ปลากัดไทย ประกาศศักดา ในตลาดสัตว์น้ำสวยงามระดับโลก
...
ปลากัด เหตุใดจึงได้รับเลือกให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ
...
ปลากัด เป็นสัตว์น้ำสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีสีสันสวยงามสะดุดตาและจัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจ
หากพูดถึงปลากัด ภาพที่หลายคนนึกถึงปลาสวยงามที่แหวกว่ายในโหลขนาดเล็ก และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คณรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ ปลากัดไทย ขึ้นแท่นเป็น “สัตว์น้ำประจำชาติ” เป็นที่เรียบร้อย เนื่องด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น พร้อมทั้งสะท้อนถึงความเป็นไทย อีกทั้งยังมีประโยชน์อย่างมากในด้านเศรษฐกิจอีกด้วย
..
ข้อมูลทั่วไป ปลากัดไทย Siamese Fighting Fish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta Splendens
...
ปลากัดจะมีนิสัยที่ดุร้าย ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกันในโหลหรือขวดแก้วขนาดเล็ก เพราะมักจะไล่กัดกันเองอยู่เป็นประจำ การเลี้ยงปลากัดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงไว้เพียงตัวเดียวเท่านั้นต่อหนึ่งขวดโหล ทั้งนี้เพราะจะทำให้ตัวปลากัดรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองได้ ส่งผลให้ปลากัดมีสีสันสดใสสวยงาม โดยจุดประสงค์เดียวของการนำปลากัดสองตัวมาไว้ในขวดโหลเดียวกันคือ การเพาะพันธุ์ ซึ่งถึงอย่างไรก็ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
...
ปลากัดโตเต็มวัยจะมีขนาดความยาวที่อยู่ประมาณ 6ถึง7 เซนติเมตร
...
ปลากัดไทย เป็นสัตว์ท้องถิ่นบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มักพบได้ตามแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ปัจจุบันถูกจัดไว้ในประเภทสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
...
ทำไมถึงได้รับเลือกให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ
...
ปลากัดไทย มีความเกี่ยวเนื่องในด้านของวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพบหลักฐานว่าปลากัดไทยได้ปรากฏอยู่ในบทประพันธ์ วรรณคดีไทย และประวัติศาสตร์ไทยมานานกว่าร้อยปี
...
การกัดปลานับเป็นเกมกีฬายอดนิยมกันในหมู่คนไทยมาเป็นเวลานาน
...
นอกจากนี้ในด้านของความเป็นเจ้าของ เนื่องด้วย “ปลากัดไทย” เป็นชื่อที่บ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของของคนไทย อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในด้านวิชาการและในวงการวิชาการด้านสัตว์น้ำอีกด้วย อีกทั้งแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ยังเป็นแหล่งที่ปลากัดไทยอาศัยอยู่อย่างชุกชุมอีกด้วย
...
สุดท้ายคงหนีไม่พ้นเรื่องของเศรษฐกิจ ประโยชน์ที่ได้รับจากการประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ มีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การรักษาพันธุ์พัฒนาปลากัดไทยให้ดียิ่งขึ้น กาส่งเสริมการเลี้ยงปลากัด รวมไปถึงประโยชน์ในเรื่องเชิงพาณิชย์
...
ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
...
เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่ออย่างยิ่งที่ปลากัดตัวเล็กๆ จะสามารถสร้างเม็ดเงินให้แก่ประเทศได้เป็นจำนวนมาก เมื่อสองปีที่แล้วด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขการส่งออกสัตว์น้ำสวยงาม 10 อันดับแรก พบว่า ปลากัด มีปริมาณการส่งออกสูงสุดถึงกว่า 23 ล้านตัว คิดเป็นมูลค่ากว่า 130 ล้านบาท ทิ้งห่างอันดับ 2 อย่าง ปลาหางนกยูง ที่มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ราวๆ 14 ล้านตัว เกือบเท่าตัว
...
ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาดทั้งภายในและตลาดภายนอกประเทศสามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี
...
จ้องตากันแล้วท้องจริงหรือ
...
ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะปกติแล้ว ปลากัดตัวผู้จะจ้องตาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียสร้างไข่ในท้องเท่านั้น ก่อนที่ตัวผู้จะทำการรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมา จากนั้นตัวผู้จึงปล่อยน้ำเชื้อใส่ไข่ แล้วอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ ทำขั้นตอนทั้งหมดนี้ซ้ำๆ จนไข่ของตัวเมียหมดท้อง และสุดท้ายตัวผู้ก็จะคอยดูแลจนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว ทั้งหมดนี้เรียกว่าการปฏิสนธิภายนอก
...
