ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกชอบเถียง ก้าวร้าว พูดหยาบ จะทำยังไงดีคะหมอ?  (อ่าน 335 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
คำถามในinbox “ลูกอายุประมาณ 5 ปีชอบเถียง ก้าวร้าว พูดหยาบ จะทำยังไงดีคะหมอ?

คำตอบของหมอ คือ อย่าเถียงกลับ อย่าก้าวร้าวกลับ และอย่าพูดหยาบกลับด้วยค่ะ

หมอไม่ได้กวนนะคะ
เพราะพฤติกรรมลูก สะท้อนพฤติกรรมของคุณ

แต่ถ้าคุณไม่ได้เป็นแบบนั้น ก็ต้องเป็นใครสักคนในสิ่งแวดล้อมของเขา
.

หากอยากแก้ไข คุณก็ต้องสร้างพฤติกรรมแบบใหม่ที่ตัวคุณก่อน

1 ถ้าลูกเถียง ให้เราสงบนิ่งเป็นต้นแบบ รอจนลูกสงบก่อนค่อยสั่งสอน

จงคิดในใจว่า ไม่มีใครเถียงอยู่คนเดียวได้นานหรอก เราเงียบปากเอาไว้ เดี๋ยวลูกก็เงียบตาม
.

2 ถ้าลูกพูดหยาบ ก็ไม่ต้องไปด่าคนอื่นให้ลูกได้เรียนเพิ่ม เช่น “ไปจำคำพูดเ..ยๆมาจากไหน”
.

3 จำไว้ว่า คำหยาบมักมาพร้อมความโกรธ ดังนั้น จะระงับคำด่า ก็ควรตั้งต้นที่การระงับความโกรธ

อย่าไปสนใจคำหยาบ แต่ให้สนใจการช่วยลูกสงบอารมณ์ลงให้เร็วขึ้น
.

4 ลูกจะสงบลงได้เร็วก็เมื่อแม่สงบปาก สงบคำ อย่าผันความโกรธมาใส่เป็นคำพูดเพิ่ม จนลากเวลาโกรธให้ยาวนานขึ้นไปอีก
.

5 เมื่อสงบกันได้ทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ค่อยมาคุยกัน ภาษาปกติก็จะมาค่ะ
.
.
แก้ปัญหาคำหยาบที่มาพร้อมความโกรธ ให้โฟกัสที่การควบคุมอารมณ์โกรธ อย่าสนใจคำหยาบนั้นๆนะคะ




ดิฉันมีลูกชายอายุ 12 ปี ตอนนี้แกเป็นเด็กก้าวร้าวมาก เถียงพ่อ แม่ด้วยคำพูดที่ไม่ดี ตอนแรกดิฉันคิดว่าก้าวร้าวมาจากเกมแต่เมื่อดูพฤติกรรมการพูดน่าจะมาจากการที่เขาเถียงเราแล้วเราดีเขา เลยคิดว่าน่าจะมาจากการถูกแม่ตีบ่อยแล้วก้าวร้าว เพราะเขาชอบพูดว่าเขาเป็นแบบนี้เพราะแม่  แต่ตอนนี้ก็พยายามพูดกับเขาดี ๆ แล้ว และก็สัญญากับเขาว่าจะไม่ตีเขาอีก แต่พอพูดอะไรไม่ถูกหูเขาก็จะขึ้นเสียงดังทันที กระแทกข้าวของ บางครั้งพูดกับแม่ว่าไม่ต้องมาเถียง หุบปากเลย เป็นต้น แล้วเขาชอบคิดว่าที่เขาทำนั้นถูกทุกอย่างคนอื่นผิดเกือบหมด  ควรแก้ปัญหาอย่างไรดี ช่วยแนะนำด้วย วิธีตีใช้ไม่ได้ผลแน่นอน เพราะยิ่งตียิ่งก้าวร้าว

เหมือนกันครับ ลูกชายอายุ11 อยู่ม 1 ก็เป็นเหมือนกัน ทำอะไรก็ไม่ถูกใจเขา ไม่รู้จะรักษาอย่างไร ทำดีก็แล้ว สอนก็แล้ว ตีก็แล้ว แต่กับคนอื่นพูดเพราะ ไม่มีอาการตะคอก แต่ชอบตะคอกกับผม รอฟังความคิดเห็นด้วยครับ...

