กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
31
Forex / Re: ระบบเทรด SMC คุณภาพสูง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 25/05/25 »
ความสัมพันธ์ระหว่าง BoS กับ โซนราคา
การที่ราคาสามารถวิ่งทะลุ BoS ได้นั้นมันต้องมีแรงหรือพลังค่อนข้างมากผลักดันราคาให้สามารถวิ่งได้แรงๆจนทะลุ BoS ได้ และ แรงที่มีพลังเหล่านี้ก็คือโซนราคาสำคัญนั้นเอง เช่น Demand zone หรือ Supply zone อีกอย่างในบทความคู่มือนี้จะเรียกโซนสำคัญว่า Demand zone หรือ Supply Zone แทนที่จะเรียก Bullish Order Block หรือ Bearish Order Block ซึ่งอาจจะดูไม่คุ้นเคยเท่าไหร่

จริงๆแล้วทั้ง Demand & Supply หรือ Order Block มันก็คือโซนราคาที่ทำหน้าที่เป็นโซนแนวรับ และ โซนแนวต้าน เหมือนกัน ต่างกันที่ Order Block จะโฟกัสมองให้โซนแคบลงเท่านั้น โดย Demand & Supply จะมองโซนเป็นกลุ่มแท่งเทียนพักตัวสะสมกำลัง ส่วน Order Block จะมองโซนเป็นแท่งเพียง 1-2 แท่งเท่านั้น ทำให้ได้โซนที่แคบลง

ตัวอย่างการใช้งาน BoS และ ChoCH
ตัวอย่างการใช้งาน BoS และ ChoCH
32
Forex / Re: ระบบเทรด SMC คุณภาพสูง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 25/05/25 »
BoS และ CHoCH
โครงสร้างราคา BoS (Break of Structure) และ CHoCH(Change of Character) ราคาตลาดเคลื่อนไหวตามแรงซื้อหรือขายหลักหรือแนวโน้มหรือเทรนด์หลักในตลาดได้ไกล แต่ก็จะมีแรงวิ่งสวนทางแนวโน้มหลักเป็นช่วงๆ (Pullback) แต่วิ่งได้ไม่ไกลมาก การที่ราคาวิ่งสวนเทรนด์หลักเพราะเทรดเดอร์เก็บกำไรระยะสั้น และเรื่องของต้นทุนออเดอร์ในขณะที่ราคาวิ่ง และ ผู้เล่นรายใหญ่ทำการเก็บสภาพคล่องในจุดสำคัญๆ ทำให้ราคาไม่วิ่งตรง แต่เคลื่อนไหวเป็นรอบๆ คือวิ่งตามเทรนด์แล้วก็วิ่งสวนเทรนด์ เพื่อรักษาสมดุลในตลาด รูปแบบของการเคลื่อนที่ของราคาสามารถอธิบายได้ด้วย BoS และ CHoCH

โครงสร้างราคา BoS และ CHoCH
โครงสร้างราคา BoS และ CHoCH
CHoCH หรือ Change Of Character คือการเปลี่ยนทิศทางของโครงสร้างขณะนั้น ก็คือการกลับตัวของโครงสร้างขณะนั้นนั้นเอง CHoCH เกิดได้ในทุกๆเทรนด์หลัก และ ทุกเทรนด์ย่อยที่วิ่งสวนทางเทรนด์หลัก CHoCH ก็จะเป็นตัวบอกว่าโครงสร้างของเทรนด์ขณะนั้นได้กลับทิศทางแล้ว สมมุติเป็นเทรนด์ขาขึ้นราคาได้วิ่งขึ้นไป และ ได้เกิดการวิ่งสวนทางลงมา (Pullback) หากเราต้องการรู้ว่าราคาจะกลับตัวคืนทิศทางเดิม หรือ การจบการ Pullback เมื่อไหร่ โดยการดูว่าราคาขณะนั้นได้เกิด CHoCH ขึ้นหรือยัง เพื่อเป็นการยืนยันการกลับไปยังทิศทางเดิมคือขาขึ้น

โครงสร้างราคา BoS และ CHoCH
✨ ในคู่มือการเทรด SMC ครั้งนี้เราจะเน้นมองหา สถานการณ์เมื่อราคากำลังเกิดการ Pullback คือราคาวิ่งสวนเทรนด์หลัก เราจะเน้นหา CHoCH ที่ทำลายโครงสร้างของ Pullback ที่ราคาวิ่งสวนเทรนด์นี้ ซึ่งส่งผลให้ราคาวิ่งกลับไปยังทิศทางตามเทรนด์หลักเหมือนเดิม ตรงจุดนี้แหละที่เราจะเข้าเทรดตามเทรนด์หลัก

โครงสร้างราคา BoS และ CHoCH
โครงสร้างราคา BoS และ CHoCH
Market Structure Shift หรือ MSS มักจะพบเห็นตามคลิปสอนการเทรด SMC จริงๆแล้วมันก็คือรูปแบบการเปลี่ยนเทรนด์นั้นแหละครับ เช่น จากขาขึ้นเป็นขาลง หรือจากขาลงเป็นขาขึ้น ซึ่งมักแสดงออกผ่านสัญญาณ CHoCH (Change of Character) ที่บ่งชี้ว่าพฤติกรรมราคากำลังเปลี่ยนไป ในส่วนนี้ยกมาให้เห็นเฉยๆว่า มันไม่ได้มีอะไรพิเศษเป็นแค่ชื่อเรียกเฉพาะบางกลุ่ม บางสำนักแค่นั้น บริบทของมันก็คือการเปลี่ยนเทรนด์นั้นเอง

Market Structure Shift
33
Forex / Re: ระบบเทรด SMC คุณภาพสูง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 25/05/25 »
แนวรับ-แนวต้าน หัวใจของการทำกำไร
แนวรับ (Support) แนวต้าน (Resistance) ถือว่าเป็นเครื่องมือหลักของงานเทรดและเกิดขึ้นมานับร้อยปี แนวรับ-แนวต้าน เป็นเครื่องมือที่ช่วยอธิบายเกี่ยวกับจิตวิทยาการเทรดได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นรายใหญ่ก็อาศัยแนวรับ-แนวต้านนี่แหละเป็นตัวสร้างสภาพคล่องโดยการหลอกกอน SL ของรายย่อย แนวรับ-แนวต้านถือว่าเป็นเครื่องมือที่สุดคลาสสิกมากที่สุดในวงการเทรด เส้นค่าเฉลี่ยก็คือแนวรับ-แนวต้านที่โค้งงอไปตามราคาได้ เส้นเทรนด์ไลน์ก็คือแนวรับ-แนวต้านแบบเฉียง แม้แต่ Fibonacci ก็มองเป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน

