ผู้เขียน หัวข้อ: 3 เทคนิคดีๆ แก้ปัญหา ลูกทะเลาะกัน ทุกวัน  (อ่าน 704 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2590
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
บ้านไหน ลูกทะเลาะกัน ทุกวัน อ่านเลย… Amarin Baby & Kids มีเทคนิคดีๆ ที่จะมาช่วยคุณพ่อคุณแม่แก้ปัญหาเมื่อ พี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่จะสามารถจัดการอย่างไรได้บ้าง ตามมาดูกันค่ะ

เชื่อว่าบ้านไหนที่มีลูกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต้องเจอ ปัญหาลูกทะเลาะกัน จนทำให้คุณพ่อคุณแม่พากันกลุ้มใจไปตามๆกันซึ่งปัญหา พี่น้องทะเลาะกัน แม้อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับผู้ใหญ่ แต่ความจริงบทสรุปที่จบลงด้วยการใช้กำลังนี้ก่อความเสียหายมากกว่าที่ตาเห็น

ลูกทะเลาะกัน เพราะอะไร?
เพราะมีผลการศึกษาจาก Child Abuse and Neglect ชี้ว่า…

เวลาที่เด็กถูกผลัก หยิก ตี พวกเขาจะหงุดหงิดและโกรธเกรี้ยวได้เท่าๆ กับผู้ใหญ่ตัวโตคนหนึ่งทีเดียว และนั่นก็ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนา EQ ของลูกเลยสักนิด

นอกจากนั้น หากมีเรื่องวิวาทเกิดขึ้นมากกว่า 5 – 6 ครั้งต่อปี ความรุนแรงจะกลายเป็นความกดดัน ความโกรธ และความเสียใจเรื้อรังฝังรากลึกอย่างยากจะถอนคืน

พี่น้องทะเลาะกัน
ซึ่งปัญหา ลูกทะเลาะกัน หรือ พี่น้องชอบทะเลาะกัน เป็นเพราะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทำให้เกิการแสดงออกถึงความอิจฉา การแข่งขัน และการต่อสู้ระหว่างพี่น้องในครอบครัว โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวอาจเริ่มได้ตั้งแต่วันที่มีน้องคนใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และดำเนินต่อไปตลอดช่วงวัยเด็ก หรือแม้กระทั่งอาจเป็นเงาตามตัวเด็กไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ หากความสัมพันธ์นี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมจากคุณพ่อคุณแม่

แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ลูกคนที่โตกว่าจะมีปฏิกิริยาต่อการมีน้องคนใหม่ด้วยความรู้สึกอิจฉา คับแค้นใจ ไม่มั่นใจ โกรธ และเศร้า สิ่งที่ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการทำความเข้าใจความรู้สึกที่ลูกมีต่อกันคือ วิธีการที่ลูกเลือกแสดงออกมาเพิ่อทำให้พ่อแม่รับรู้ ซึ่งมักแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยอาจเป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้…

ลักษณะปัญหาที่ลูกทะเลาะกัน
พยายามทำร้ายร่างกายอีกฝ่ายอย่างชัดเจน
พูดว่าไม่อยากมีพี่หรือน้อง
ต่อล้อต่อเถียง
เมินเฉย ไม่ดูแล ไม่แบ่งปันกัน
อาจดีต่อกันในบางครั้ง แต่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าพ่อแม่
ในตอนแรก ลูกอาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีน้องใหม่ แต่เมื่อลูกโตทันกันและแย่งของเล่นกัน ความโกรธแค้นคับข้องใจจึงเข้ามาแทนที่
ทั้งนี้ปัญหาอาจเพิ่มมากขึ้น เมื่อลูกมีนิสัยชอบเข้าสังคมและสามารถสร้างเพื่อนใหม่ได้มากมาย จนทำให้ลูกไม่สนใจพี่หรือน้องของตัวเอง

ลูกทะเลาะกันทําไงดี

ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้องจึงอาจใกล้ชิดกันได้มากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน ย่อมมีอีกหลายช่วงเวลาที่ความรู้สึกอิจฉาจากการเปรียบเทียบและแข่งขันกันทำให้พี่กับน้องต้องผิดใจกัน ซึ่งปัญหาที่ลูกทะเลาะอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