ผมไม่เห็นด้วยกับคุณความเห็น2 นะครับ

เด็กวัยนี้ใจใหญ่ ความคิดยังคับแคบ ทั้งเข้าข้างตัวเองและเพื่อนกลุ่มสนิท
สังคมโรงเรียนสำคัญเหนือกว่าที่บ้าน
เพราะถ้าได้รับการยอมรับที่โรงเรียนจะเท่ากับมีคนจำนวนมาก(กว่าที่บ้านยอมรับ) และได้ประโยชน์มากกว่าที่บ้าน
(เพราะยังไงพ่อแม่ก็ต้องเลี้ยงดูอยู่แล้ว)

ถ้าจะเลี้ยงให้ลูกยังเป็นลูกเรา อย่าใช้วิธีตาต่อตา ฟันต่อฟันครับ เลี้ยงแบบนี้จะได้ศัตรูคู่เวรครับ
เขาจะคิดตลอดไปว่าพ่อแม่ไม่มีวันเข้าใจเขา ไม่เคยเข้าใจเขา ไม่ฟังเขา (ผมบอกแล้วเด็กวัยนี้เข้าข้างตัวเองและเพื่อนก่อนครับ)
เขาจะคิดถึงพ่อแม่เป็นอย่างสุดท้ายครับแบบนี้ ถ้าเขามีเรื่องเดือดร้อน

การเริ่มต้นที่ผิดคือ ตอนลูกเล็กๆชอบตีลูก คุณตีมานานแค่ไหนแล้วครับ ถ้าตีมาหลายปี
แล้วจะให้แก้ปัญหานี้รวดเร็วทันใจได้อย่างไรครับ?

ส่วนวิธีแก้นั้นไม่มีวิธีที่ตายตัว

ในความเห็นผมนะครับ
ลองเปรียบเทียบว่าตอนนี้ลูกคุณมองพ่อแม่เป็นคนนอก มองแง่ลบ(เพราะฝังใจจากการถูกตี)
เป็นคนนอกเพราะ "ไม่เข้าใจอะไรเลย เอาแต่ตี เอาแต่สั่ง"

แล้วคุณก็ลองนึกกลับกันครับ
เป็นคุณบ้าง ถ้าคนที่เคยทำแบบนี้กับคุณอยู่ๆวันหนึ่งเปลี่ยนมาพูดดีไม่ตีแล้ว
จะให้เชื่ออะไรได้ง่ายๆครับในเมื่อทุกอย่างเป็นลบ

คุณลองนึกดูว่าคุณแสดงออกกิริยาแบบไหนเพื่อพิสูจน์ความตั้งใจ?
คุณต้องอดทนควบคุมตนเป็นระยะเวลานานแค่ไหนเพื่อกระทำ?
คุณต้องรอ"ฉวยโอกาส"นั้นไว้อย่างจดจ่อ...
และคุณต้องทำมันตลอดไป...

เปรียบเทียบหยาบๆเหมือนพวกขายตรง ขายประกันก็พอถูไถ
ต้องเทียวไล้เทียวขื่อนานแค่ไหนคุณถึงจะซื้อ
ต้องสังเกตนานแค่ไหนถึงชักจูงหว่านล้อมได้ว่า ใครในบ้านมีโอกาสจะป่วยเป็นโรคอะไร
จะได้ฉวยไว้ขายอาหารเสริมกับประกันสุขภาพ
ทำยังไงให้คุณเชื่อว่า ตั้งใจมาเป็นมิตรกับคุณ ไม่ได้อยากได้เงินของคุณเป็นสำคัญ


สำหรับพ่อแม่
เราก็ตั้งใจเป็นมิตรกับลูก ให้ลูกมีอิสรภาพทางความคิด และการกระทำตามกรอบศีลธรรมและกฎหมาย
อะไรที่ได้ดุด่าว่ากล่าวฟาดตีไปก็เป็นเพราะต้องการให้ลูกได้รับการยอมรับในสังคมทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
ไม่เคยอยากให้ลูกมาเป็นทาสรับฟังคำสั่ง หรือให้ลูกมาทดแทนเลี้ยงดูตอนแก่

บอกกล่าวเขาด้วยน้ำเสียงเฉียบขาดก้องกังวานครับ(แนวๆเสียงเวลาใช้ปราศรัย)
ไม่ตะเบ็ง ตะคอก