ในสมัยก่อนแนวรับ-แนวต้านจะมองกันเป็นเส้นเดียว หรือ มองเป็นระดับราคาใดราคาหนึ่ง หรือ มองเป็นแบบโซนราคาระหว่างราคาหนึ่งถึงราคาหนึ่ง โดยมีหลักการมองว่า หากราคาเข้าไปทดสอบที่โซนราคานั้นหลายๆครั้งแล้วไม่ผ่านถือว่าโซนราคานั้นแข็งแรงมาก ซึ่งวิธีนี้เป็นการมองโซนราคาในภาพรวมกว้างเป็นหลัก ต่อมาก็มีการคิดค้นการมองโซนราคาที่มีนัยยะสำคัญซ้อนเร้นอยู่เป็นการมองโซนราคาในระยะใกล้ โดยมีวิธีคิดที่แตกต่างออกไปว่า หากราคาเข้ามาทดสอบครั้งแรกแล้วราคาดีดออดจากโซนไปได้ไกลกว่าครั้งที่สองหรือสาม หากราคาเข้ามาทดสอบหลายๆครั้ง โซนราคานั้นก็จะยิ่งอ่อนแอ สุดท้ายก็ทะลุไปได้ โซนราคาพวกหลังนี้ได้แก่ Demand Supply หรือ Order Block ซึ่งเป็นการมองโซนราคาในระยะแคบ

การมองพฤติกรรมของราคากับแนวรับ-แนวต้านจะเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบคือ
1. การกลับตัวของราคา (Reversal)
2. การทะลุไปต่อของราคา (Breakout)

ซึ่งทั้งสองรูปแบบมันก็คือการบ่งบอกว่าเมื่อราคาไปทดสอบที่แนวรับ-แนวต้าน จะต้องเกิดปฎิกริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นจุดหรือโซนที่เทรดเดอร์จำนวนมากใช้เป็นบริเวณที่จะเข้าเทรด ก็ถือได้ว่าเป็นการเทรดตามระบบอีกแบบหนึ่ง อย่างน้อยๆคือไม่ได้เทรดมั่วๆแบบไม่มีหลักยึด



โครงสร้างราคา
โครงสร้างราคา (Market Structure) โครงสร้างราคาเป็นตัวหลักสำคัญที่สามารถอธิบายให้เห็นภาพพฤติกรรมของราคาได้เป็นอย่างดี จะทำให้เรารู้ว่าจะเข้าเทรด Buy หรือ Sell ที่บริเวณไหนที่มีโอกาสจะสามารถทำกำไรได้สูง โอกาสขาดทุนน้อย โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โครงสร้างราคาตามทฤษฎีดาว (Dow Theory) เทรดเดอร์ที่ต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพการเทรดจะปฎิเสธที่จะไม่ศึกษาเรื่องโครงสร้างราคาไม่ได้เลย หากปฎิเสธโครงสร้างราคาก็ไม่ต่างกับการหลับตาขับรถซึ่งมีความเสี่ยงที่สูงมาก

กลไกของตลาดหัวใจสำคัญของ SMC
กลไกของตลาดหัวใจสำคัญของ SMC
กลไกของตลาดหัวใจสำคัญของ SMC
34
Forex / ระบบเทรด SMC คุณภาพสูง
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 25/05/25 »
เทคนิค SMC ดีอย่างไร

 เนื้อหานี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคตามแนวคิด Smart Money Concept (SMC) เท่านั้น มิได้มีเจตนาเพื่อชักชวน แนะนำ หรือเสนอให้ลงทุนหรือซื้อขายสินทรัพย์ใด ๆ ทั้งสิ้น


SMC (Smart Money Concept) คือแนวคิดการเทรดที่วิเคราะห์พฤติกรรมของ "Smart Money" หรือนักลงทุนรายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางตลาด โดยพวกเขามักสร้างความผันผวนเพื่อกิน SL (Stop Loss) ของรายย่อยก่อนจะดันราคาไปทิศทางที่ต้องการ การเข้าใจ SMC จะช่วยให้เราเลี่ยงการเป็นเหยื่อ และสามารถเทรดทำกำไรไปพร้อมกับ Smart Money ได้ เทคนิคการเทรดในบทนี้สามารถนำไปใช้เทรดได้กับทุกๆแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น MT4 ,MT5 ,cTrader ,NinjaTrader ,TradingView


SMC คือเทคนิคการเทรดที่สื่อสารโดยตรงกับตลาด เป็นเทคนิคที่แม่นยำมากที่สุด เป็นเทคนิคที่ไม่มีสัญญาณหลอกใดๆ นอกจากเราหลอกตัวเอง เป็นเทคนิคที่สร้างความได้เปรียบในการทำกำไร เพราะเป็นการเทรดตามเจ้าของตลาดโดยตรง

เพื่อให้การใช้งาน ระบบเทรด SMC PRO มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพื้นฐานของเทคนิคการเทรดด้วย SMC ก่อน จึงได้จัดทำคู่มือนี้ขึ้นมาท่านสามารถนำเอาเทคนิคที่นำเสนอนี้ไปใช้เทรดได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ระบบเทรดก็ได้เช่นกัน


Order Flow กลไกของตลาดหัวใจสำคัญของ SMC
Order Flow คือกลไกการไหลของคำสั่งซื้อขายในตลาด ที่ช่วยรักษาสมดุลระหว่างฝั่ง Buy และ Sell เปรียบเสมือนการเดิมพัน ที่ถ้าฝั่ง Buy เปิด 500 Lot ก็ต้องมีฝั่ง Sell รับ 500 Lot เท่ากัน ออเดอร์ฝั่งหนึ่งหายไปจากการ SL/TP/Close ก็จะเกิดออเดอร์ฝั่งตรงกันข้ามขึ้นมาทดแทน เพื่อให้ตลาดเกิดสภาพสมดุล และ เดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น การสมดุลของแรงซื้อและแรงขายจึงเป็นหัวใจสำคัญของตลาดเทรด

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน นักเทรดรายย่อยส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์ โบรกก็ส่งต่อไปยังธนาคารหรือผู้ให้สภาพคล่องที่โบรกคุยงานกันอยู่ พวกธนาคารกับสถาบันใหญ่เหล่านี้จะมีระบบจับคู่คำสั่งซื้อขายระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งกระจายอยู่หลายจุดทั่วโลก คำสั่งซื้อขายจะถูกจับคู่กันในระบบระหว่างสถาบันการเงินเหล่านี้ ทำให้เกิดการซื้อขายขึ้นจริง และราคาก็ขยับไปตามความต้องการซื้อขายที่เกิดขึ้นในระบบนั้นเอง หรือ จะเรียกได้ว่าเป็นการเทรดระหว่างสถาบันการเงินก็ไม่ผิด

