สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณอาจเป็น ‘โรคสมาธิสั้น’ หรือ ADHD
ว่ากันว่า ‘เด็กซนคือเด็กฉลาด’ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พบว่าลูกซนเกินไป ไม่อยู่นิ่ง ดูไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น หรือแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยครั้ง จนกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างละก็ พวกเขาอาจเป็น โรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention Deficit Hyperactive Disorder) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา
รู้จักโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยทั่วไปพบได้ 3 ลักษณะคือ สมาธิสั้น ซนมาก และหุนหันพลันแล่น ซึ่งอาจมีเพียงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือครบทุกอย่างเลยก็เป็นได้ โดยอาการเหล่านี้จะแสดงให้เห็นตั้งแต่ช่วงสามขวบเป็นต้นไป
มีรายงานพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมองข้ามอาการสมาธิสั้นของเด็กผู้หญิง เพราะเด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจไม่ได้ก่อกวน หรือสร้างความวุ่นวายในห้องเรียนจนสังเกตได้ง่ายเหมือนเด็กผู้ชาย
เด็กผู้หญิงอาจนั่งนิ่งๆ บนที่นั่งของตัวเอง ดูภายนอกเหมือนว่าพวกเธอกำลังตั้งใจทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน แต่ความจริงคือกำลังเหม่อลอย หรือมองออกไปนอกหน้าต่างอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ปกครองและคุณครูจึงอาจไม่ทันเอะใจกับพฤติกรรมที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรงนั้น
สัญญาณเตือนของโรคสมาธิสั้น
หากสงสัยว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ ผู้ปกครองและคุณครูสามารถใช้หลักเกณฑ์ที่แพทย์ใช้ ซึ่งอ้างอิงมาจากคู่มือจำแนกโรคทางจิตเวชของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ปี ค.ศ. 1994 ในการประเมินพฤติกรรมเบื้องต้นของเด็กๆ ได้ ดังนี้
1. เกณฑ์เบื้องต้นก่อนประเมิน
โดยปกติแล้ว เด็กบางคนอาจจะซนหรือยุกยิกตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา หากไม่ก่อความเดือนร้อนให้ตัวเองหรือเพื่อนรอบข้าง แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นมีมากหรือบ่อยเกินไป จนคุณพ่อคุณแม่เริ่มสงสัย ให้ลองดูเกณฑ์เหล่านี้เพื่อประเมินว่า ลูกของเราเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่
– เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บ่อย หรือ บ่อยมาก ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
– พฤติกรรมเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ในระดับพัฒนาการเดียวกัน เช่น เด็กเล็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ขวบ) ตามพัฒนาการแล้วก็จะไม่ค่อยนิ่ง ซึ่งถือว่าปกติ แต่ถ้าโตกว่านั้นแล้วยังซนอยู่ ก็อาจต้องประเมินตามเกณฑ์ต่อไป
– พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือสถานที่อื่นๆ เป็นประจำมากกว่าสองสถานที่ขึ้นไป
– พฤติกรรมเหล่านี้กระทบต่อการเรียน และการเข้าสังคมกับเพื่อน เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ หรือเพื่อนไม่อยากเล่นด้วย
– มีอาการเริ่มต้นตั้งแต่อายุไม่ถึง 7 ปี
– ไม่ใช่อาการของโรคอื่นๆ เช่น ออทิสติก โรคทางสมอง อาการชัก ภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า เป็นต้น เพราะเด็กที่เป็นโรคเหล่านี้ก็มีอาการซนเช่นเดียวกัน
2. เกณฑ์ประเมินกลุ่มอาการสมาธิสั้น (Inattentive Symptom)
– จดจำรายละเอียดของงานที่ทำไม่ได้ หรือทำผิดเพราะขาดความรอบคอบ
– ไม่มีสมาธิเวลาทำกิจกรรมต่างๆ แม้แต่การเล่น
– ไม่เชื่อฟังคำพูดของผู้อื่น ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย จนทำให้มีปัญหากับเพื่อนและคนรอบข้าง
– ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดคำสั่งไม่ได้ ทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด
– ทำงานไม่เป็นระเบียบ
– ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
– ทำของใช้ส่วนตัวหรือของจำเป็นหายอยู่บ่อยๆ
– ว่อกแว่กง่าย
– ขี้ลืม ทั้งที่เป็นกิจวัตรประจำ หรือหาของไม่ค่อยเจอ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ตรงไหน
– ใช้เวลาทำงานมากผิดปกติ เพราะมัวแต่คิดถึงและสนใจอย่างอื่น
– ขยัน แต่ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรเป็น
– มีปัญหาด้านการอ่านตีความ คือรับรู้เพียงข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงหรือต่อยอดกับข้อมูลอื่นๆ ได้ พวกเขาจึงมักพลาดรายละเอียดคำสั่งการบ้าน หรือเนื้อหาในบทเรียน
– บางคนจะมีเพื่อนเยอะ เพราะสนุกที่มีเพื่อนอยู่รอบตัว แต่จะเครียดและกังวลทันทีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เพื่อนๆ จึงมีบทบาทในการช่วยเหลือเสมอ
– มีไอเดียดีๆ มากมายที่ต้องการทำเดี๋ยวนั้น แต่… ไม่เคยเสร็จ หรือไม่สำเร็จตามเวลาสักอย่าง ทั้งที่ตั้งใจมากๆ
3. เกณฑ์ประเมินกลุ่มอาการซนมากและหุนหันพลันแล่น (Hyperactivity/Impulsivity Symptom)
– จดจำรายละเอียดของงานที่ทำไม่ได้ หรือทำผิดเพราะขาดความรอบคอบ
– ไม่มีสมาธิเวลาทำกิจกรรมต่างๆ แม้แต่การเล่น
– ไม่เชื่อฟังคำพูดของผู้อื่น ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย จนทำให้มีปัญหากับเพื่อนและคนรอบข้าง
– ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดคำสั่งไม่ได้ ทำให้ทำงานไม่เสร็จหรือผิดพลาด
– ทำงานไม่เป็นระเบียบ
– ไม่เต็มใจหรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
– ทำของใช้ส่วนตัวหรือของจำเป็นหายอยู่บ่อยๆ
– ว่อกแว่กง่าย
– ขี้ลืม ทั้งที่เป็นกิจวัตรประจำ หรือหาของไม่ค่อยเจอ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ตรงไหน
– ใช้เวลาทำงานมากผิดปกติ เพราะมัวแต่คิดถึงและสนใจอย่างอื่น
– ขยัน แต่ผลการเรียนไม่ดีเท่าที่ควรเป็น
– มีปัญหาด้านการอ่านตีความ คือรับรู้เพียงข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงหรือต่อยอดกับข้อมูลอื่นๆ ได้ พวกเขาจึงมักพลาดรายละเอียดคำสั่งการบ้าน หรือเนื้อหาในบทเรียน
– บางคนจะมีเพื่อนเยอะ เพราะสนุกที่มีเพื่อนอยู่รอบตัว แต่จะเครียดและกังวลทันทีเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เพื่อนๆ จึงมีบทบาทในการช่วยเหลือเสมอ
– มีไอเดียดีๆ มากมายที่ต้องการทำเดี๋ยวนั้น แต่… ไม่เคยเสร็จ หรือไม่สำเร็จตามเวลาสักอย่าง ทั้งที่ตั้งใจมากๆ