ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีแก้ง่ายๆ เมื่อลูกน้อยเอาแต่ใจตัวเอง  (อ่าน 748 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
1. อย่าห้ามลูกจนเกินไป ไม่ใช่ว่าตามใจนะคะ แต่เด็กวัยนี้คือวัยที่กำลังเรียนรู้ ชอบสำรวจ บางครั้งเขาอยากเล่นอยากลองซึ่งบางทีพ่อแม่ก็จะห้าม เพราะว่ากลัวลูกทำเลอะเทอะ หรือกลัวอันตราย ถ้าไม่อันตรายกับลูกมากจริงๆ ก็ควรปล่อยให้เขาได้ลองได้สำรวจ เรียนรู้โลกกว้างด้วยตัวเขาเอง พ่อแม่ก็ดูแลเขาอยู่ห่างๆ เขาจะเพลิดเพลินและจะไม่หงุดหงิดเมื่อถูกจัดใจค่ะ การที่ลูกโดนห้ามทำโน่นทำนี่มากๆ เมื่อโตขึ้นเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจได้ค่ะ  เวลาที่ลูกร้องไห้เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปนั่งดิ้นชักกระตุกๆ ที่พื้น) สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉยๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น   การกอดลูกเอาไว้เฉยๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ว่าอะไรลูก เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อยและไม่เห็นสิ่งเร้า (สิ่งที่ตัวเองอยากได้ เช่น ขนม ของเล่น ฯลฯ) สักพักลูกก็จะลืมไปเอง ซึ่งเมื่อลูกอารมณ์เริ่มดีขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกว่าเหตุใดพ่อแม่จึงไม่ซื้อหรือทำสิ่งนั้นให้ลูก แต่ไม่ควรไปดุด่าลูกอีก แค่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำหรือซื้อสิ่งนั้นให้ก็พอค่ะ

โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าลูกจะยังเล็ก จะไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายไปทั้งหมด แต่ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลูกจะซึมซับถึงการใช้เหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์ของพ่อแม่โต้ตอบ พ่อแม่หลายคนมักจะด่าว่าลูกว่า “ร้องทำไม หยุดร้องเดี๋ยวนี้” ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความรัก พ่อแม่ไม่รักเขา ลูกจึงต้องเรียกร้อง (ด้วยการร้องไห้งอแง และดิ้นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเอง)

2. วางเฉย เมื่อลูกร้องกรี๊ดพ่อแม่ควรจะวางเฉยค่ะ เพราะถ้าพ่อแม่ตอบสนองทันที เด็กๆ จะเรียนรู้ต่อไปว่า ถ้าอยากได้อะไรต้องต่อรองพ่อแม่ด้วยเสียงกรี๊ด แล้วพอไม่ได้ดังใจก็จะกรี๊ดๆ เพราะรู้ว่าเดี๋ยวพ่อแม่จะต้องให้


เข้าใจนะคะว่าบางทีเสียงกรี๊ดมากๆ ของลูก อาจทำให้พ่อแม่อย่างเราเกิดอาการปี๊ด…ดดด ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่เหมือนกันบางทีก็อยากตัดความรำคาญ หรืออาจจะเกรงใจคนรอบข้างเวลาที่พาออกไปข้างนอก ซึ่งพ่อแม่ต้องใจแข็งหน่อยค่ะ เด็กๆ น่ะร้องไปสักพักก็จะเหนื่อย เมื่อรู้ว่าเราไม่สนใจด้วยแล้ว เดี๋ยวก็หยุดร้องกรี๊ดได้เองค่ะ


3. พูดกันด้วยเหตุผล ไม่ว่าลูกจะร้องกรี๊ดเพราะสาเหตุอะไรก็ตาม พ่อแม่ต้องพูดกับลูกด้วยเหตุผลค่ะ อย่างถ้าลูกร้องกรี๊ดเพราะกลัวคนแปลกหน้า คุณต้องปลอบต้องคุยกับลูก แม้แต่การร้องเพราะถูกขัดใจ ก็ต้องบอกลูกว่าถ้าอารมณ์ดีๆ แล้วค่อยมาคุยกัน ซึ่งคุณแม่ต้องทำแบบนี้ให้สม่ำเสมอ อย่าทำบ้างไม่ทำบ้าง เพราะลูกจะสับสน หัดตั้งคำถามกับลูกบ่อยๆ ถามลูกว่าลูกรู้สึกยังไงบ้าง และลูกคิดยังไงกับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่งๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่งๆ นั้นให้ได้


4. สื่อสารกับลูกให้เยอะๆ บางครั้งที่ลูกอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ยังไม่สามารถอธิบายบอกได้ คุณแม่ใช้วิธีถามนำว่าลูกอยากได้อะไร จะเอาของเล่นเหรอ จะกินน้ำเหรอ อะไรทำนองนี้ค่ะเพราะลูกจะได้สื่อสารกับเราได้ง่ายขึ้น และเป็นการฝึกให้ลูกได้พูดไปด้วยในตัวค่ะ ใช้คำพูดง่ายๆ กระชับ ถ้าพูดยาวจนเกินไปเจ้าตัวเล็กอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะสื่อสารด้วย เด็กในวัยนี้ พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็น “ของเล่น” ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ความก้าวร้าวเป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่


5. คำชม ถ้าสิ่งไหนที่ลูกทำแล้วเป็นสิ่งดี ก็อย่าลืมหยอดคำชมรอยยิ้ม หรือแสดงอาการให้เขาเห็นว่าคุณพอใจมากๆ ที่เขาทำสิ่งที่ดีๆ ลูกก็จะเรียนรู้และอยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม


6. แบบอย่างจากพ่อแม่ คือเรื่องสำคัญค่ะ พ่อแม่ต้องเริ่มต้นเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน เพราะเด็กจะเลียนแบบ แต่หากคุณไม่พอใจแล้วโมโหเกรี้ยวกราดใส่ลูก ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อให้คุณสอนยังไงเจ้าตัวเล็กก็ไม่ทำตามหรอกค่ะ เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้จากการกระทำได้มากกว่าคำพูด


7. ได้และไม่ได้ จำเป็นที่เราจะต้องสอนให้ลูกรู้จักคำว่าได้และไม่ได้ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะสมหวังในสิ่งที่ตัวเองต้องการและผิดหวังในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ที่สำคัญไม่ว่าลูกจะได้หรือไม่ได้ ก็ควรมีเหตุผลกำกับด้วยทุกครั้งว่าทำไมลูกถึงได้ ทำไมถึงไม่ได้เพราะถ้าลูกเรียนรู้ที่จะได้อย่างเดียว ลูกจะไม่รู้จักความผิดหวังแต่ถ้าลูกเรียนรู้แต่ความผิดหวัง เขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าค่ะ