ผู้เขียน หัวข้อ: เล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี วิธีเล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตาม  (อ่าน 777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
เล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี วิธีเล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตามวัย

เล่นกับลูก 1-3 ปี

3 ปีแรกสมองลูกพัฒนาก้าวไกล เล่นกับลูก 1-3 ปี ช่วยให้ลูกฉลาดตั้งแต่เล็ก ถ้ารอจนลูกเข้าอนุบาลจะสายเกินไป! ความฉลาดของลูกปั้นได้ตั้งแต่ 3 ขวบแรก แม่อย่ารอ

 

อย่ารอที่จะเล่นกับลูก เพิ่มความฉลาด 3 ปีแรกของชีวิต

ศ.คลินิก นพ.วีระพงษ์ ฉัตรานนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า สมองของคนเรา มีพัฒนาการเริ่มตั้งแต่ในครรภ์ ซึ่งจะพัฒนาเร็วกว่าอวัยวะระบบอื่นภายหลังคลอดเกือบ 2 เท่า และที่มหัศจรรย์กว่านั้น ไม่มีระยะไหนที่การเติบโตของสมองจะเฉื่อยเหมือนอวัยวะระบบอื่น

โดยเฉพาะในขวบปีแรก ขนาดของสมองจะเพิ่มมากกว่าระยะใด ๆ จากน้ำหนักสมองแรกเกิดประมาณ 400 กรัม (ประมาณ 25% ของสมองผู้ใหญ่) เพิ่มเป็น 1,000 กรัมเมื่ออายุ 1 ขวบ ขณะที่สมองผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 1,400 กรัม

แม้เซลล์สมอง ซึ่งมีอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์นั้นจะไม่เพิ่มขึ้นหลังคลอด แต่สิ่งที่เพิ่มคือ จำนวนเซลล์พี่เลี้ยง ขนาดของเซลล์ และการขยายเครือข่ายของเซลล์ ได้แก่ แขนงรับ-ส่งข้อมูล และจุดเชื่อมประสาท โดยแต่ละเซลล์จะมีจุดเชื่อมประมาณ 2,500 จุด และเพิ่มขึ้นประมาณ 15,000 จุดต่อหนึ่งเซลล์เมื่ออายุ 2-3 ขวบ ซึ่งจะมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า โดยการเกื้อหนุนของการเลี้ยงดู ตั้งแต่การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและครบถ้วน ไปจนถึงสารอื่นที่จำเป็นต่อพัฒนาการของสมอง รวมไปถึงการเกิดโรคติดเชื้อที่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

เป็นที่น่าเสียดายว่าวงจรประสาทที่สำคัญที่ถูกวางไว้นี้ หากส่วนไหนไม่ได้รับการกระตุ้นให้ใช้งานอย่างต่อเนื่องหรือเพียงพอ ก็อาจทำให้ถูกขจัดเพิ่มขึ้นอีกจากการตัดแต่งประสาทได้ จึงมีคำที่กล่าวถึงพัฒนาการของสมองว่า “Use it or lose it” คือ ให้ใช้มันเสียมิฉะนั้นจะสูญเสียมันไป

กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว
เพราะสมองของทารกพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก โดยรศ. นพ. สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ เจ้าของเพจ คลีนิกเด็กหมอสังคม – Sungkom Clinic – คลีนิกหมอเด็ก ได้โพสต์เรื่องกว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว ตอนหนึ่งว่า เด็กโตเร็วมากใน 3 ปีแรก สมองเด็กอายุ 2 ปี จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 300 % สมองของเด็กอายุ 3 ปี จะมีน้ำหนักสมองเกือบ 90% ของสมองผู้ใหญ่ ช่วงแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ

“เด็กที่ขาดอาหาร ในวัย 2-3 ขวบแรก เมื่อโตขึ้นจะมีน้ำหนักน้อย ตัวเตี้ย และ ไอคิวต่ำลง 3- 4.2 คะแนน เด็กที่ขาดรัก ขาดความอบอุ่นในครอบครัว อาจจะเลี้ยงไม่โตและมีปัญหาด้านพัฒนาการได้”

จะเห็นได้ว่า อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อความฉลาดและช่วยบำรุงสมองของลูก สำหรับอาหารของทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ที่เหมาะสมที่สุด คือ นมแม่
นมแม่ย่อยง่าย มีคุณภาพ เต็มเปี่ยมไปด้วยสารอาหารสำคัญ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมอง นอกจากกรดอะมิโน taurine, carnitine กรดไขมัน arachidonic acid (AA หรือ ARA) และ docosahexaenoic acid (DHA) แล้ว ยังมีสารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองที่ยังไม่มีในนมผสมคือ nerve growth factor ฮอร์โมน และเอนไซม์แทบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการนำมาใช้ในการพัฒนาสมอง มีสารต่อสู้เชื้อโรค ซึ่งมีอยู่ในนมแม่หลายชนิด สามารถทำงานเสริมฤทธิ์ต่อสู้กับเชื้อได้มากมาย ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่หยุดชะงักจากการติดเชื้อ

