จิ้งโจ้ (Kangaroo) สัตว์ประหลาด มี 3 จิ๊มิ และ 2 จู๋
...
จิงโจ้ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย
...
จิงโจ้นั้นจัดออกได้เป็นหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์ หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า แมคโครพอด ที่หมายถึง ตีนใหญ่ แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกระโดด
...
จิงโจ้มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่มีลำตัวสูงแค่ 30 ถึง 45 เซนติเมตร จนถึงสูงได้ถึง 6 ฟุต น้ำหนักกว่า 1.5 ปอนด์ ลักษณะขา งอ เป็นรูป ตัว L กลับหัว มีเท้าแบบคน ทำให้ไม่มีกำลังขาในการแตะ จากศัตรู และไม่สามารถเดินถอยหลังได้
...
การที่จิงโจ้ต้องมีขาหลังใช้ในการกระโดด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการหรือการกลายพันธุ์ให้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิอากาศของทวีปออสเตรเลีย อันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า การกระโดดนั้นให้ผลในการเดินทางได้ดีกว่าวิ่งเหยาะๆ
...
การที่จิงโจ้กระโดดแต่ละครั้งนั้น จะเริ่มจากนิ้วตีน และได้รับแรงส่งจากกล้ามเนื้อน่องที่แข็งแรง เอ็นร้อยหวายก็ยืดอย่างเต็มที่ ขณะที่ส่วนหางก็ใช้ในการรักษาสมดุล
...
รู้ไหม จิงโจ้เป็นสัตว์มี 2 จู๋ และ 3 จิ๊มิ โคอาลาก็เช่นกัน
...
ออสเตรเลียเป็นทวีปแห่ง สัตว์ประหลาด เรียกได้ว่าสัตว์จากทวีปนี้สร้างความประหลาดใจให้กับเราได้เสมอ
...
ซึ่งบางทีความ ประหลาด ที่ว่านี้ก็มาจากสัตว์ที่เราไม่คุ้นเท่าไร บางทีก็อาจจะมาจากสัตว์ที่เรารู้จักกันดี
และวันนี้เราจะมาพูดถึง จิงโจ้
...
แน่นอนว่าจิงโจ้เป็นสัตว์ประจำชาติออสเตรเลียที่คนมักจะจดจำในฐานะ สัตว์กระเป๋าหน้าท้อง ที่เลี้ยงลูกในกระเป๋าหน้าท้อง
...
แต่อันที่จริง จิงโจ้ยังมีความประหลาดอีกเพียบ และเรื่องหนึ่งที่คนไม่ค่อยรู้ก็คือ จิงโจ้เป็นสัตว์ที่มี 3 จิ๊มิ หรือช่องคลอด 3 ช่อง
...
ถ้านั่นยังไม่แปลกอีก จิงโจ้ตัวผู้จะมีกระจู๋ที่แยกเป็นสองหัว และลักษณะอวัยวะเพศแบบนี้ไม่ได้มีแค่ในจิงโจ้ แต่สัตว์กระเป๋าหน้าท้องทุกตัวเป็นอย่างนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโคอาลา วอมแบต ไปจนถึงแทสเมเนียนเดวิล
...
ต้องบอกก่อนว่า ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะยัง งงๆ ว่า ทำไมวิวัฒนาการถึงสร้างลักษณะแบบนี้แก่สัตว์กลุ่มนี้ แต่พวกเขาสามารถอธิบายเบื้องต้นได้ว่า มันทำงานยังไง
...
ทำไมจิงโจ้ต้องมี 3 จิ๊มิ 2 กระจู๋
...
พวกสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจะมีลักษณะสำคัญเหมือนกัน คือจะคลอดลูกตอนที่ยังเล็กมากๆ แบบตัวเท่าเม็ดถั่วก็คลอดแล้ว แต่ลูกที่คลอดจะยังไม่ได้ออกมายังโลกภายนอก พวกมันจะอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องจนโตและหาอาหารเองได้ นั่นแหละถึงจะออกมาจากกระเป๋าหน้าท้อง
...
แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับ 3 จิ๊มิ ใจเย็นๆ จะถึงแล้ว
...
คือ 3 จิ๊มิเนี่ย ต้องเข้าใจก่อนว่ารูช่องคลอดข้างหน้านั้นมีรูเดียว แต่พอเข้าไปรูจะแยกเป็น 2 ทางซ้ายขวา โดยตรงกลางอีกอันจะปิดอยู่ ซึ่งก็จะสอดรับกับตัวผู้ที่จะมีจู๋แยกเป็น 2 หัวตรงปลาย แต่จะมีโคนอันเดียว
...
การแยกช่องคลอดเป็นฝั่งซ้ายขวานั้นพอเข้าไปอีก ก็จะมีมดลูกอยู่ในสุด ซึ่งก็มีฝั่งซ้ายและขวาเหมือนกัน ซึ่งปกติจิงโจ้จะตั้งครรภ์ได้ทีละตัว ซึ่งพอลูกจะคลอด ทางช่องคลอดตรงกลางก็จะเปิดให้ลูกตัวเท่าเม็ดถั่วคลานออกมาอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง
...
