ผู้เขียน หัวข้อ: เจอ ปัญหา ที่ ข้อ มูล ที่บันทึกแล้ว หาย ใน ฐานข้อมูล แล้ว ....  (อ่าน 1358 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2591
  • คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนใหญ่โตไม่อวด
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
เจอ ปัญหา ข้อมูล ที่บันทึกแล้ว หาย ใน ฐานข้อมูล Access แล้ว ....

น่าจะเกิดจาก ไฟ ดับบ่อย ไฟ ตก ประจำ  แล้ว เครื่อง Server ไม่มี อุปกรณ์สำรองไฟ ที่ มีประสิทธิภาพเพียงพอ
จาก ข้อมูล นี้
----------------------------------------------------------------------------
เราเคยสงสัยไหมว่า UPS ขนาด x VA เนียะ บางทีมันก็มีรุ่นคาบเกี่ยวยกตัวอย่างเช่น 1000VA ของรุ่นนึงมัน 3-4 พันบาท แต่กับ 1000VA กับอีกรุ่นนึง ทะลึ่ง หมื่นกว่าบาท โอ้ ต่างกัน 3 เท่าเลยนะ นั้นมันเป็นเหตุให้ชวนสงสัย บางคนก็นำมาใช้ปนกันแล้วก็พบว่า เออมันก็ใช้ได้นี่จะซื้อลูกละหมื่นทำไมว่ะ ซื้อพันก็พอ จริงๆมันก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับผม เพราะผมก็เกิดความสงสัย สุดท้ายด้วยความที่ตัวเองไม่ได้มีฟอร์มมาก ไม่กลัวคนหาว่าโง่ ก็เลยถามเลย ก็ต้องขอบคุณ Emerson PM ที่ให้ความกระจ่างในครั้งนี้ได้อย่างจริงๆจังๆ ก็เลยพอจะสรุปมาให้เพื่อนๆฟังว่า UPS จริงๆแบ่งออกเป็น

3 ชนิดด้วยกัน เขาเรียกว่า Off-line / Line Interactive / On-line

ก่อนอื่นขอปูพื้นเรื่องไฟฟ้าก่อน ไฟฟ้าบ้านเราที่เราเสียบปลั๊กกันนั้นมาแบบ AC (กระแสสลับ) ซึ่งจะมาเป็นคลื่น ที่ไม่ค่อยเสถียรภาพเท่าไร ถ้าเขียนบอกมามันก็จะเหมือนกับหุ้น ที่ขึ้นๆลงๆ ไม่ค่อยนิ่ง กับมันมีไฟอีกชนิดนึงที่เรียกว่า DC (กระแสตรง) ซึ่งเป็นเส้นตรง มีความเสถียรภาพสูง

1. Off-line UPS
มักจะอยู่บน UPS ตั้งแต่ 500VA – 1000VA หลักการทำงานของมันก็ง่ายๆคือ ขณะที่ไฟติด กระแสไฟ AC จะวิ่งเข้า UPS วิ่งตรงไปที่อุปกรณ์ของเรา เช่น PC/Server ก็ว่ากันไป ไม่มีการแปลงสัญญาณแต่อย่างใด มาแบบไหน เข้าแบบนั้น กรณีไฟดับ ก็ใช้ไฟจากแบตตารี่ แบบนี้หากเป็นอุปกรณ์ที่ความ Sensitive สูงก็ไม่แนะนำ เพราะจะทำให้อุปกรณ์เสียง่ายเพราะได้รับไฟที่ไม่เสถียร

2. Line Interactive UPS
มีตั้งแต่ UPS 500 – 3000VA หรือบางยี่ห้อก็ใหญ่โตไป ระดับ 10,000VA ก็มี หลักการทำงานก็คือ เมื่อกระแสไฟฟ้า AC จากไฟบ้านเข้ามา จะผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Voltage Regulator (VR) เพื่อปรับกระแส AC ที่เข้ามาแบบไม่เสถียรให้เป็น AC แบบเสถียร แต่ข้อเสียของมันก็คือ หากไฟดับ ไฟกระชาก หรือ ไฟตก จะมีช่วงที่ wave ของไฟขาดหายไปนิดนึง 4-6ms typical ค่าตรงนี้เรียกว่า Transfer Time โดยที่อุปกรณ์ไม่ดับนะครับ แต่ว่ามันอาจจะส่งผลต่ออุปกรณ์ได้ เช่น เครื่องมือแพทย์ จะยอมรับ Error ตรงนี้ไม่ได้ ส่วน Server ข้อมูลที่ User submit มาในช่วงนั้นก็จะหายไป หรือ ส่งข้อมูลผิดพลาดไป นอกจากมี Battery Backup Cache ช่วยเป็นต้น

3. On-line UPS
มักอยู่ใน UPS 700VA ขึ้นไป หลักการทำงานของมันนั้นดีที่สุด คือ ไฟกระแสสลับที่มาจากบ้านเรา จะถูกส่งเข้า Power Factor Correction เพื่อแปลง AC เป็น DC เพื่อให้มีความเสถียรภาพสูง หลังจากนั้นค่อยทำการเข้า แบตตารี่ และ Inverter เพื่อแปลง DC กลับเป็น AC ที่เสถียรภาพสูง ดังนั้นจะแตกต่างจาก Line Interactive ที่แปลง AC ที่ไม่เสถียร to AC ที่เสถียร แต่จะเป็นการแปลง AC ไม่เสถียร to DC to AC ที่เสถียร ดังนั้นไม่ว่าจะไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก ก็จะไม่มี Transfer Time เพราะโดนควบคุมแปลง AC to DC แล้วนั้นเอง
วิชาการหนักหน่อยนะครับ จบง่ายๆอย่างนี้ล่ะกัน อุปกรณ์ที่เราจะไปต่อกับ UPS เช่น Computer PC หรือ Server หากอยากได้ไฟเสถียรควรจะใช้ Line Interactive เป็นอย่างน้อย แต่กับอุปกรณ์ที่ Sensitive มากๆ หรือสำคัญมากสำหรับข้อมูล มีข้อมูลไหล เข้า-ออก ตลอดเวลาอย่าง Server ถ้าไปถึงระดับ On-line ได้ก็จะดีที่สุด
ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อองค์กรของท่านเอง เพราะมันยึดอายุการทำงานของ Server และอุปกรณ์ที่ใช้ได้มากทีเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04/12/14 โดย admin »