จากขั้นตอนซื้อขายที่ต้องส่งผ่านเป็นทอดๆไปสุดที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ จึงเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมผู้เล่นรายใหญ่จึงรู้ว่าตอนนี้มีปริมาณออเดอร์ Buy หรือ Sell อยู่บริเวณนั้นเท่าไหร่ ต้องการเพิ่มอีกเท่าไหร่ เพื่อจะได้ทำการสร้างสภาพคล่องได้ตามจำนวนที่ต้องการ

การเข้าใจ Order Flow ทำให้เรามองเห็นเหตุผลของการทำ Liquidity Sweep คือการกวาด SL เพื่อสร้างสภาพคล่องในตลาดของผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งช่วยให้เราคาดการณ์ ทิศทางราคาล่วงหน้า ได้อย่างแม่นยำ เพราะเข้าใจแรงซื้อขายและการจัดการสภาพคล่องจริงในตลาด

Market order คือออเดอร์ที่เปิดจริงไม่ใช่ Pending Order ถ้าเราเปิดออเดอร์เอง Market order ก็จะเป็นออเดอร์ของเรา แต่หากออเดอร์ของเรา SL หรือ TP ก็จะเกิด Market order ฝั่งตรงกันข้ามที่โอนไปเป็นของคนอื่นที่จะถูกจับคู่ต่อไป

สำหรับเรื่องของ Order Flow นี้เป็นเรื่องที่อาจเข้าใจยาก แต่หากเข้าใจได้ก็ถือว่าดีจะทำให้อ่านเกมของผู้เล่นรายใหญ่ได้แม่นยำมากขึ้น แต่หากไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรสามารถข้ามไปได้

กลไกของตลาดหัวใจสำคัญของ SMC


35
ส่วนที่ 1: แนะนำ 5 โปรแกรมช่วยแต่งกลอนด้วย AI
1. ChatArt【ยอดนิยม】
2. AI Poem Generator
3. PoemGenerator.io
4. DeepAI
5. ChatGPT
36
Forex / Re: สรุปเนื้อหา 9 ข้อ
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 22/05/25 »
1. Mark Minervini – เจ้าพ่อ SEPA System
คนนี้คือสายเป๊ะทุกจุด เขาใช้ระบบที่เรียกว่า SEPA (Specific Entry Point Analysis) เพื่อหาจุดเข้าที่แม่นยำสุดๆ
หุ้นที่เขาชอบจะต้องมีแนวโน้มขาขึ้นแรงแบบ “Super Performance” และต้องมีแรงซื้อมากพอ (วอลุ่มต้องมาด้วย)
Minervini เน้นทั้งพื้นฐานและเทคนิค แต่จะเข้าเทรดเฉพาะจังหวะที่ “คอนเฟิร์มชัดเจน” เท่านั้น
เรียกได้ว่า ถ้ายังไม่ชัวร์ – ไม่เข้าเด็ดขาด
2. David Ryan – ลูกศิษย์สายตรงของ William O’Neil
Ryan เทรดตามระบบ CAN SLIM โดยใช้ทั้งปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคแบบกลมกล่อม
เขาจะรอรูปแบบราคาที่ชัดเจน เช่น Cup with Handle, Flat Base ก่อนเข้าเทรด
สิ่งที่ไอชอบในสไตล์เขาคือ “ความอดทน” เขาไม่เร่ง ไม่รีบ รอแผนมาอย่างเดียว
และพอหุ้นเริ่มวิ่งปุ๊บ ก็พร้อมถือยาวเพื่อดึงกำไรให้มากที่สุด
3. Dan Zanger – เทพกราฟตัวจริง
ถ้าใครเป็นสายเทคนิคแบบไม่สนปัจจัยพื้นฐานเลย คนนี้คือไอดอล
Zanger เทรดด้วยการอ่านกราฟ 100% ใช้ pattern แบบคลาสสิก เช่น Head & Shoulders, Flag, Pennant, Cup & Handle
เขาถือหุ้นสั้น แต่เข้าหนัก และกล้าหมุนพอร์ตไวมาก
จุดแข็งของเขาคือ อ่านพฤติกรรมราคาได้เฉียบขาด แล้วกล้าลุยเมื่อเห็นโอกาส
4. Mark Ritchie II – นักคิดสายจิตวิทยา
Ritchie ไม่ได้เน้นรูปแบบการเทรดมากเท่าคนอื่น แต่เขาเก่งเรื่อง การจัดการความเสี่ยงและ mindset
เขามองว่า การอยู่รอดในตลาดสำคัญกว่ากำไรแบบหวือหวา
เน้นบริหารพอร์ตให้ยั่งยืน และวางกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นเพื่อปรับตามสภาวะตลาด
ถ้าพี่ๆ เคยรู้สึก “วุ่นวายใจตอนเทรด” หรือ “ไม่มั่นใจเวลาเจอ drawdown” ลองศึกษามุมมองของ
37
Forex / สรุปเนื้อหา 9 ข้อ
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 22/05/25 »
สรุปเนื้อหา 9 ข้อ
1. ขนาดการเทรด (Position Sizing)
“ไม่ใช่แค่เทรดถูกทาง แต่ต้องขนาดถูกด้วย”
- ขนาดการเทรด (position size) คือจำนวนเงินที่เราต้องจัดสรรให้กับออเดอร์หนึ่งๆ ซึ่งจะกำหนด ระดับความเสี่ยง โดยตรง
- เทรดเดอร์ระดับโลกอย่าง Mark Minervini แนะนำว่า อย่าเสี่ยงเกิน 1–2% ของพอร์ตต่อการเทรดหนึ่งครั้ง
- หากเจอโอกาสที่มั่นใจมาก เช่น เบรกเอาท์จากฐานที่แน่นด้วย Volume สูง อาจเพิ่ม position size ขึ้น
- ส่วนสำคัญคือ “ไม่เพิ่มขนาดการเทรดในเทรดที่แพ้” ต้องเพิ่มเฉพาะตอนที่ “ตลาดเป็นเทรนด์”
เคล็ดลับ: เริ่มต้นออเดอร์เล็กๆก่อน เพื่อทดสอบตลาด แล้วค่อยเพิ่มขนาดเมื่อแน่ใจ
2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
“อย่าฟังข่าว ให้ดูกราฟ”
- นักเทรด Momentum เชื่อมั่นในการดู พฤติกรรมของราคา (price action) และ ปริมาณ (volume)
- มองหาสัญญาณอย่าง Breakout (ราคาทะลุแนวต้าน) หรือ Pullback ในขาขึ้นที่มีลักษณะ Bullish Flag หรือ Cup & Handle
- Base ที่แน่น ซึ่งเป็นการสะสมหุ้นของรายใหญ่
- ใช้เครื่องมือเช่น Moving Average, Relative Strength, Volume, MACD เพื่อตรวจสอบแรงส่งของราคาที่เกิดขึ้น
เคล็ดลับ: กราฟคือภาพสะท้อนทุกอย่าง แม้ข่าวยังไม่ออก ราคาก็วิ่งไปแล้ว
3. ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentals)
“โมเมนตัมที่ดี มักตามมาด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแรง”
- ถึงจะเน้นเทคนิค แต่นักเทรดหลายคนยังใช้ปัจจัยพื้นฐานช่วยกรองหุ้นที่ “มีของ”
- พิจารณา:
- EPS (กำไรต่อหุ้น) โตต่อเนื่อง
- รายได้โตสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอุตสาหกรรม
- อัตรากำไรขั้นต้นที่แข็งแรง
- หนี้สินต่ำ และ ROE สูง
- หุ้นเติบโต (growth stocks) ที่มีพื้นฐานดี มักให้โมเมนตัมการเติบโตที่ยาวนาน
เคล็ดลับ: ใช้พื้นฐานกรองหุ้น แล้วใช้เทคนิคเลือกจังหวะเข้า


