ผู้เขียน หัวข้อ: Mental barrier - จิตใต้สำนึกที่ขัดขวางความสำเร็จของตัวคุณ  (อ่าน 851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Mental barrier - จิตใต้สำนึกที่ขัดขวางความสำเร็จของตัวคุณ

เช้านี้ผมมานั่งสำรวจดูว่าทำไมเพื่อนๆหลายคนรู้แล้วว่าธุรกิจไหนสามารถทำเงินและสร้างอิสระภาพให้เราได้แต่กลับ... ไม่สามารถทำมันให้สำเร็จได้

หลังจากสำรวจแล้วพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากเรื่องของจิตใต้สำนึกที่ผมจั่วหัวข้อไว้มากกว่า เช่น...

ผมได้รับคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำ Mobile Apps ประมาณนี้...

- อีก 2 ปีธุรกิจนี้จะเป็นอย่างไร?
- แอปที่เราสร้างจะเป็นอย่างไรถ้าในอนาคต XYZBLAHBLAHBLAH?
- ต้องใช้เวลาวันละกี่ชั่วโมงถึงจะสร้างเงิน $1,000/วัน?
- จะเริ่มยังไงตอนนี้ไม่มีความรู้เลย?

จริงๆแล้วคำถามเหล่านี้ผมไม่สามารถตอบได้หรอกครับ เพราะแต่ละคนแตกต่างกัน และผมก็ไม่สามารถหยั่งรู้อนาคตได้ครับ

ยิ่งแล้วใหญ่เมื่อบางคนเข้ามาถามผมแบบนี้...

- ขอดูแอปพี่สักตัวได้ไหมครับ?

ซึ่งคนที่ถามคำถามผมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้ว "ไม่ลงมือทำ" ครับ หรือทำก็ทำแบบทีเล่นทีจริงคือถ้าทำแล้วล้มเหลวก็สามารถโทษอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเองได้

มันทำให้ผมฉุกคิดได้ถึงต้นเหตุของปัญหาซึ่งเป็นที่มาของคำถามเหล่านี้ ซึ่งต้นเหตุในระดับแรกก็คือ...

"ความกลัว"

คนที่มาถามคำถามผมแบบนี้คือคนส่วนใหญ่ที่ติดปัญหาเรื่องจิตใต้สำนึกหรือ Mental barrier!

แท้จริงแล้วเค้ากลัวว่าถ้าไปทำเองแล้วจะล้มเหลว เลยต้องการถามเพื่อให้เห็นภาพชัดๆหรือบางคนก็คิดแค่ว่าเห็นแล้วจะเอาไปทำเลียนแบบ ซึ่งอาจจะนำไปเลียนแบบ+พัฒนา หรือเลียนแบบไปเลยผมก็ไม่สามารถทราบได้

พอมองเข้าไปจริงๆแล้วก็ไปเข้าแก๊ปในสิ่งที่ผมเคยศึกษามาที่ว่า แท้จริงแล้วที่คนเราไม่ยอมลงมือทำแต่กลับยอมอยู่เฉยๆจริงๆเหตุผลคือกลัว... กลัว

"ความเจ็บปวด" - หรือ Pain นั่นเอง!

ใช่แล้วครับ เค้ากลัวที่จะล้มเหลวแล้วเจ็บปวด เลยเลือกที่จะไม่ลงมือทำนั่นเอง จะได้ไม่ต้องเจ็บ

มันไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ แต่ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จ มันต้องลงมือทำแล้วล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวครับ

มาถึงตรงนี้ผมก็อยากแบ่งปันเคล็ดลับการเปลี่ยนความกลัวการเจ็บปวดให้กลายมาเป็นพลังแบบง่ายๆครับ

ความกลัวมันมีข้อดีคือมันเป็นแรงขับเคลื่อนคนเราได้ดีที่สุดแล้ว แม้แต่ความสุขก็ยังสู้ไม่ได้ งั้นเราลองมาใช้ความกลัวในทางบวกกันครับ

ทุกคนสามารถกลัวได้ครับ แต่แทนที่จะกลัวล้มเหลวแล้วเจ็บปวด ลองเปลี่ยนมุมมองการกลัวมาเป็นการกลัวว่า...

ถ้าเราทำไม่ลงมือทำเราจะรู้สึกเจ็บปวดอะไรบ้าง... เช่น

- ครอบครัวผิดหวัง
- จน
- ลำบาก
- คนรอบข้างดูถูก

แบบนี้ความกลัวความเจ็บปวดเหล่านี้อาจจะช่วยให้เราลงมือทำได้มากขึ้นครับ

ขอให้โชคดีครับ
smile emoticon

ปล.วิธีนี้เป็นวิธีของ Anthony Robbins นะครับ จากการเรียนรู้เรื่อง Pain & Pleasure ครับ