สายพันธุ์ปลากัด
...
ปลากัดจีน เรียกอีกอย่างว่าปลากัดครีบยาว หางกรุยกรายโคนห่างมีขนาดใหญ่แล้วแล้วค่อยๆเรียวเล็ก
...
ปลากัดหม้อ ลำตัวเป็นสีดำคล้ำ ดูหนา และบึกบึน
...
ปลากัดฮาล์ฟมูน เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาโดยชาวยุโรป ขอบหางเรียบ ก้านหางแตกออกมา 4 ก้าน เหยียดออกมาคล้ายพระจันทร์ครึ่งดวง
...
ปลากัดฮาล์ฟมูน หรือชื่อเรียกอีกชื่อว่า ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งดวง
...
ปลากัดคราวน์เทล เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาโดยชาวอินโดนีเซีย มีครีบและห่างที่ได้สัดส่วน ขอบหางจักเป็นริ้วเว้าลึกคล้ายกับมงกุฎ
...
ปลากัดดับเบิลเทล หรือปลากัดสองหาง มีแฉกหางบนกับหางล่างดูคล้ายรูปหัวใจ
...
ปลากัดยักษ์ ถูกพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวไทย ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาถึง 2 เท่า
...
ปลากัดหูช้าง มีเอกลักษณ์คือ มีครีบหูขนาดใหญ่
...
ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่มักพบกระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศ ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม ใช้ปากฮุบอากาศในการหายใจโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
...
แต่เดิมปลากัดที่พบในประเทศไทยมีอยู่เพียง 3 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ปลากัดไทย Betta splendens เนื่องจากมีครีบและสีสันที่สวยงาม ส่วนอีก 2 สายพันธุ์คือ ปลากัดอีสาน Betta smaragdina และปลากัดภาคใต้ Betta imbellis เป็นสายพันธุ์ที่เลี้ยงไว้เพื่อกัดกัน จึงไม่ได้รับความนิยม แต่ในระยะหลังได้มีการนำปลากัดมาผสมข้ามพันธุ์ ทำให้เกิดปลากัดที่มีลักษณะเฉพาะขึ้น ตัวอย่างเช่น ปลากัดหางสามเหลี่ยม Delta-tailed ปลากัดหางมงกฎ (Crown-tailed) ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งดวง Half-moon-tailed และปลากัดสองหาง Double-tailed นอกจากนี้การผสมข้ามพันธุ์ยังทำให้เกิดการพัฒนาสีของปลากัดที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ปลากัดสีเดียวที่มีทั้งสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีเหลือง สีส้ม สีทอง หรือปลากัดสีผสม เช่น เจ้าไตรรงค์ ปลากัดลายธงชาติไทยที่ชนะการประกวดระดับโลก และมีมูลค่ากว่าตัวละห้าแสนบาท
...
ความผูกพันของคนไทยกับปลากัดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยความดุร้ายและสัญชาตญาณนักสู้ของปลากัด ทำให้คนสมัยก่อนนิยมนำมากัดต่อสู้กัน และกลายเป็นเกมการพนันที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต้องการให้ประชาชนเลิกมัวเมาเกมการพนัน จึงทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน กัด หรือทำการอื่นๆ เพื่อการพนัน ส่งผลให้บทบาทของปลากัดในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป จากเป็นปลาที่เลี้ยงไว้เพื่อเกมการพนันกลายเป็นปลาที่เลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงามแทน
...
ไม่เพียงความนิยมในประเทศไทยเท่านั้น ความโด่งดังของปลากัดยังเป็นที่ยอมรับของกลุ่มลูกค้าในตลาดสัตว์น้ำนานาชาติ เส้นทางโกอินเตอร์ของปลากัดไทยเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จากการเผยแพร่ข้อมูลของนายแพทย์ชาวเดนมาร์กที่เข้ามาสำรวจประเทศไทย และได้เขียนบทความอธิบายลักษณะของปลากัดไทย โดยให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Macropodus pugnax แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบชื่อพบว่าเกิดความสับสนกับชื่อปลาชนิดอื่นที่ถูกค้นพบใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อสามัญของปลากัดไทยเป็น “Siamese fighting fish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens ซึ่งหมายถึง นักรบผู้สง่างาม
...