4. สภาวะตลาด (General Market)
“รู้ตัวว่าเล่นอยู่ในเทรนด์อะไร แล้วเทรดให้ถูกจังหวะ”
- ไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน หากตลาดโดยรวมอยู่ในเทรนด์ขาลง การเทรดฝั่ง Long ก็มีโอกาสล้มเหลวสูง
- Momentum Traders
- จะดูภาพใหญ่ผ่านดัชนีเช่น S&P500, Nasdaq
- สังเกต breadth เช่น จำนวนหุ้นที่ทำ New High vs. New Low
- หลีกเลี่ยงการเข้าเทรดตอนที่ตลาดแกว่งแรงหรือขัดแย้งกันหลาย Timeframe
เคล็ดลับ: เทรดเฉพาะตอนที่ตลาดสนับสนุน ไม่ฝืนกระแสใหญ่
5. เกณฑ์การเข้าซื้อ (Entry Criteria)
“เข้าเมื่อทุกอย่างชี้ไปในทางเดียวกัน”
- นักเทรดระดับโลกมี “เกณฑ์เข้าเทรดที่ตายตัว” และไม่ยอมละเมิด
- ตัวอย่าง entry:
- ราคาทะลุแนวต้านหลังสร้างฐานที่แน่น
- Volume เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- ไม่มีแรงขายสวนหรือเกิดแท่ง red candle ใหญ่ระหว่าง breakout
- บางคนรอให้ “เบรก” แล้ว “ย่อกลับมาทดสอบ” เพื่อความปลอดภัย
เคล็ดลับ: อย่าเดา อย่าเร่งจังหวะ รอให้สัญญาณเกิดจริง
6. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
“เงินทุนคือกระสุน อย่าใช้เปลืองถ้าไม่ได้เป้า”
- ตั้ง Stop loss ทุกครั้ง โดยคิดจาก % ความเสี่ยงของพอร์ต
- อย่าถัวเฉลี่ยขาดทุน! เทรดเดอร์ Momentum จะเพิ่มเฉพาะหุ้นที่กำลังทำกำไรเท่านั้น
- ใช้ R-multiple หรือ Reward:Risk Ratio เช่น ต้องอย่างน้อย 2:1
- คำแนะนำจาก Minervini: “เทรดให้ชนะ 50% แต่มี R มากกว่า 2 ก็พอรอดได้แล้ว”
เคล็ดลับ: รอดก่อนรวย อย่าเสี่ยงถ้าไม่มีโอกาสใหญ่
7. การบริหารการเทรด (Trade Management)
“การเข้าถูกทางไม่พอ ต้อง ‘ถือเป็น’ ด้วย”
- จัดการสถานะอย่างมีระบบ เช่น
- เมื่อกำไร 20–30% ให้ย้าย SL ตาม
- แบ่งขายบางส่วนเมื่อถึงเป้าแรก
- ถืออีกบางส่วนเพื่อเล่น trend ใหญ่
- หากราคากลับตัวแรงหรือมีสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์ ต้องพร้อมขายทิ้งทันที
เคล็ดลับ: ไม่ปล่อยให้ขาดทุนย้อนกลับมา บริหารแบบนักธุรกิจ
8. จิตวิทยาการเทรด (Psychology)
“ใจที่แกว่ง คือพอร์ตที่ร่วง”
- เทรดเดอร์ที่ดีต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้
- ไม่โลภตอนกำไร
- ไม่กลัวตอนเข้าเทรด
- ไม่แก้แค้นตอนขาดทุน
- ฝึกวินัย เช่น เขียนบันทึกการเทรด สรุปบทเรียน
- พัฒนาความมั่นใจจาก “แผนที่ใช้ได้จริง” ไม่ใช่ความรู้สึก
เคล็ดลับ: ชนะใจตัวเองได้เมื่อไหร่ กำไรก็อยู่แค่เอื้อม
9. สรุปรวมความคิด (Integrated Thinking)
“ระบบดี + จิตใจมั่นคง + บริหารความเสี่ยงได้ = เทรดเดอร์มือโปร”
- ความสำเร็จไม่ได้มาจากแค่จุดเข้า แต่คือ “กระบวนการที่ครอบคลุมทุกด้าน”
- การเทรดแบบ Momentum ต้องมีระบบที่ทดสอบได้
- วินัยในการทำซ้ำ
- ความเข้าใจตลาดในเชิงลึก
- เทรดเดอร์ที่สำเร็จจะคิดเป็นระบบ (System Thinking) ไม่ทำตามอารมณ์ หรือความรู้สึกชั่ววูบ