เราก็มีลูกชายวัยเดียวกัน และเป็นปัญหาเหมือนกัน  ลูกเราไม่ก้าวร้าวหรือตะคอก หรืออะไรมาก แต่จากเด็กที่เชื่อฟังเหตุผลอย่างดีมาตลอด ตอนนี้เรารู้สึกได้ถึงความอยากตัดสินใจเอง ความท้าทาย ความรู้สึกของลูกที่ว่าพ่อแม่ไม่ได้รู้อะไรทุกเรื่องและชี้นำเขาได้ทุกเรื่อง

ซึ่งเราคิดว่าที่จริงเป็นเรื่องดี ถ้าเราคอยประคองให้อยู่ในขอบเขตได้ ลูกจะค่อยๆ รู้จักตัดสินใจและเลือกทางของตัวเอง และที่จริงเราสอนลูกมาแต่เล็กแล้วว่าไม่ต้องเชื่อพ่อแม่ทุกอย่าง เพราะแม่ไม่ได้รู้ทุกอย่างในโลก แต่ให้แน่ใจว่าแม่เป็นคนที่หวังดีที่สุดในโลก ให้ฟังแม่ เก็บไปคิดอย่างไม่มีอคติ หาข้อมูล หาเหตุผล แล้วตัดสินใจ  ซึ่งคำสอนนี้ของเราเองนี้ทำให้เรามาโดนย้อนศร ทำให้เรามีปัญหาปวดหัวในการสั่งสอนลูกมานานแล้ว เพราะสอนยาก ต้องใช้เหตุผลหักล้างกันอย่างมากกว่าลูกจะยอมเชื่อ  แต่ที่ผ่านมาถึงจะยากแต่ก็ไม่มีเหตุการณ์ที่สุดท้ายแล้วลูกจะไม่เชื่อฟัง  มาปีนี้แหละที่อายุครบ 12 ปี เราเริ่มเห็นความยากลำบากอย่างหนักแล้ว (ยกตัวอย่าง บางที่มีเหตุการณ์ที่เราจนด้วยเหตุผล เราบอกกับลูกว่า นี่ แต่ฉันเป็นแม่นะ ฟังกันบ้างเชื่อกันบ้างได้ไหม ลูกเราจะมองหน้าเราแล้วส่ายหัว ทำหน้าแบบว่าแม่ไร้สาระมาก แล้วเดินหนีไปเลย)

ตอนนี้สิ่งที่ยังเกาะเกี่ยวให้ลูกเชื่อฟังเราอยู่ได้คือ
1 ความเป็นมิตรซึ่งเรามีกับลูกมาตลอด ลูกเข้าใจและแน่ใจว่าเรามีความหวังดี และฟังเหตุผลของเขาเสมอ

2 ความมีเหตุผล เราจะทำให้ลูกเชื่อฟังได้เมื่อเรามีเหตุผลที่มาหักล้างสิ่งที่เขาคิดและอยากทำ  ถ้าเราไม่มีเหตุผลดีพอ ลูกเราไม่ทำตามเด็ดขาด  บางทีเราต้องค่อยๆ หาเหตุผลมาตะล่อมอยู่นาน  เรื่องตีเลิกไปนานแล้ว

3 ความเคารพ  คือลูกเรารู้ว่าเราไม่งี่เง่า ไม่เอาเปรียบสังคม ไม่เอาแต่ได้  ไม่สองมาตรฐาน ลูกเรามีความเคารพเราในความเป็นคนที่ีดำรงชีวิตอย่างมีความเป็นธรรม ดังนั้นลูกจะฟังเราแล้วอย่างน้อยก็เก็บเอาไปคิด ไม่ใช่พูดอะไรแล้วก็ปัดทิ้งไปไม่ฟังเลย

นี่คือสถานการณ์ของปัจจุบัน เราไม่รู้ว่าลูกจะดื้อขึ้นมาอีกเลเวลหนึ่งไหมและเรายังจะพูดกับลูกได้รู้เรื่องแบบนี้ไหมในปีหน้า  เพราะสามีเราบอกว่า ยังๆ นี่ยังไม่ใช่ของจริง รออีกสองปี เราจะเจอช่วงเวลาหนักที่สุด และนั่นเป็นเวลาทดสอบของจริงในฐานะพ่อแม่