หรือพูดง่ายๆ 3 จิ๊มิ ของ จิงโจ้ มี ทางเข้า 2 ทางด้านซ้ายขวา ส่วนอีก 1 เป็น ทางออก นั่นเอง
...
สามัคคีเพศของจิ๊มิและกระจู๋
...
ถามว่าโครงสร้างแบบนี้ทำหน้าที่ยังไง คำตอบง่ายๆ คือทำให้จิงโจ้สามารถ ท้อง ได้ตลอดเวลา นึกออกมั้ยครับว่าจิงโจ้มี 2 มดลูก เวลาลูกโตในมดลูกหนึ่ง อีกมดลูกก็ว่าง สามารถผสมพันธ์ ได้อีก ซึ่งทางออกของลูกก็จะเป็นคนละทางกับทางเข้าของกระจู๋จิงโจ้ตัวผู้
...
ด้วยความเป็นสัตว์กระเป๋าหน้าท้อง สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ จิงโจ้จะสามารถเลี้ยงลูกสามตัวในสามวัยได้สบายๆ
...
คือตัวหนึ่งอยู่ในมดลูก อีกตัวคลอดออกมาอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง และอีกตัวคือออกมาจากกระเป๋าหน้าท้องแล้ว หรือพูดง่ายๆ โครงสร้างแบบนี้จะทำให้จิงโจ้ตัวเมียสามารถผลิตลูกได้อย่างต่อเนื่อง
...
ถ้าถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ คำตอบก็อย่างที่ว่า ยังไม่มีคำอธิบายชัดเจน
...
แต่การมี 3 จิ๊มิ 2 กระจู๋ ของพวกสัตว์กระเป๋าหน้าท้องก็ดูจะทำให้พวกมันมีความคล่องแคล่วตลอดเวลา แม้ในตอนที่ดูแลลูก เพราะสัตว์พวกนี้จะไม่ท้องลูกจนโต แต่จะคลอดมาตอนเล็กๆ เลย แค่มาอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งก็อาจคาดได้ว่าเป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มอัตราการขยายเผ่าพันธุ์ในดินแดงแห่งสัตว์ประหลาดอย่างทวีปออสเตรเลียนี่เอง
...
การขยายพันธุ์ของจิงโจ้ นั้นเป็นการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยน้ำนม โดยการตั้งท้องประมาณ 30-45 วัน หลังจากนั้น ตัวอ่อนที่ยังไม่มีขนจะคลานมาจนถึงกระเป๋าหน้าท้องแล้วเลี้ยงตัวเองด้วยน้ำนมจนโตประมาณ 1 ปี ถึงจะออกจากกระเป๋าหน้าท้อง
...
แม้จะมีลูกได้ครั้งละ 1 ตัว แต่จิงโจ้สามารถที่จะมีลูกได้มากกว่า 1 ตัว ในถุงหน้าท้อง โดยลูกจิงโจ้แต่ละตัวจะมีขนาดไม่เท่ากัน เพราะเกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งมีตัวอ่อนในตัวของแม่จิงโจ้ ขณะที่ลูกจิงโจ้แรกคลอดยังคงคลานไปดูดนมอยู่ก็มี จิงโจ้จะมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า 2 เต้าแรกมีความยาวไว้สำหรับลูกจิงโจ้วัยอ่อนใช้ดูดกิน น้ำนมในส่วนนี้ มีคาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันต่ำ ขณะที่อีก 2 เต้าจะมีขนาดสั้น ไว้สำหรับลูกจิงโจ้ที่โตแล้วดูดกิน มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันสูง ขณะที่แม่จิงโจ้มีลูกวัยอ่อน ตัวอ่อนที่ยังไม่คลอดออกมา จะหยุดพัฒนาการเพื่อรอให้ลูกจิงโจ้วัยอ่อนนั้นเติบโตขึ้นมา แล้วจึงมาแทนที่ จิงโจ้จึงเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์และแพร่ขยายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ขณะที่ลูกจิงโจ้โตพอที่จะออกมาอยู่ข้างนอกได้แล้ว และในถุงหน้าท้องมีลูกจิงโจ้อีกตัวที่ยังอาศัยอยู่ แม่จิงโจ้จะไล่ให้ลูกตัวที่โตกว่าไม่ให้เข้ามา อาจจะให้แค่โผล่หัวเข้าไปดูดนม ซึ่งเวลานี้ลูกจิงโจ้ก็ถึงวัยจะที่กินหญ้าเองได้แล้ว แต่ก็มีถึงร้อยละ 80 ที่ลูกจิงโจ้จะตายลงเมื่ออายุได้ 2 ปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง
...