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้แค่ช่วยให้เข้าใจการเทรดนะครับ
แต่ยังช่วยให้ “เรารู้จักตัวเอง” มากขึ้นด้วยว่าเราชอบแบบไหน เหมาะกับสไตล์ใคร
สุดท้าย…ไม่มีสไตล์ไหนดีหรือแย่กว่า แต่อยู่ที่ว่า “เราคุมมันได้มั้ย” ต่างหากครับ
ถ้าใครอ่านถึงตรงนี้ แล้วชอบ คอมเม้นท์
38
Forex / แพ้แต่ไม่พัง ทำไม SL จึงไม่ใช่ความล้มเหลว
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 13/05/25 »
แพ้แต่ไม่พัง ทำไม SL จึงไม่ใช่ความล้มเหลว
พี่ๆเคยเจอกันบ้างไหมครับ
เวลาไม้ที่ตั้งใจวางแผนดีๆ แล้วมันไม่เป็นไปตามที่คิด
แทนที่ราคาจะวิ่งไปทาง TP กลับพุ่งไปโดน SL เฉยเลย
บางครั้งมันก็แค่ ผลลัพธ์มันไม่ได้เป็นแบบที่เราคิดไว้เลย
แต่กระบวนการคิด กระบวนการวางแผน เราทำมันถูกต้องหมดแล้วนะครับ
เมื่อเรา SL ไม่ได้แปลว่าเราพลาด แต่มันคือราคาที่ต้องจ่าย เพื่อจะเข้าใจตลาดมากขึ้น
แผนนึงที่ไอเคยเข้าไว้ ใช้ divergence MACD ยืนยันชัดเลย
ราคาก็เข้าโซนที่มองไว้เป๊ะ
เข้าไม้ไปแบบมั่นใจมาก
สุดท้ายก็โดน SL แล้วราคาก็วิ่งขึ้นต่อเหมือนไม่แคร์เราเลย
ตอนนั้น ยังจัดการอารมณ์ได้ไม่ดีพอ อารมณ์มาเต็ม
แต่พอไอหยุดคิด ไอก็ถามตัวเองกลับว่า
- แผนที่วางมันมีเหตุผลมั้ย?
- จุดเข้าโอเคมั้ย?
- SL อยู่ตรงไหน? ตามระบบจริงๆหรือเปล่า?
สุดท้ายคำตอบคือ มันก็โอเคทั้งหมดนั่นแหละครับ
แค่ตลาดมันไม่ไปทางที่เราอยากให้ไปเท่านั้นเอง
คนที่อยู่รอดในตลาด ไม่ใช่คนที่ไม่แพ้เลย
แต่เป็นคนที่ “แพ้เป็น”
เพราะยังไงเราก็หนี SL ไม่ได้อยู่ดี
มันคือส่วนหนึ่งของเกมนี้
อยู่ที่ว่าเราจะปล่อยผ่านไปเฉยๆ หรือจะหยิบมันมาคิด แล้วเก็บไว้เป็นบทเรียน
สำหรับไอ ไอเลือกอย่างหลัง
ไอเก็บทุกไม้แพ้ไว้ใน journal
ไม่ใช่แค่เพื่อจำ แต่เพื่อเข้าใจมันให้มากขึ้น
ชนะไม่ได้แปลว่าเราเก่งเสมอไป แพ้ก็ไม่ได้แปลว่าเราแย่
บางไม้ที่ชนะ มันเกิดจากดวง
บางไม้ที่แพ้ มันเกิดจากการวางแผนที่ดี แต่แค่กราฟไม่เป็นใจ
แล้วเราจะเอาผลลัพธ์มาตัดสินคุณค่าตัวเองทำไม ถูกมั้ยครับ?
สิ่งสำคัญกว่ากำไร คือ การอยู่ให้รอด และอยู่ให้ได้นาน
แต่ถ้าเราเสียใจกับไม้เดียวจนไม่กล้ากลับมาใหม่ อันนั้นต่างหากที่น่าเสียดาย
เพราะบางที บทเรียนที่เราต้องการที่สุด อาจซ่อนอยู่ในไม้ถัดไปก็เป็นได้ครับ อาจจะเป็นแผนที่ทำให้เราตกผลึกอะไรบางอย่าง
สุดท้ายไออยากจะบอกว่า อย่ากลัวแพ้
ทุกไม้ที่เข้า ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ มันมีบทบาทของมันเสมอ
บางไม้ให้กำไร บางไม้ให้บทเรียน
แต่ถ้าเราไม่หยุดเรียนรู้ ไม่เลิกเชื่อในเส้นทางของตัวเอง
วันหนึ่ง พี่ๆจะกลายเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จได้แน่นอน
ไม่ใช่เพราะโชคช่วย
แต่เพราะพี่ๆ “กล้าเดินต่อ” ในวันที่หลายคนยอมแพ้