 

เล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี วิธีเล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตามวัย 3 ปีแรกสมองลูกพัฒนาก้าวไกล วิธีเล่นกับลูก 1-3 ปี ให้ลูกฉลาดตั้งแต่เล็ก
วิธีเล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี เล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตามวัย 3 ปีแรก

วิธีเล่นกับลูก 1-3 ปี
การเล่นกับลูก 1-3 ปีแรกของชีวิต ก็สำคัญไม่แพ้โภชนาการ
วิธีเล่นกับลูกแรกเกิด เล่นกับลูกวัยทารกอย่างไรให้ฉลาด
พูดคุย การพูดคุยเเบบเห็นหน้าสบตา คือวิธีการเล่นที่ดีที่สุดค่ะ แสดงสีหน้าให้หลากหลาย แล้วลองคุยกับลูกด้วยเสียงในเเบบต่าง ๆ พูดคุยกับลูกด้วยลักษณะพิเศษที่เรียกว่า parentese คือการพูดด้วยโทนเสียงสูงเเละช้า เป็นน้ำเสียงที่พูดเกินจริง
ร้องเพลง เพลงคือการสื่อสารอย่างหนึ่ง เเค่เพิ่มโทนเสียงเเละจังหวะเข้าไป ซึ่งลูกวัยทารกสามารถเเยกเเยะรูปแบบจังหวะได้เเล้ว
อ่านหนังสือหรืออ่านนิทาน การอ่านหนังสือให้ลูกฟังคือการเพิ่มคลังคำศัพท์ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาลให้กับลูก ทั้งยังเสริมสร้างความสนุกสนานได้ด้วย
จับมือ จับเท้าของลูก การสัมผัสระหว่างลูกเเละคุณพ่อคุณเเม่ เป็นการช่วยด้านพัฒนาการวัยทารก
เล่นสื่อสัมผัส การสัมผัสตุ๊กตานุ่มนิ่ม ความหลากหลายของผิวสัมผัสต่าง ๆ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นอย่างเหงา ๆ พ่อแม่ควรเล่นกับลูกไปด้วยนะคะ
มองหน้าสบตา หรือหันหน้าเข้าหากันระหว่างคุณพ่อคุณเเม่กับลูก เป็นของเล่นของลูกที่ง่ายที่สุดค่ะ เเละยังได้พัฒนาประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของลูกอีกด้วยนะคะ ปล่อยให้ลูกน้อยสำรวจใบหน้าของคุณ ทั้งจมูก หู ปาก เเก้ม เเล้วก็อย่าลืมที่จะจุ๊บลูกบ่อย ๆ ด้วย
วิธีเล่นกับลูก 1-3 ปีขึ้นไป
พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ฐานความคิดของเด็กอายุ 3-5 ขวบมาจากจินตนาการ ซึ่งมีในเด็กทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่ต้องส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการเล่น

จัดมุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านหรือห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้วาดรูป ยิ่งมากยิ่งหลากหลาย เด็กจะสร้างสรรค์ได้มากเท่าที่จินตนาการจะพาไป การเล่นสวมบทบาทเป็นคนอื่นหรือตัวละครจากนิทาน การวาดรูป ระบายสี ปั้นแป้ง จะช่วยให้เด็กแสดงออกถึงความคิด

เล่นกับลูกเมื่อลูกชวนเล่นตามเรื่องที่เด็กสร้างขึ้น โดยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น เพื่อให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเป็นอิสระ หากพ่อแม่เป็นผู้นำการเล่นเอง จะขัดขวางจินตนาการของเด็ก

เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเล่นสร้างบ้าน เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เด็กรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นและปลอดภัย เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างบ้านแบบต่าง ๆ ที่เด็กฝันอยากจะมี

ส่งเสริมให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอิสระ เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ดินน้ำมัน หรือเล่นทราย ที่สามารถต่อหรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการอย่างไม่มีข้อจำกัด

เล่นเล่าเรื่องคนละประโยคหรือเล่นต่อเพลง เด็กจะได้รับการกระตุ้นให้คิด

พาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทะเล น้ำตก ป่า ความหลากหลายในธรรมชาติ มีทั้งพืช สัตว์ ก้อนหิน ดินทราย ถือเป็นครูทางจินตนาการของเด็ก ฝึกให้เด็กช่างสังเกต กระตุ้นความอยากในการเรียนรู้

ใช้หัวใจมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวลูก รักเขาตามที่เขาเป็น อย่าใช้ความคาดหวังของพ่อแม่ตัดสินลูกหรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กมีความพิเศษต่างกัน ที่สำคัญเด็กที่ฉลาด มักคิดต่างจากใคร ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่

สร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะได้ทั้งอาหารใจและยาบำรุงสมองชั้นดีด้วย

ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ

ที่มา : https://www.facebook.com/sungkomclinic/ และ http://www.si.mahidol.ac.th