั้น ไม่ควรที่จะเกินวันละ 15 นาที (ประมาณฝึกเขียน 3-5 ตัวอักษร หรือ เขียนคำศัพท์ 3-5 คำ)

เพราะหากใช้เวลานานเกินไป นอกจากลูกจะเบื่อแล้ว โอกาสที่คนฝึกจะหงุดหงิดใจก็จะมีสูง ประมาณว่า

"เมื่อไหร่จะเขียนให้เสร็จเสียที ฉันมีอย่างอื่นที่ต้องไปทำอีกเต็มไปหมดเลยนะ"

ซึ่งหากคุณลองเปลี่ยนจากการฝึกเขียนทีละเยอะๆ แต่ลูกร่วมมือบ้างไม่ร่วมมือบ้าง มาเป็นแบบวันละนิด แต่บ่อยๆ ก็จะช่วยทำให้ทั้งลูกและคุณรู้สึกอยากที่จะมาเขียนหนังสือกันมากขึ้นครับ

ผมได้เขียนอีก 2 ข้อที่เหลือเอาไว้แล้ว แต่จะขอเอามาลงต่อในคราวหน้า เพราะไม่อยากให้ทุกท่านอ่านมากจนเกินไปครับ

: หมอตั้ม เพจเลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