39
Forex / วิธีการ vs มายด์เซ็ทในการเทรด
« กระทู้ล่าสุด โดย admin เมื่อ 13/05/25 »
วิธีการ vs มายด์เซ็ทในการเทรด
– มีแค่เทคนิคดีเพียงพอไหม? หรือจิตใจต้องพร้อมด้วย?
“ทำไมเราเทรดระบบเดียวกันเป๊ะๆ แต่บางคนล้างพอ์รต บางคนกลับทำกำไsได้?"
ถ้าเราเคยถามคำถามนี้กับตัวเอง ไออยากบอกว่า พี่ไม่ได้ล้มเหลวซะทีเดียว แต่ยังขาดคุณสมบัติบางอย่างที่เทรดเดอร์มืออาชีพ....ต้องมีให้ครบ
คำถามที่ตามมาด้วยคำตอบในบทความนี้ จะเปลี่ยนทัศนคติต่อโลกการเทรดและมุมมองของเราไปเลย..
คำตอบคือ → เทรดให้สำเร็จไม่ได้อยู่แค่ “How to ” หรือวิธีการเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องมาพร้อมกับ “Mindset” หรือทัศนคติที่ถูกต้องด้วย
เพราะการเทรดคือ “เกมของนักคิด” ไม่ใช่ “เกมของนักเดา”
พี่ๆ ลองนึกภาพดู…
How to (วิธีการ) = กระบี่ที่โคตรคม
Mindset (วิธีคิด) = นักดาบที่ตวัดกระบี่นั้น
ถ้าพี่ถือดาบดีสุดในโลก แต่ไม่มีวินัย ไม่มีกึ๋น ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรฟัน เมื่อไหร่ควรรอ หรือเองแม้กระทั่งเมื่อไหร่ควรหยุด สุดท้ายก็แพ้ให้กับคนที่มีดาบธรรมดาแต่ฝึกฝนมาอย่างหนักอยู่ดี..
"กระบี่อยู่ที่ใจ แม้นไม้ไผ่ก็ไร้เทียมทาน"
การเป็นเทรดเดอร์ก็เหมือนกัน
- มีระบบดีแต่ขาด Mindset → พอร์ตพังเพราะใจไม่นิ่ง
- มี Mindset ดีแต่ขาดระบบ → พอร์ตไม่โต เพราะไม่มีหลักการ ขาดความสามารถในการทำซ้ำ
- มีทั้งสองอย่าง → นี่คือเทรดเดอร์ที่อยู่รอดและกำไร
 ทำไมคนบางคนเทรดกำไsได้ต่อเนื่อง แต่บางคนล้างพอร์ตตลอด?
 เคยสงสัยไหมว่า…
- ทำไมบางคนแม้เทรดแย่ แต่พอร์ตไม่ล้าง?
- ทำไมบางคนเก่งเรื่องกราฟ แต่สุดท้ายก็หมดตัว?
...คำตอบคือ พวกเขามีวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน
คนที่กำไรได้… ไม่ใช่เพราะพวกเขา “รู้มากกว่า” แต่เพราะพวกเขา “คิดต่างกว่า”
ไออยากให้พี่ๆ ลองเปลี่ยนมุมมอง
เลิกคิดว่า → “ต้องเทรดชนะทุกไม้”
เปลี่ยนเป็น → “ต้องอยู่รอดให้ได้ในเกมระยะยาว”
คนที่รอดในตลาด ไม่ใช่คนที่เทรดเก่งที่สุด… แต่คือคนที่ “ปรับตัวเก่งที่สุด” ในวันที่ตลาดไม่เป็นใจ เขาแพ้ศึก แต่ชนะสงครามในระยะยาว เพราะเมื่อชนะ จะได้มากกว่าตอนแพ้เสมอ (RRR)
HOW – เทรดยังไงให้ได้กำls?
พี่ๆ เคยเห็นไหม? บางคนมีสูตรเทพ มีระบบที่ดี แต่ยังขาดทุน… เพราะอะไร?
เพราะพวกเขา “ขาดความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ”
1. วิเคราะห์ตลาดให้เป็น (Market Analysis)
พี่ๆ เคยเดาตลาด แล้วผิดทางกันไหมครับ?
เทรดเดอร์ที่ดี ไม่ใช่คนที่ทำนายอนาคตเก่ง แต่คือคนที่อ่านปัจจุบันได้แม่น
วิธีการที่ไอมักใช้ในการดู Market Structure
Smart Money Concept (SMC) และ Volume Profile
ตัวอย่างจริง
กลยุทธ์ที่ไอใช้บ่อยๆ หลักๆจะต้องหาโซน Demand,Supply ของ HTF ก่อนเสมอ เช่นเรารู้ว่าโครงสร้างราคาปัจจุบันเป็น SW ไอมาร์คจุดไว้ เพื่อรอการ CHoCH ใน LTF
ตอนนั้นราคาได้ขึ้นมาทดสอบโซน Supply HTF มีการ CHoCH ใน LTF และกลับมาทดสอบ Order block อีกครั้ง จึงตัดสินใจเข้าออเดอร์ตามแผน … โป๊ะ! ราคากลับตัวลงตรงจุดนั้นพอดี
เพราะการวิเคราะห์ตลาดที่ถูกต้องทำให้ไอเทรดแบบ “เห็นภาพ” ไม่ใช่เดา
2. ควบคุมความเสี่ยง (Risk Management)
“ไม่มีใครรวยจากไม้เดียว แต่มีหลายคนหมดตัวจากการขาดทุนเพียงครั้งเดียว
สิ่งที่ไอทำ:
✔ Risk-to-Reward Ratio (RRR) ไม่น้อยกว่า 1:2 หรือ 1:3
✔ ไม่เสี่ยงเกิน 1-2% ของพอร์ตต่อออเดอร์
✔ ตั้ง Stop Loss (SL) ชัดเจน ไม่ดื้อเด็ดขาด
บทเรียนจากประสบการณ์
ไอเคยคิดว่า “ไม้สุดท้ายนี้แหละ ชัวร์ ถูกทางแน่นอน!” แต่ตลาดไปคนละทางเลย แล้วเลื่อน SL หนี … ผลคือ ล้างพอร์ต  = เพราะตลาดไม่เคยสนใจว่าเราคิดอะไร
3. เทรดตามแผน ไม่เทรดตามอารมณ์ (Trading Plan)