ความห่างระหว่างอายุ
ความลำเอียงหรือการเลือกที่รักมักที่ชัง
การหย่าร้างของพ่อกับแม่และความแตกแยกของครอบครัว
การรับอุปการะและการรับเป็นบุตรบุญธรรม
ความเจ็บป่วยรุนแรง และการไร้ความสามารถของพี่หรือน้อง
ปัญหาทางจิตใจของเด็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กก่อนวัยเรียน ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะจัดการกับปัญหาอารมณ์ของตนเอง อันสามารถส่งผลให้ปัญหาที่เล็กที่สุดกลายเป็นสาเหตุหลักของการทะเลาะกันอย่างรุนแรง

เรียกได้ว่าการทะเลาะกันของพี่น้องสามารถส่งผลต่อครอบครัวได้นานาประการ โดยเฉพาะเมื่อปัญหาการทะเลาะกันมีความรุน แรงเกินขอบเขต ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมทะเลาะกันของลูกให้ดีเสียก่อน และเมื่อรู้แล้วก็เตรียมวิธีการที่จะลดความรุนแรงของการกระทบกระทั่งกัน จึงมีคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยยับยั้งปัญหา ลูกทะเลาะกันทุกวัน มาฝาก ดังนี้ค่ะ…

3 เทคนิคดีๆ แก้ปัญหาลูกทะเลาะกัน ทุกวัน
เมื่อ ลูกเกิดศึกทะเลาะกัน พ่อแม่สามารถเข้าไปมีบทบาท ช่วยแก้ไขความขัดแย้งของลูกได้ด้วยการวิธีแสนง่าย ดังนี้

1. แยกลูกออกจากกัน
ให้เวลาลูกๆ แต่ละคน สัก 15 นาทีต่อวัน ให้เขาได้มีโอกาสอยู่กับพ่อแม่ตามลำพังบ้าง เช่น เวลาที่พี่สาวคนโตช่วยทำกับข้าวหรือหลังจากสอนการบ้านลูกคนกลาง ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้ครอบครองคุณพ่อคุณแม่ไว้คนเดียวนี้ จะช่วยให้ลูกลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงได้

2. สอนให้ลูกแสดงความรู้สึกด้วยการพูด
พยายามให้ลูกบอกเล่าสิ่งที่อัดอั้นอยู่ออกมาเป็นคำพูด (ที่ไม่หยาบคายหรือเป็นคำสบถ) แทนการระบายออกโดยทุบตีหรือรังแกกัน

3. ให้ความรักอย่างเท่าเทียม
พ่อแม่คิดว่า ตัวเองรักลูกเท่ากันทุกคนและยุติธรรมดีแล้ว แต่เมื่ออยู่ในสมรภูมิ คนกลางอย่างเรามักจะโดดเข้าไปปกป้องฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะฝ่ายที่อายุน้อยกว่าดูอ่อนแอกว่าหรือเป็นเด็กดีกว่า

จากผลการศึกษา เวลามีเรื่องต่อยตี น้องเล็กวัย 6 – 9 ขวบ มักเป็นเหยื่อของพี่ที่โตกว่า แต่ก็ใช่ว่าพี่จะเป็นฝ่ายผิดหรือเป็นคนเริ่มเสมอไป ทางที่ดีที่สุดก็คือ อย่าเข้าข้างหรือลงโทษใครมากกว่าอีกคน แต่พยายามชี้นำให้ลูกๆ หาทางแก้ไขข้อวิวาทแบบสันติวิธี ด้วยการนั่งคุยว่าเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นและตัดสินอย่างเป็นกลางมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ปัญหาลูกทะเลาะกัน ยังสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของชีวิตคู่ของพ่อแม่ได้ ทั้งนี้เพราะลูกมักดึงพ่อแม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการโต้เถียงด้วย และอาจเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าพ่อแม่คนใดเข้าข้างลูกคนไหน ก็อาจทำให้ปัญหาความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยของลูกบานปลายกลายเป็นปัญหาของพ่อแม่เองได้ หากพ่อแม่ใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินปัญหาในลักษณะเดียวกับที่ลูกทำ
 

เพราะฉะนั้นหาก ลูกทะเลาะกัน ในแต่ละครั้ง จนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมีใครอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งต้องเจ็บตัว หากรับมือไม่ได้แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้วย เพื่อช่วยเหลือให้ลูกมีชีวิตที่มีความสุขอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่น้องและครอบครัว