“พอร์ตส่วนใหญ่ไม่ได้ล้างเพราะระบบไม่ดี แต่มันล้างเพราะเจ้าของพอร์ตใจไม่นิ่ง”
ไอเคยเริ่มวันด้วย -100$ แล้วหัวร้อน เทรดต่อไปเรื่อยๆ … สุดท้าย -1,000$
สาเหตุมาจากขาดการคุมอารมณ์ คุมอารมณ์ไม่ได้ = อารมณ์เข้ามาเทรดแทน
MINDSET – จิตวิทยาการเทรดจึงสำคัญกว่าที่คิด
พี่ๆ เคยรู้สึกมั้ย?
- มีระบบเทรดดีๆ แต่พอร์ตไม่โต?
- บางวันกำไs บางวันพอร์ตพัง เพราะ “อารมณ์ล้วนๆ”
- เวลาเสีย มักจะรีบเข้าไม้ใหม่เพราะอยากถอนทุนคืน
- เวลาได้กำไร ก็กลัวเสียคืน เลยปิดเร็วเกินไป
ถ้าเคยเจอแบบนี้ ไอว่า “ปัญหาอาจไม่ใช่ที่ระบบ แต่เป็นที่ MINDSET”
ถ้าคุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ มาเรียนรู้เคล็ดลับจิตวิทยาการเทรด ที่ช่วยให้พอร์ตเติบโตได้จริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู
ทำไมเทรดเดอร์ถึงพังเพราะจิตวิทยา?
ไอยกตัวอย่างง่ายๆ…
พี่ A มีระบบที่แม่น 80%
แต่พอเจอ 3 ไม้ติดลบ เริ่มลังเล เปลี่ยนระบบใหม่ พอเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สุดท้ายพอร์ตไม่ไปไหน
พี่ B ได้กำไsอยู่ดีๆ
แต่พอเห็นกราฟยังวิ่งต่อ ก็เข้าเพิ่มเพราะ “เสียดายโอกาส” สุดท้ายโดนลากกลับมาขาดทุน
พี่ C ตั้ง Stop Loss ไว้แล้ว
แต่พอราคาวิ่งใกล้ๆ กลับขยับ SL หนี เพราะ “คิดว่าเดี๋ยวมันเด้ง” สุดท้าย สลิปเพจ ปลิว ไปเลย
ไอถามพี่ๆ… ปัญหาคือระบบ หรือจิตใจ?
ใช่แล้วครับ มันคือจิตใจ ไม่ใช่ระบบ!
แล้วเทรดเดอร์ที่รอด เขาคิดยังไง?
- พวกเขาเข้าใจว่า การแพ้เป็นส่วนหนึ่งของเกม
- พวกเขาโฟกัสที่กระบวนการ ไม่ใช่แค่กำไรขาดทุน
- พวกเขามีวินัย ทำตามแผนเสมอ
ไอรู้จักพี่เทรดเดอร์คนหนึ่งที่ทำกำไรได้ทุกปี เพราะเขา “ไม่สนว่าออเดอร์นี้จะชนะหรือแพ้” แต่เขา “สนใจว่า 100 ออเดอร์ผลรวมแล้ว เขายังทำกำไs ได้หรือเปล่า?”
แนวคิดนี้จึงเป็นนี่ความแตกต่างระหว่างผีพนัu vs. เทรดเดอร์ตัวจริง
แล้วพี่ๆ จะสร้าง MINDSET เทรดเดอร์ยังไงดี?
1. ฝึกมองเทรดเป็น % ของพอร์ต ไม่ใช่เงินสด
ถ้าพอร์ต 1 ล้าน แล้วเสีย 1% = ขาดทุนแค่ 10,000 บาทแต่ถ้าคิดว่า “เฮ้ย! 10,000 หายไปแล้ว” ความกลัวจะครอบงำ
2. เทรดตามแผน ไม่ใช่ตามอารมณ์
กำไร = เก็บไปตามระบบ
ขาดทุน = ปิดแล้วไปต่อ ไม่ต้องแก้แค้นตลาด
3. หยุดเทรด ถ้าหัวร้อน!
พอร์ตไม่หายไปไหน แต่ถ้าอารมณ์พังก่อน = พอร์ตหายแน่
4. คิดแบบ “เจ้ามือ” ไม่ใช่ผีพนัu
ถ้าพี่เป็นเจ้ามือคๅสิโน (House) พี่จะไม่สนว่าคืนนี้ใครชนะ ใครจะllจ็กwoตแตก แต่จะสนว่า “สุดท้ายระยะยาว ตัวเองกำไsหรือเปล่า?” และแน่นอนครับสุดท้ายเจ้ามือชนะเสมอ เพราะเขามีระบบ และปล่อยให้ระบบทำงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ ไม่ปล่อยให้สภาวะอารมณ์เข้ามาเกี่ยว
สรุป
Mindset ที่ดี = พอร์ตที่โตได้จริงครับ
แต่อย่าลืมว่า “การเทรดคือเกมระยะยาว” คนที่แพ้คือคนที่คุมอารมณ์ไม่ได้ แต่คนที่รอดคือคนที่ “เล่นตามกฎของตัวเองได้ตลอด”
พี่ๆ เคยมีโมเมนต์ที่รู้สึกว่า “ถ้าวันนั้นควบคุมอารมณ์ได้ ป่านนี้พอร์ตคงไม่พัง” มั้ย? หรือเคยเจอจังหวะที่ตลาดทดสอบจิตใจสุดๆ แล้วฝืนไม่ทำตามแผน สุดท้ายพังไปเอง?
ถ้าเคยละก็ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยน เพราะเราไม่สามารถคาดหวังผลลัพธ์แบบใหม่จากการกระทำแบบเดิมๆ ได้..
ขอให้โชคดี มีวินัยครับผม
______________________
 สำหรับไอ คำขอบคุณที่มีความสุขที่สุด ไม่ใช่แค่การกดไลค์หรือคอมเมนต์บอกว่า “ขอบคุณนะ” แต่คือการที่พี่ๆ มาแชร์ โมเมนต์การเทรด ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นจังหวะที่พลาด หรือช่วงที่เอาชนะความกลัวของตัวเองได้
เพราะทุกเรื่องราวที่พี่ๆ แชร์ ไม่ใช่แค่บทเรียนของตัวเอง แต่ยังช่วยให้คนอื่นได้เรียนรู้ไปด้วยกัน
มาแลกเปลี่ยนกันนะครับ ไออยากฟังว่าพี่ๆ เคยเจออะไรบ้าง แล้วผ่านมันมาได้ยังไงเม้นเลย

40
เทรดตามสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่คิดแล้วชีวิตคุณจะเปลี่ยนไป
“การเทรดคือ Reaction ไม่ใช่ Prediction” อ่านบทความนี้ให้จบแล้วผลการเทรดจะดีขึ้น 80%
สวัสดีครับพี่ๆช่วงนี้ไอสังเกตเห็นคอมเม้นท์ในกลุ่มเทรดต่างๆ ถามคำถามเดียวกันเยอะมากๆ
- ทองน่าจะ Buy หรือ Sell ดี เห็นราคาขึ้นมาเยอะ?
- ทองน่าจะขึ้นนะ Buy ดีมั้ย?
- ทองน่าจะขึ้นมาสูงแล้ว เริ่ม Sell ได้ไหม?
ในทุกประโยคมีคำว่า “น่าจะ” และเต็มไปด้วยความไม่มั่นใจ ไอเข้าใจความรู้สึกนี้ดี เพราะตอนเริ่มเทรดใหม่ๆ ไอก็เคยคิดแบบนี้... จนวันนึงเจอบทเรียนราคาแพงที่โดนแล้วโดนอีกจนต้องบังคับให้ตัวเองเปลี่ยนวิธีคิดไปเลย
 บทเรียนที่เปลี่ยนมุมมองไอไปตลอดกาล
ช่วงนั้นเป็นช่วงโควิทระบาด ทองพุ่งไม่หยุดขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข่าวร้ายออกมาเพียบและทุกสำนักวิเคราะห์บอกว่าต้องขึ้นต่อแน่นอน
ไอก็คิดเหมือนคนอื่นๆ ว่า...
"ขึ้นแรงขนาดนี้ ต้องไปต่อแน่ๆ"
"ข่าวร้ายขนาดนี้ ไม่ขึ้นได้ไง"
"รีบ Buy เลยดีกว่า เดี๋ยวจะตกรถ"
สารพัดความคิดที่ใช้เทรด มันแล่นเข้ามาในสมองรัวๆ
ผลลัพธ์ก็คือไอเปิด Buy ด้วย Lot ใหญ่ที่สุดในชีวิต... ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้นน่าจะ 17 lot พอร์ตส่วนตัวด้วยไม่ใช่พอร์ตกองทุน สิ่งที่ไอทำคือ
- ไม่ได้รอสัญญาณยืนยัน
- ไม่ได้ดูแนวต้านสำคัญ
- ไม่ได้วาง Stop Loss
แค่เทรดด้วยความรู้สึกว่า "น่าจะ"
และแล้ว... ราคาก็พลิกทันทีที่ไอเข้าเทรด
พอร์ตติดลบ Drawdown ทันที 30% ใน 30 นาทีแรก
จากนั้นก็พยายามถัวไม้จนติดลบเกือบ 50%
และต่อมาก็ระเบิด เงินหลักล้านหายไปในพริบตา...
นั่นคือผลของการเทรดด้วยการคาดเดาหรือคาดการณ์
 แล้วจริงๆเราควรเทรดยังไง?
การเทรดที่ดีต้องเป็น "Reaction" ไม่ใช่ "Prediction"
คือการเทรดตามสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่เราคิด เทรดแบบตอบสนองตลาด ไม่ใช่นำตลาดไปก่อนด้วยความคิดที่ว่า “น่าจะ”
มาดูตัวอย่างการเทรดแบบ Reaction กันครับ
 เทรดแบบ Reaction (ตอบสนอง)
- เห็นราคาวิ่งขึ้นแรง
- รอให้มาถึงแนวต้านสำคัญที่ 2050
- ดูว่ามี Pin Bar หรือ Evening Star ไหม
- ถ้าเห็นสัญญาณกลับตัว ค่อยเข้า Sell
- วาง SL เหนือ High ของแท่งกลับตัว
ซึ่งแตกต่างจากการเทรดแบบคาดเดา
 เทรดแบบ Prediction (คาดเดา)
- เห็นราคาวิ่งขึ้นแรง
- คิดว่าต้องย่อแน่ๆ
- รีบ Sell ทันทีโดยไม่รอสัญญาณ
- ไม่ได้วาง SL
- เจอราคาวิ่งต่อจนติดดอย
เห็นความต่างไหมครับ? คนนึงรอให้ตลาดพิสูจน์ตัวเองก่อน อีกคนรีบเทรดตามความรู้สึก
 เทคนิคเพิ่มเติมในการเทรดแบบ Reaction
1. รอให้ราคามาหาเรา ไม่ใช่ไล่ล่าราคา ซุ่มรอดั่งสไนเปอร์ ทริกเกอร์ดั่งนักแม่นปืน
ทริคที่ไอใช้
- ถ้าตลาดขาขึ้น = รอย่อตัวที่แนวรับ
- ถ้าตลาดขาลง = รอดีดที่แนวต้าน
เช่น ถ้าเห็นราคาวิ่งลงแรงๆ อย่าเพิ่งรีบ Sell
รอให้มันดีดกลับไปที่แนวต้านก่อน แล้วค่อยหาสัญญาณขาลงที่ชัดเจน
2. ตั้งเงื่อนไขก่อนเทรดทุกครั้ง
สิ่งที่ไอต้องเห็นก่อนเทรด
- Market Structure ต้องชัดเจน (Higher High/Lower Low)
- FVG หรือ Order Block รองรับ
- แท่งเทียนยืนยันทิศทาง (Pin Bar, Engulfing)
- MACD ยืนยัน (วิธีดูกลับไปอ่านบทความเก่าครับ)
ถ้าไม่ครบเงื่อนไข = ไม่เทรด
เพราะการรอโอกาสที่ดี ดีกว่าการรีบเทรดแล้วเจ็บตัว
 มาดูตัวอย่างการใช้ Reaction Trading จริงๆ
เมื่อวันก่อนไอเจอ Setup สวยๆ ในทองคำ
1. สถานการณ์ตลาด =
- ทองกำลังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น
- ราคาย่อตัวลงมาที่แนวรับ 2841
- มี Order Block รองรับ
- ราคามีการกวาดสภาพคล่อง
2. เงื่อนไขที่ไอรอ =
- ต้องเห็น Price Action ที่เกิดขึ้นบริเวณแนวรับ
- MACD ต้องแสดง Bullish Divergence
- มีการยืนยัน ChoCh ใน LTF
- ต้องมี FVG
- ราคาเบรก Trendline
3. การเข้าเทรด =
- รอจนเห็นครบทุกเงื่อนไขตามระบบเรา
- เข้า Buy ที่ 2841
- SL ใต้  Order block
ผลลัพธ์ = กำไร 1,000 จุด โดยไม่ต้องเครียดเลย เพราะทุกอย่างเป็นไปตามแผนและถึงแม้ไม่ได้เป็นไปตามแผนเราก็มีแผนรองรับ นั่นคือ SL เพื่อนรักของเรา
 3 เคล็ดลับเพิ่มเติมที่ทำให้ไอเทรดแบบ Reaction ได้ดีขึ้น
1. มอง Multi-Timeframe เสมอ
ไอใช้หลัก Top-Down Analysis ในการวิเคราะห์ คือการวิเคราะห์จากภาพใหญ่ไปหาภาพเล็กเสมอ
- H4 = ดูเทรนด์หลัก (HTF – Higher Timeframe)
- H1 = หาจุดเข้าเทรด (MTF – Middle Timeframe)
- M15 = Fine-tuning จุดเข้า (LTF – Lower Timeframe)
เช่น....
ถ้า H4 เป็นขาขึ้น
แต่ H1 ยังไม่มีสัญญาณ Buy ที่ชัดเจน
= รอต่อดีกว่า
2. ใช้ Confluence ให้มาก แต่ไม่มากเกินไปจน Over fitting 
หลักไอใช้เทคนิค
- Market Structure
- Order Block/FVG
- MACD Divergence
- Volume Analysis
- แนวรับ/แนวต้านสำคัญ
3. เขียน Trading Journal ทุกวัน
สิ่งที่ไอจดทุกครั้ง
- เหตุผลที่เข้าเทรด
- แคปหน้าจอก่อนเข้า
- อารมณ์ตอนเทรด
- ผลลัพธ์และบทเรียน
สิ่งที่ไอแชร์มันเหมือนจะเยอะ แต่แค่เราปรับวิธีคิด วิธีเทรด สร้างกระบวนการณ์ใหม่ๆ เพื่อคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างเพียงเท่านี้เราก็มีผลการเทรดที่ดีขึ้นแล้วครับ
 สรุปสิ่งที่อยากฝากไว้
การเทรดที่ดีไม่ได้มาจากการเดาทิศทางตลาด แต่มาจากการรอให้ตลาดพิสูจน์ตัวเองหรือเฉลยทิศทางก่อน แล้วค่อยตอบสนองอย่างมีแผน “Trade what you see, not what you think!”
เทรดสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่คิด
 3 สิ่งที่ควรจำ
1. ตลาดเคลื่อนที่ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่เราคิด
2.การรอโอกาสที่ดี ดีกว่าการรีบเทรดแล้วเจ็บตัว ตกรถดีกว่าโดนลาก
3.เทรดตามแผนและระบบ ไม่ใช่ตามความรู้สึก เพราะเราคือนักเทรดไม่ใช่ผีพนัน
สุดท้ายนี้ ไอหวังว่าประสบการณ์และเทคนิคที่แชร์มาจะช่วยให้ทุกคนเทรดได้ดีขึ้นนะครับ
*จำไว้ว่า
ตลาดจะอยู่ที่เดิมเสมอ แต่เงินในพอร์ตเราอาจจะไม่อยู่ ถ้าเราไม่รู้จักการรอคอย
ใครอ่านจบถึงตรงนี้ คอมเม้นท์ “รอ” ครับ แล้วเราจะสำเร็จไปด้วยกันขอให้ทุกคนเทรดอย่างมีกำไรครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10